แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ประมงโรงเรียน: การเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลจิตรลดาในโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประสบการณ์ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ สรีรวิทยาสัตว์น้ำ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปี 2553 โดยโครงการจัดตั้งกองส่งเสริมการวิจัยฯ ได้สอบถามกลุ่มผู้เข้ารับบริการวิชาการ พบว่า ความต้องการการรับบริการจากมหาวิทยาลัยทางด้านการเกษตร เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ถึงร้อยละ 56.5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม การเพาะและขยายพันธุ์ปลานิล จึงมีความเหมาะสมที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็ว เพาะพันธุ์ได้ง่าย และ ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบัน ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา เป็นปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จากกรมประมง ได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างมาก หากมีการให้ความรู้และส่งเสริมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลให้กับครูและนักเรียนในโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียนจะสามารถดำเนินการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีบุคลากรจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่จะให้ความรู้ คำปรึกษา และ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลผลิตของปลานิลที่เกิดขึ้น จะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบในโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนได้อย่างเพียงพอ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้การเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาให้กับครูและนักเรียน
2.เพื่อสร้างโรงเรียนต้นแบบสำหรับการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา
3.เพื่อผลิตปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูและนักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1.การสอบถามและเตรียมงานร่วมกับโรงเรียน โครงการฯ จะดำเนินการสอบถามความพร้อมของพื้นที่ ได้แก่ บ่อน้ำ ที่จะใช้ในการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิล บุคลากรที่จะเข้าร่วมอบรม การวางแผนผลิตปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา และ ความต่อเนื่องของการเพาะและขยายพันธุ์ปลา 1.2.การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา ฟาร์มประมง สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการ จะดำเนินการเตรียมเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลในปี 2556 สำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์ในการอบรมและการส่งเสริมให้กับโรงเรียน แต่หากเกิดปัญหาจากการตายของปลา ทางโครงการฯ จะดำเนินการซื้อพันธุ์ปลาจากกรมประมงต่อไป 1.3.การอบรมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิล โรงเรียนที่ถูกคัดเลือก จำนวน 3 โรงเรียน จะเข้าร่วมการอบรมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลที่ฟาร์มประมง สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ โดยมีวิทยากรจากคณะเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมให้ความรู้ เป็นเวลา 2 วัน 1.4.การเตรียมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลในโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียนที่ผ่านการอบรม จะเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ร่วมกับโรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาจากคณะเกษตรศาสตร์ ในระหว่างการดำเนินการ จะมีการเก็บข้อมูลผลผลิตของไข่ปลานิล การเจริญเติบโต ปริมาณอาหาร ผลผลิตปลานิลที่ได้รับ เพื่อนำไปวางแผนเพื่อปรับปรุงวิธีการเลี้ยงได้ต่อไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การสอบถามและเตรียมงานร่วมกับโรงเรียน - --- --- --- 5,000.00
2.การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา --- --- 25,000.00
3.การอบรมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิล --- --- --- 40,000.00
4.การเตรียมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลในโรงเรียน --- --- 30,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
9.00-16.00 น. การเตรียมการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลในโรงเรียน จำนวน 3 โรงเรียน (3 ครั้ง) ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และ นายชำนาญ แก้วมณี
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
9.00-12.00 น. การอบรมเรื่องการเพาะและขยายพันธุ์ปลานิล บรรยาย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลานิล บรรยาย การเตรียมพ่อแ ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และ นายชำนาญ แก้วมณี
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
13.00-16.00 น. ปฏิบัติ 1.การตรวจสอบลักษณะของปลานิลเพศผู้และเพศเมีย 2.การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการ ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และ นายชำนาญ แก้วมณี
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
9.00-12.00 น. ปฏิบัติ การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บไข่ปลานิล และ การอนุบาลลูกปลา ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และ นายชำนาญ แก้วมณี
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
13.00-16.00 น. ปฏิบัติ การวางแผนสำหรับการเตรียมเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลในโรงเรียน ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และ นายชำนาญ แก้วมณี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : โรงเรียนสามารถนำผลผลิตปลานิลที่ได้ประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวัน
ด้านสังคม : ความร่วมมือทางวิชาการด้านประมงระหว่างมหาวิทยาลัย (บุคลากรและนักศึกษา) และ โรงเรียน (ครูและนักเรียน)
ด้านสิ่งแวดล้อม : ประชากรปลานิลในแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มขึ้น ทำให้ชาวบ้านสามารถจับเพื่อการบริโภคได้ และลดการรบกวนปลาในธรรมชาติ
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาประมงในระดับปริญญาตรีนำความรู้และทักษะการปฏิบัติงานไปเผยแพร่ให้กับบุคคลและหน่วยงานภาคนอกได้ นักเรียนในโรงเรียนสามารถนำความรู้ได้จากการอบรมและปฏิบัติไปใช้ได้จริง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวิเคราะห์และการจัดการคุณภาพน้ำทางการประมง
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาประมง
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การจัดเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับพ่อแม่พันธุ์ปลานิลในกระชัง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำของปลานิลที่เลี้ยงในโรงเรียน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,800.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จัดทำกระชังสำหรับพ่อแม่พันธุ์ปลานิล
=
3,000.00 บาท
2) จัดทำกระชังสำหรับการอนุบาลลูกปลา
=
3,000.00 บาท
3) ปรับปรุงบ่อซีเมนต์สำหรับอนุบาลลูกปลานิล
=
5,000.00 บาท
4) จัดทำรูปเล่มรายงาน
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 11,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
40 คน x 50.00 บาท
=
2,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุวิทยาศาสตร์
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 61,000.00 บาท