แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การออกแบบ ติดตั้ง และประยุกต์ใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ระบบไฮบริดสำหรับใช้งานในครัวเรือน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ : วิศวกรรมยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน พลังงานทดแทน เชื้อเพลิงชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์
ความเชี่ยวชาญ : วิศวกรรมยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน พลังงานทดแทน เชื้อเพลิงชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์
หัวหน้าโครงการ
นายวิระพันธ์ สีหานาม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เครื่องกล
ประสบการณ์ : เป็นอาจารญ์ ในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมาเป็นเวลา 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : - ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ - พลังงานทดแทน - อนุรักษ์พลังงาน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : - วิศวกรรมการชน (Impact Engineering, Crashworthiness) - กลศาสตร์ประยุกต์ และ การออกแบบเครื่องจักรกล (Applied Mechanics and Machine Design) - การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell)
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.อำไพศักดิ์ ทีบุญมา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคดนโลยีอุณหภาพ
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การอบแห้ง (Drying) การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)
ผู้ร่วมโครงการ
รศ.ดร.กุลเชษฐ์ เพียรทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เครื่องกล
ประสบการณ์ : - เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยมามากกว่า 20 ปี
ความเชี่ยวชาญ : - ด้านพลังงงานทดแทน - ด้านการอนุรักษ์พลังงาน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวทรงสุภา พุ่มชุมพล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ : ดูแลและจัดการด้านอนุรักษ์พลังงาน
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เนื่องจากราคาของเซลล์มีราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับอดีต รวมทั้งมีการพัฒนาระบบหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ และยังเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ ที่มีความสะอาดปราศจากมลพิษ เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง สามารถนำมาใช้อย่างไม่หมดสิ้น ทำให้มีประชาชน หรือชุมชนต่างๆ ให้ความสนใจ แต่ปัจจุบันยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชนที่สนใจได้ ดังนั้นทาง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลังอุบลราชธานี ซึงมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell) จึงมีเป้าหมายที่จะจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนี้ให้กับ วิศวกร นายช่างเทคนิค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการออกแบบ ติดตั้ง รวมทั้งการประยุกต์ใช้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับวิศวกร นายช่างเทคนิค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
วิศวกร นายช่างเทคนิค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 3. รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ 4. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร 5. จัดซื้อวัสดุ/เตรียมอุปกรณ์ 6. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ 7. ประเมินผลโครงการฯ 8. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ -- --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ -- --- --- --- 0.00
3.รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ - --- --- --- 0.00
4.ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร --- --- --- 0.00
5.จัดซื้อวัสดุ/เตรียมอุปกรณ์ --- --- --- 171,230.00
6.จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ - --- --- --- 48,770.00
7.ประเมินผลโครงการฯ -- --- --- --- 0.00
8.สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ -- --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 รวมเวลา 92 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30–09.00 น. ลงทะเบียน
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
09.00-10.30 น. พื้นฐานระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ผศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
10.45–12.00 น. อุปกรณ์และการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฮบริด ดร.วิระพันธ์ สีหานาม
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
12.00–13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
13.00–14.30 น. แยกกลุ่มปฏิบัติการประกอบระบบและเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ และคณะ
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
14.30–14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
14.45–16.00 น. ดูงาน การติดตั้งและประยุกต์ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาระบบไฮบริด ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ประชาชนสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ด้านสังคม : ผู้ผ่านการอบรมสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจระบบการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1301 434 วิศวกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ และ 1301438 พลังงานทดแทน
หลักสูตร หลักสูตร วิศวกรรมสาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
นักศึกษาชั้นปี : 3,4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา ร้อยละ 90
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีนักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิยากรร้อยละ 20

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,440.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 11,440.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 16 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
6,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 193,270.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 185,270.00 บาท )
1) ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม
=
1,270.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบไฮบริดขนาด 900 w
=
95,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน ถ่ายเอกสาร พร้อมเข้าเล่ม
=
5,500.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาทำสื่อประชาสัมพันธ์ ไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์
=
3,500.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาเชื่อมระบบไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เข้ากับระบบไฟฟ้าของอาคาร EN3
=
45,000.00 บาท
6) ค่าเปลี่ยนหลังค่าให้สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้
=
35,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 6,290.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 6,290.00 บาท )
1) ซองใส่เอกสาร
40 x 20 บาท
=
800 บาท
2) ปากกา
50 x 5 บาท
=
250 บาท
3) หมึกพรินท์เตอร์
2 x 2,620 บาท
=
5,240 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 220,000.00 บาท