แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การวิเคราะห์งบการเงินเพื่อการบริหารจัดการและวางแผนภาษีอากร
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (startup)
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ตรวจสอบบัญชี และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
นางสาวภัทราจิตร แสงสว่าง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ผู้ตรวจสอบภายใน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องทราบว่างบการเงินเค้าทำกันอย่างไร แต่ผู้ประกอบการควรจะทราบว่าวิธีการอ่านงบการเงินเค้าทำกันอย่างไร เพราะในการดำเนินกิจการ ผู้ประกอบการย่อมต้องการทราบว่ากิจการมีผลการดำเนินดีหรือไม่ดี สถานะทางการเงินเป็นอย่างไร กิจการมีสภาพคล่องดีหรือไม่ ซึ่งเครื่องมือที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้คือการวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากในงบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินในอดีต ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทั้งภายในและภายนอกสามารถนำข้อมูลต่างๆไปวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น เจ้าของกิจการสามารถนำข้อมูลจากงบการเงินไปประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เจ้าหนี้สามารถนำข้อมูลไปประเมินความสามารถในการจ่ายชำระหนี้จากการซื้อสินค้าหรือบริการ หรือกรมสรรพากรสามารถนำข้อมูลจากงบการเงินไปประเมินความสามารถในการชำระภาษีของผู้ประกอบการ เป็นต้น การจะใช้งบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางบัญชีและองค์ประกอบของงบการเงิน รวมไปถึงหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่างบการเงินที่นักบัญชีทำออกมานั้นหมายถึงอะไร และผู้สอบบัญชีต้องการจะสื่ออะไรในหน้าราบงานของผู้สอบบัญชี ผู้ประกอบการจะต้องนำข้อมูลเหล่านั้นไปวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนมาโดยตลอด เช่น โครงการวางแผนภาษีให้กับผู้ประกอบการทั่วไป โครงการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับหลักภาษีอากรให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การให้บริการคลินิกธุรกิจเคลื่อนที่กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งการควบคุมภายในด้านบัญชีและภาษีอากร แต่ละกลุ่มเป้าหมายล้วนแล้วแต่มีปัญหาในการบริหารจัดการภายใน และปัญหาด้านภาษีอากรที่แตกต่างกันไป ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคให้องค์กรก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างประสบความสำเร็จ ดังนั้น เพื่อให้ประกอบการและพนักงานในองค์กรสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โครงการ “การวิเคราะห์งบการเงินเพื่อการบริหารจัดการและวางแผนภาษีอากร” น่าจะเป็นทางออกหนึ่งในการยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานีให้เข้มแข็งขึ้น อันส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานีเห็นความสำคัญของการอ่านและทำความเข้าใจงบการเงินส่งเสริมการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานีสามารถวิเคราะห์งบการเงิน และนำผลจากการวิเคราะห์งบการเงิน ไปวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการประกอบกิจการและวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสมได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน นักศึกษาที่สนใจ จำนวน 20 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารในหลายรูปแบบ 2. รับสมัครผู้เข้ารับการอบรม 3. จัดกิจกรรมการอบรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้แล้วเสร็จพร้อมดำเนินโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการ ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ --- -- --- --- 5,000.00
3.จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม --- -- --- --- 5,000.00
4.ดำเนินการอบรม --- -- --- --- 45,000.00
5.สรุปเล่มโครงการ --- --- -- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
17 มีนาคม พ.ศ. 2561
8.30 - 16.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงบการเงินและการอ่านงบการเงินอย่างง่าย ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
18 มีนาคม พ.ศ. 2561
8.30 - 16.30 น. การวิเคราะห์งบการเงินและการนำผลจากการวิเคราะห์งบการเงินไปวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการประกอบกิจการ ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานีเห็นความสำคัญของการอ่านและทำความเข้าใจงบการเงินส่งเสริมการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานีสามารถวิเคราะห์งบการเงิน และนำผลจากการวิเคราะห์งบการเงิน ไปวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการประกอบกิจการและวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสมได้
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ 100

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ในหัวข้อ “รายงานของผู้สอบบัญชีต่องบการเงิน”
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาเข้าใจธรรมชาติของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของงบการเงินและหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ส่งผลให้สามารถจัดทำรายงานประจำภาคได้อย่างเหมาะสม(ได้คะแนนรายงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 70)
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,920.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,720.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติราชการจำนวน 4 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 29,300.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 500.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 9,300.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล ประเมินผลโครงการและจัดทำรูปเล่ม
=
4,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์
=
4,500.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด
=
800.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 9,780.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,005.00 บาท )
1) กระดาษ A4
6 x 110 บาท
=
660 บาท
2) ที่คั่นหนังสือเหล็ก
2 x 139 บาท
=
278 บาท
3) ชั้นใส่ของ
1 x 229 บาท
=
229 บาท
4) ปากกา
6 x 145 บาท
=
870 บาท
5) เทปลบคำผิด
3 x 65 บาท
=
195 บาท
6) กล่องลิ้นชักเล็ก 4 ชั้น
1 x 182 บาท
=
182 บาท
7) คัดเตอร์
1 x 60 บาท
=
60 บาท
8) เทปใส 12*36 แกน 3 นิ้ว
1 x 21 บาท
=
21 บาท
9) cah,.ljgvdlki
30 x 17 บาท
=
510 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 350.00 บาท )
1) ไวนิล
1 x 350 บาท
=
350 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) Flash Drive 32G
1 x 320 บาท
=
320 บาท
2) Flash Drive 8G
1 x 140 บาท
=
140 บาท
3) หมึก HP78A
1 x 2,800 บาท
=
2,800 บาท
4) แผ่น DVD
2 x 370 บาท
=
740 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,425.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
2,425.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 60,000.00 บาท