แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประยุกต์ใช้งานบอร์ดอาดูโน(Arduino)สร้างเครื่องมือวัดสำหรับบทปฏิบัติการทางฟิสิกส์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ฟิสิกส์ประยุกต์
ประสบการณ์ : สอนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ปรีกษาโครงงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัดทางฟิสิกส์ ออกแบบ สร้างและพัฒนาซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและสื่อการสอน ทางวิทยาศาสตร์ วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษ
ความเชี่ยวชาญ : ไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบสุญญากาศ ออกแบบ สร้างและพัฒนาซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและสื่อการสอน ทางวิทยาศาสตร์ วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษ
หัวหน้าโครงการ
ดร.สมคิด เพ็ญชารี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ฟิสิกส์
ประสบการณ์ : อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : ออกแบบและสร้างเครื่องมือ พลังงานทดแทน เทอร์โมอิเล็กตริก
ผู้ร่วมโครงการ
นายสายชล พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีทางการศึกษา
ประสบการณ์ : -วิทยากรอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมครูสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ -วิทยากรอบรมฟิสิกส์โอลิมปิก -วิทยากรอบรมคูปองครู -วิทยากรอบรมสเต็มศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : -ซ่อมและพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ -ออกแบบปรับปรุงและสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
นโยบายการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนการสอนที่ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นการจัดการเรียนการการสอน จึงต้องมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น แต่ยังพบว่ามีปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ หรือสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนขาดความสนใจต่อการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาฟิสิกส์ที่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์การวัดสำหรับการศึกษา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนต่อการบรรลุเป้าหมายในข้างต้น ส่งผลให้การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนนั้นทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีผลิตสื่อ เพื่อช่วยพัฒนาแนวความคิด พัฒนาศักยภาพผู้เรียน สำหรับดึงดูดความสนใจและให้ความสนุกสนานแก่ผู้เรียนได้ โดยส่วนใหญ่กิจกรรมของรายวิชาฟิสิกส์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การวัดปริมาณทางฟิสิกส์ซึ่งได้แก่อุณหภูมิ สนามแม่เหล็ก กระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า เพื่อแสดงปริมาณทางฟิสิกส์ให้นักเรียนได้เห็นผลการทดลองจริง แต่พบว่าโรงเรียนบางส่วนยังขาดแคลนอุปกรณ์วัดดังกล่าวหรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างและซ่อมแซมอุปกรณ์วัดดังกล่าวได้ด้วยตนเองก็จะช่วยแก้ไขปัญหาข้างต้นได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยหนึ่งในบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีความนิยมก็คือบอร์ดอาดูโน(Arduino) เนื่องจากพัฒนาให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงทำให้การสร้างอุปกรณ์การวัดทางฟิสิกส์สามารถนำบอร์ดดังกล่าวมาใช้งานได้โดยง่าย โดยทางภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีการเรียนการสอนในรายวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่แล้ว จึงเล็งเห็นว่าสามารถนำความรู้ในรายวิชาดังกล่าวบูรณาการเพื่อตอบสนอง ภารกิจด้านบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมของมหาวิทยาลัยได้ จึงได้เสนอโครงการการประยุกต์ใช้งานบอร์ดอาดูโนสร้างเครื่องมือวัดสำหรับบทปฏิบัติการทางฟิสิกส์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้สามารถสร้างอุปกรณ์วัดทางฟิสิกส์และซ่อมแซมเบื้องต้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สามารถนำอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นไปประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน ถ้าเกิดปัญหาอุปกรณ์เสียหาย ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเยาวชนให้พร้อมทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอาเซียนและสังคมโลกในลำดับต่อไป

วัตถุประสงค์
1.ครูผู้สอนสามารถสร้างอุปกรณ์วัดค่าสนามแม่เหล็กได้
2.ครูผู้สอนสามารถสร้างอุปกรณ์วัดค่าอุณหภูมิได้
3.ครูสามารถใช้อุปกรณ์การวัดที่สร้างขึ้นในการจัดการเรียนการสอนจริงได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง โดยเน้นให้ความสำคัญกับโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ 3. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/ซื้อวัสดุฝึกทดลอง 4. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ 5. ประเมินผลโครงการฯ 6. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ --- --- --- 165,100.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ --- --- --- 0.00
3.ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/จัดซื้อวัสดุและจ้างสร้างชุดฝึกทดลอง --- - -- --- 0.00
4.จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ/ประเมินผลโครงการฯหลังการอบรม --- --- - --- 0.00
5.สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561 - 5 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 เมษายน พ.ศ. 2561
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี
3 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00–13.00 น. พักกลางวัน
3 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00–16.00 น. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกกับบอร์ดอาดูโน ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี
4 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00–12.00 น. การออกแบบและสร้างอุปกรณ์วัดสนามแม่เหล็ก ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี
4 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00–13.00 น. พักกลางวัน
4 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00–16.00 น. การประยุกต์ใช้อุปกรณ์วัดสนามค่าแม่เหล็กในปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้า ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี
5 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00–12.00 น. การออกแบบและสร้างอุปกรณ์วัดค่าอุณหภูมิ ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี
5 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00–13.00 น. พักกลางวัน
5 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00–16.00 น. การประยุกต์ใช้อุปกรณ์วัดค่าอุณหภูมิในปฏิบัติการเทอร์มิสเตอร์ ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ช่วยลดงบประมาณของโรงเรียนในการจัดซื้ออุปกรณ์และซ่อมบำรุงเครื่องมือวัดทางฟิสิกส์
ด้านสังคม : 1. เป็นเผยแพร่กิจกรรมกิจกรรมบริการวิชาการด้านการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์และ ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษา 2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนวิชาฟิสิกส์มากขึ้น 3. ครูผู้สอนมีความรู้ด้านการสร้างอุปกรณ์วัดทางฟิสิกส์เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ได้รับเครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กและอุณหภูมิจำนวน 50 ชุด

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ครูได้รับอุปกรณ์วัดไปใช้จริงในชั้นเรียน ซึ่งมีราคาถูกกว่าที่มีขายตามท้องตลาดและสามารถซ่อมแซมเองเบื้องต้นได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1103 367 ไมโครคอนโทรลเลอร์
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาเพื่อสร้างอุปกรณ์วัดทางฟิสิกส์ได้
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชาสอน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 32,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 32,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
32,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 22,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 114,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) หมึกพริ้น
4 x 1,100 บาท
=
4,400 บาท
2) กระดาษเอสี่
4 x 100 บาท
=
400 บาท
3) กระดาศพิมพ์ใบประกาศ
1 x 200 บาท
=
200 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท
2) ป้ายไวนิล
1 x 1,200 บาท
=
1,200 บาท
3) ค่าแสตมป์ไปรษณีย์
50 x 20 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถ
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 104,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุฝึก (50x2,000)
=
100,000.00 บาท
2) เอกสารประกอบการอบรม (50x80)
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 169,100.00 บาท