แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ แอปพลิเคชันทางการศึกษาสำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุระ วุฒิพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นางรัตนาพร ทิวะพล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : นักวิทยาศาสตร์ 30 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเสาวนีย์ เหล่าสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิศิชานันท์ ศรีสุวรรณ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีทั่วไป 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : นักวิทยาศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสุภาพร กรแก้ว คุณวุฒิ : ไม่ได้ระบุ
สาขา : อาชีวะ
ประสบการณ์ : งานเลขานุการ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : งานเลขานุการ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : "วิทยากรโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย"
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
นโยบายการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ของกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษา เตรียมความพร้อมและพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสังคมโลก โดยเฉพาะสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 อันเป็นผลจากการปฏิวัติด้านดิจิตัล (Digital revolution) และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถ มีทักษะ ความถนัด ความชำนาญ พร้อมที่จะขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศ ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันผู้สอน (Teaching) ต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บอกความรู้เป็นผู้โค้ช (Coaching) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างครูที่สอนในวิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ให้มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) เพื่อให้มีการสืบค้นข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ (Critical searching) การทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม (active engagement) การวัดและประเมินผล (Formative and summative assessment) และการทำวิจัยในชั้นเรียน จากการศึกษาเรียนรู้และลงมือทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องของหัวหน้าโครงการได้มีการใช้แอปพลิเคชันทางการศึกษาที่สามารถนำมาใช้ในขั้นการประเมินผลได้แก่ Plickers Kahoot และ Zipgrade ในการสอนในระดับมหาวิทยาลัย จึงเล็งเห็นประโยชน์ของแอปพลิเคชันว่าสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้ใช้โทรศัพท์มือถือทางการศึกษามากขึ้นและครูจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการทำวิจัยในชั้นเรียน ฟรีแอปพลิเคชันทางการศึกษาได้แก่ Plickers และ Kahoot สามารถเก็บข้อมูลในการวัดและประเมินผลได้ในระบบออนไลน์ หรือถ้าโรงเรียนมีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วของอินเตอร์เน็ตก็สามารถใช้ Zipgrade บนระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS ของสมาร์ทโฟน เพื่อตรวจข้อสอบได้อย่างรวดเร็วและเก็บข้อมูลที่นักเรียนตอบเป็นรายข้อ อันจะส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สำหรับครูเทคโนโลยีนั้น แม้ว่าจะมีความรู้ด้านเทคโนโลยีก็ยังต้องการได้เห็นเทคโนโลยีเฉพาะทางในสาขาชีววิทยา เคมีและฟิสิกส์เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง แอปพลิเคชันทางการศึกษาที่สามารถนำมาใช้ในขั้นการจัดการเรียนรู้ได้แก่ Hologram และ 4d Element ก็จะเป็นโปรแกรมใหม่สำหรับครูเทคโนโลยีที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้เนื่องจาก ณ ขณะนี้ทั้งสองโปรแกรมก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น 4d element สามารถแสดงข้อมูลของธาตุได้เพียง 36 ธาตุเท่านั้นแต่ในตารางธาตุมีถึง 118 ธาตุ

วัตถุประสงค์
1.อบรมให้ครูสามารถใช้แอปพลิเคชันทางการศึกษาได้
2.นิเทศติดตาม ให้คำปรึกษา การใช้แอปพลิเคชันทางการศึกษาที่โรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ 4 ตาบลรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ โรงเรียนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การดำเนินโครงการ 1. การวางแผนและจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อการประเมินผลสำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. สรุปและเขียนรายงานโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การวางแผนและจัดเตรียมอุปกรณ์ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- --- 20,000.00
2.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --- -- --- --- 60,000.00
3.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อการประเมินผลสำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --- --- --- -- 55,400.00
4.สรุปและเขียนรายงานโครงการ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 มกราคม พ.ศ. 2561
9-16 น แอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุระ วุฒิพรหมและคณะ
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
9-16 น แอปพลิเคชันทางการศึกษาเพื่อการประเมินผลสำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุระ วุฒิพรหมและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มปริมาณนักเทคโนโลยี
ด้านสังคม : สร้างสังคมเทคโนโลยีทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.เป็นแนวทางในการพัฒนาแอปพลิเคชันทางการศึกษา เพื่อการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ 2. เพิ่มปริมาณงานวิจัยในชั้นเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1170 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์
หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร้อยละ 80 ออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 39,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
7,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษา คนละ 4 วัน ๆ ละ 6 ชม.จำนวน 5 คน x จำนวน 24 ชม. x จำนวน 25.00 บาท/ชม.
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 63,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาถ่ายทำภาพนิ่งและวีดีโอ 4 วัน ๆ ละ 2,000 บาท
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 38,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 10,000 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ป้ายไวนิล
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 25,000.00 บาท )
1) วัสดุการศึกษา
=
20,000.00 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 140,400.00 บาท