แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ กิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุระ วุฒิพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นางรัตนาพร ทิวะพล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : นักวิทยาศาสตร์ 30 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเสาวนีย์ เหล่าสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิศิชานันท์ ศรีสุวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีทั่วไป 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางมัทธนา กะชา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมี 1 เป็นเวลา 20 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสุภาพร กรแก้ว คุณวุฒิ : ไม่ได้ระบุ
สาขา : อาชีวะ
ประสบการณ์ : งานเลขานุการ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : งานเลขานุการ
ผู้ร่วมโครงการ
นายสายชล พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีทางการศึกษา
ประสบการณ์ : -วิทยากรอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมครูสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ -วิทยากรอบรมฟิสิกส์โอลิมปิก -วิทยากรอบรมคูปองครู -วิทยากรอบรมสเต็มศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : -ซ่อมและพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ -ออกแบบปรับปรุงและสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : "วิทยากรโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย"
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ผลการทดสอบมาตรฐาน Trends in International Mathematics and Science Study (TIMSS) สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยทั่วประเทศในปี ค.ศ. 2011 พบว่า ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ย 472 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย 500 ของนักเรียนระดับเดียวกันทั่วโลกและในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 451 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย 500 ของนักเรียนระดับเดียวกันทั่วโลก (Provasnik et al., 2012) ซึ่งสอดคล้องกับผลรายงานของ World Economic Forum ใน Global Competitiveness Report 2014–2015 ที่เสนอว่าคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษาของไทยมีค่า 3.6 จากคะแนนเต็ม 7.0 (51%) จัดอยู่ในลำดับที่ 91 จาก 144 ประเทศที่เข้าร่วม และอยู่ในลำดับที่ 7 จาก 10 ประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน, และมีคุณภาพการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็น 3.9 จากคะแนนเต็ม 7.0 คะแนน (56%) จัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้จากการประเมินผลนานาชาติของโครงการ Programme for International Student Assessment (PISA) พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งประเทศไทยยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา สิ่งเหล่านี้แสดงถึงปัญหาของการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยและขีดความสามารถในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศอาเซียน ปัญหาเหล่านี้มีปัจจัยหลายอย่าง แต่ปัจจัยที่สำคัญมากอันหนึ่งคือ ครูผู้สอน คุณภาพของครูผู้สอนส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและสะท้อนคุณภาพการศึกษา ซึ่งปัจจัยนี้ก็เป็นความท้าทายที่ใหญ่เพราะครูผู้สอนส่วนใหญ่ผ่านการเรียนรู้ในแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้เน้นการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ ขณะเดียวกันงานวิจัยได้แสดงว่า การเรียนการสอนที่มีกันทั่วไปนั้น ที่ให้ครูเป็นแหล่งความรู้แต่ไม่ใช่ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้นั้น ไม่ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ทำให้นักเรียนขาดความรู้ และทักษะที่เพียงพอที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ยังได้แสดงด้วยว่า การอบรมที่ถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่อง สามารถทำให้ครูเป็นผู้เรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ (active learner) และครูนั้นสามารถที่จะทำให้ชั้นเรียนที่ครูสอนกลายเป็นชั้นเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ได้ การอบรมนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง ให้ครูได้มีโอกาสลงมือทำจริงในการอบรม และสอดคล้องกับการเรียนการสอนที่ครูจะเจอให้ห้องเรียนจริง สะเต็มศึกษา (STEM Education) เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่บูรณาการความรู้ใน 4 ศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เข้าดวยกัน ให้ผูเรียนนําความรู้ไปใช้แก้ปญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหมที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ผ่านประสบการณ์ในการทํากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) หรือ กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ปี พ.