แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการหลักสูตรภาษาจีน ระดับปริญญาตรีบัณฑิต สถาบันอุดมศึกษาตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวประภาพร แก้วอมตวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการ 1.การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง:การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อมัลติมีเดีย 2.การจัดทำสารานุกรมศาสนสถานจีนในภาคอีสานตอนล่าง 3.การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ 4.การจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสานจีน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษา วัฒนธรรมจีน
หัวหน้าโครงการ
นายเมชฌ สอดส่องกฤษ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์จีน
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิจัย ปี งบประมาณ 2552 ถึง ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ชิดหทัย ปุยะติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Chinese Literature
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการและกรรมการโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการสอนภาษาจีน ปี 2553 ถึงปัจจุบัน หัวหน้าโครงการและกรรมการโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร ปี 2553 ถึงปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาวัฒนธรรมและวรรณคดีจีน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในประเทศไทยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาจีนอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการศึกษาค้นคว้าด้านการเรียนการสอนภาษาจีนกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับปริญญาตรีได้กำหนดให้มีการศึกษาอิสระ คือ ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ศึกษาค้นคว้าหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมจีน เรียบเรียงเป็นสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี อันเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา ผลงานดังกล่าวนี้นับเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนมีสัมฤทธิผลในทางที่ดี ซึ่งนอกจากจะเป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาแล้ว ยังสามารถใช้ในการขอทุนเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อีกด้วย หลักสูตรภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้กำหนดให้นักศึกษาได้จัดการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในแต่ละปี มีงานวิจัยที่จัดทำภายใต้การควบคุมมาตรฐานของคณาจารย์ในหลักสูตรอย่างเข้มงวด เป็นผลให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ทางวิชาการด้วนภาษาจีนเป็นจำนวนมาก ผลงานต่างๆได้รับการยอมรับในระดับชาติ นักศึกษาสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ขอทุนสำหรับศึกษาต่อที่ประเทศจีนจำนวนไม่น้อยกว่าปีละ 5 ทุน สะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จของการศึกษารูปแบบดังกล่าว จากการสำรวจพบว่ามหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดสอนภาษาจีนทั้งกลุ่มสหมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฎ ล้วนกำหนดหลักสูตรในทิศทางเดียวกัน คือมีการศึกษาในรูปแบบการวิจัย และจัดทำเป็นสารนิพนธ์ อันเป็นแนวทางที่ดี แต่กระนั้นก็พบว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นเพียงส่วนของแต่ละสถาบันเท่านั้น ยังไม่เคยมีการนำเสนอในลักษณะการประชุมวิชาการ หลักสูตรภาษาจีนเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษา และการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางวิชาการ จึงจะจัดประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการ และให้นักศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันเป็นแนวทางกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดประชุมวิชาการภาษาวัฒนธรรมจีน ระดับปริญญาตรี
2.เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านภาษาจีน กับสถานบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ 1. นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. ครูผู้สอนภาษาจีน หรือภาษาต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา จำนวนผู้ร่วมโครงการ 1. นักศึกษาหลักสูตรภาษาจีน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานจำนวน 5 เรื่อง และร่วมประชุม 200 คน 2. นักศึกษาจากสถาบันอื่น มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน สถาบันละ 5 เรื่อง รวม 20 เรื่องขึ้นไป และร่วมประชุม 50 คน 3. คณาจารย์ผู้สอนภาษาจีนในสถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมรับฟัง 10 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
250 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การจัดประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานการวิจัย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การติดต่อประสานงาน --- --- --- 12,280.00
2.ขั้นตอนการจัดเตรียมการประชุม --- --- --- 100,000.00
3.จัดการประชุม --- --- - --- 50,000.00
4.การประเมินผลโครงการ --- --- -- 50,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
8.30-9.30 ลงทะเบียน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
9.30-10.30 การบรรยายเกี่ยวกับการจัดทำสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี รศ.ดร...
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.30-12.00 อาหารว่างครั้งที่ 1 และ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และวิทยากร
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.30 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และวิทยากร
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.30-16.30 อาหารว่างครั้งที่ 1 และ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ผู้นำเสนอผลงานทางวิชาการ และวิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : มีเวทีทางวิชาการสำหรับการศึกษาวิจัยระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมของแต่ละสถาบัน โดยจัดรวมแห่งเดียว
ด้านสังคม : มีการสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกัน นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วึ่งกันและกัน
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
250
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
มีการสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกัน นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วึ่งกันและกัน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การศึกษาอิสระ
หลักสูตร ภาษาจีนและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : 1,2,3,4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษานำผลงานที่ศึกษาค้นคว้ามานำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดประชุมวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษานำความรู้ที่ได้จาการประชุมวิชาการ และจากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงผลงานของตนเอง
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 84,080.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 36,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
24,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 18,080.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
8,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,080.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
10,080.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนอาสาสมัครชาวจีนร่วมพิจารณาบทคัดย่อภาษาจีนจำนวน 2 คน x จำนวน 20 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
20,000.00 บาท
2) ค่าตอบแทนผู้นำเสนอบทความ เรื่องละ 500 บาท จำนวน 20 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 128,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 26,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 25,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
25,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
1,200.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 80,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดตกแต่งสถานที่ ห้องประชุม โต้ะรับประทานอาหารว่าง อาหารกลางวัน
=
15,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาการจัดการ ขั้นตอน พิธีการ การดำเนินงาน จัดลำดับการประชุมวิชาการ พิธีกร แรงงาน
=
20,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาการจัดทำรางวัลการนำเสนอผลงาน ใบรับรอง ป้ายชื่อ จัดหาของที่ระลึกวิทยากร
=
15,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาการติดต่อประสานงาน การประชาสัมพันธ์ แผ่นป้าย การจัดการต้อนรับ การดูแลวิทยากร การดูแลผู้เข
=
10,000.00 บาท
5) การจัดพิมพ์เอกสารสำหรับการประชุม
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 212,280.00 บาท