ศ. 2556 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดตั้งเครือข่ายสะเต็มศึกษาประเทศไทย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและส่งเสริมการจัดการเรียนรูตามแนวทางสะเต็มศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศโดยมี ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ ที่ สสวท. เป็นศูนยกลางในการบริหารจัดการและประสานงานกับ ศูนย์การศึกษาสะเต็มศึกษาภาคจํานวน 13 ศูนย์ ซึ่งอยูใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับในจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์การศึกษาสะเต็มศึกษาภาค ตั้งอยู่ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทำหน้าที่เป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงสะเต็มศึกษา โดย ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม เป็นวิทยากรแกนนำ (Core Trainer) ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้รับช่วงต่อนักเรียนเข้ามาศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนตามหลักสูตร STEM Education รวมทั้งการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้กับโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ในปีงบประมาณ 2560 ได้รับอนุมัติให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ครู อาจารย์ ได้รับทราบแนวทางและนำไปวางแผนการจัดการต่อไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2561 นี้ ยังคงมีการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แก่อาจารย์และครูกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการอบรม จากนั้นก็เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเพื่อให้ครูนำแผนฯ ไปใช้จริงกับนักเรียนของตนเอง หลังจากนั้นก็จะเป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของครูทั้งผ่านระบบออนไลน์และการนิเทศการสอน และสรุปผลการดำเนินงานตลอดโครงการเพื่อหา best practice ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาด้วยการเรียนรู้แบบสะเต็มให้กับอาจารย์และครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
2.เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาและบทบาทของสะเต็มศึกษาในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
3.เพื่อกระตุ้นความริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของการพัฒนาการสอนของอาจารย์และครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และงานวิจัยด้านวิทยาศาสตรศึกษา
4.เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์และครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นความสาคัญของการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ และทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนในพื้นที่ 4 ตำบลรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ โรงเรียนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับสะเต็มศึกษาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการอบรมในปี 2560 2. ออกแบบและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สำหรับครูที่อบรมทั้งในปี 2560-2561 3.การติดตามผลการเรียนรู้ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ 4.ประชุมและเลือกแผนการจัดการเรียนรู้ต้นแบบ สำหรับครูที่อบรมทั้งในปี 2560-2561

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สะเต็มศึกษาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 -- --- --- --- 60,000.00
2.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา --- -- --- --- 60,000.00
3.ประชุมและเลือกแผนการจัดการเรียนรู้ต้นแบบ --- --- --- -- 30,000.00
4.การติดตามผลการจัดการเรียนรู้ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ --- - --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
9-17 น การอบรม กิจกรรมสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 สุระ วุฒิพรหมและคณะ
6 มกราคม พ.ศ. 2561
9-17 น การอบรม การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ในกิจกรรมสะเต็มศึกษาในศตวรรษที่ 21 สุระ วุฒิพรหมและคณะ
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
9-17 น ประชุมและเลือกแผนการจัดการเรียนรู้ต้นแบบ สุระ วุฒิพรหมและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มจำนวนนักนวัตกรรม นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี วิศวกร นักคณิตศาสตร์ให้กับประเทศ
ด้านสังคม : สร้างสังคมนวัตกรรมของอาจารย์ ครูและนักเรียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ครูและนักเรียนนำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)ในสร้างเป็นนวัตกรรม
ด้านอื่นๆ : สร้างเครือข่าย STEM Education ของมหาวิทยาลัยและโรงเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1250 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์
หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาในรายวิชาร้อยละ 80 ออกพื้นที่ร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 48,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 48,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
36,000.00 บาท
2) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 66,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 37,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
37,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาถ่ายทำภาพนิ่งและวีดีโอ 5 วัน ๆ ละ 1000 บาท
=
5,000.00 บาท
2) รางวัลแผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาต้นแบบ รางวัลที่ 1 2000 บาท รางวัลที่ 2 1000 บาท รางวัลที่ 3 50
=
3,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 36,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ไวนิล
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 9,000 บาท
=
9,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) วัสดุการศึกษา
=
5,000.00 บาท
2) วัสดุวิทยาศาสตร์
=
10,000.00 บาท
3) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท