แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมการใช้งานและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นในเขตภาคอีสานตอนล่าง
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : Computer network and communication, Network Security Management, Data Mining
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวในประเทศไทยนับได้ว่ามีความสำคัญมากขึ้น จะเห็นได้จากนโยบายส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวในประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโครงสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, หรือ Agoda เป็นต้น โดยสื่อออนไลน์เหล่านี้ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น Windows, Android, หรือ iOS เป็นต้น นอกจากนี้สื่อสามารถใช้งานบนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องพีซี สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ เป็นต้น ด้านผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับเปลี่ยนกลวิธีในการดำเนินการให้เป็นการให้บริการแบบออนไลน์ (Online) มากขึ้น เช่น การจองที่พัก การนำเสนอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ หรือการค้นหาร้านอาหารที่ใกล้กับจุดที่นักท่องเที่ยวอยู่ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้ผู้ประกอบการสามารถให้ข้อเสนอในเรื่องของราคาที่ถูกลงเพราะไม่ต้องผ่านบริษัทตัวแทน ได้ลูกค้าจำนวนมากขึ้น และสามารถติดต่อได้โดยตรงกับนักท่องเที่ยวอีกด้วย ส่งผลให้พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน นั่นคือ นักท่องเที่ยวไม่ต้องติดต่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวอีกต่อไป นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real time) ที่มีทั้งภาพ เสียง และรายละเอียดข้อมูลต่างๆ อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวที่ไม่หยุดนิ่งในหลากหลายรูปแบบการใช้งานดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นมากนัก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในจังหวัดที่อยู่ในเขตภาคอีสานตอนล่าง เช่น อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่มีองค์ความรู้ที่จะประชาสัมพันธ์ หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ จึงทำให้นักท่องเที่ยวไม่รู้ว่าสถานที่ดังกล่าวคือสถานที่ท่องเที่ยว ถึงแม้สถานที่นั้นจะน่าเที่ยวขนาดไหนก็ตาม หรือแม้กระทั่งสินค้าที่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นๆ ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย ถ้าการประชาสัมพันธ์ไม่ดีหรือการซื้อขายเข้าถึงได้ยากจะส่งผลให้เกิดปัญหาขายสินค้าไม่ได้ตามมาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ความรู้และความสามารถทางด้านเทคโนโลยีอย่างเพียงพอที่จะสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นได้ใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ยังไม่ได้รับการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดการใช้งานเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่น ดังนั้นตลาดการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นในเขตอีสานตอนล่างจึงไม่เติบโตเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ โครงการนี้เป็นการพัฒนาทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขตอีสานตอนล่าง โดยการฝึกอบรมผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ให้มีทักษะ ความรู้และความเข้าใจในการใช้งานหรือพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ด้วยการใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียที่ทันสมัย เช่น Facebook, Twitter, Line, Agoda, Lazada หรือการพัฒนาเว็บไซต์สำเร็จรูป เช่น Joomla, WordPress, LnwShop และบริการอื่นๆ ที่ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวในเขตอีสานตอนล่างได้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน อีกทั้งเป็นการสร้างให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิตอล และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีการพัฒนาตนเองในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นให้มีเพิ่มขึ้นต่อไปได้

วัตถุประสงค์
1.จัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และความเข้าใจในการใช้งานหรือพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยว ให้ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปที่สนใจในระดับท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขตอีสานตอนล่าง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ในพื้นที่เป้าหมาย คือกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. สำรวจความต้องการเพื่อกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม 2. วิเคราะห์ความต้องการ สร้างหลักสูตร และกำหนดโครงการฝึกอบรม เป็นขั้นตอนของการกำหนดรายละเอียดและวางแผนการดำเนินการของหลักสูตรการฝึกอบรม เช่น งบประมาณของหลักสูตร ระยะเวลาในการจัดหลักสูตร และความพร้อมของบุคลากร เป็นต้น 3. ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมอบรม 4. จัดฝึกอบรม ตามหลักสูตรที่สร้างไว้ รวมถึงบริหารโครงการฝึกอบรม ทำหน้าที่ เช่น การอำนวยความสะดวกให้กับวิทยากร และควบคุมการฝึกอบรมให้ดำเนินไปตามกำหนดการ เป็นต้น 6. ประเมินผลและติดตามการฝึกอบรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สำรวจความต้องการเพื่อกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรม - --- --- --- 10,000.00
2.วิเคราะห์ความต้องการ สร้างหลักสูตร และกำหนดโครงการฝึกอบรม -- -- --- --- 15,000.00
3.ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมอบรม --- - --- --- 5,000.00
4.จัดฝึกอบรม ตามหลักสูตรที่สร้างไว้ --- --- --- 65,000.00
5.ประเมินผลและติดตามการฝึกอบรม --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
8.30 - 9.00 น. ลงทะเบียนและพิธีเปิดการอบรม หัวหน้าภาค หรือ หัวหน้าโครงการ
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
9.00 – 17.00 น. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวแบบออนไลน์ ดร.สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน และทีมวิทยากร
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
9.00 – 17.00 น. การสร้างและจัดการสื่อออนไลน์ยุคใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยว ดร.สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน และทีมวิทยากร
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
9.00 – 17.00 น. การสร้างและจัดการสื่อออนไลน์บนอุปกรณ์พกพา ดร.สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน และทีมวิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1) พัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล 2) ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายรายได้สู่ระดับท้องถิ่น/ชุมชน ในเขตอีสานตอนล่าง
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1) ผู้ประกอบการราย (เก่าและใหม่) และประชาชนในระดับท้องถิ่น มีทักษะในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว 2) การดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 3) สร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 50,950.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,450.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
9,450.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 13,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
13,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 22,000.00 บาท )
1) ค่าใช้จ่ายเพื่อบริหารจัดการและเตรียมการอบรม เหมาจ่าย (3 ครั้ง * 3000 บาท)
=
9,000.00 บาท
2) ค่าใช้จ่ายติดต่อประสานงาน เหมาจ่ายตลอดโครงการ
=
5,000.00 บาท
3) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เหมาจ่ายตลอดโครงการ
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,050.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) เอกสารและไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,050.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 3,050 บาท
=
3,050 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) เอกสารประกอบการฝึกอบรม (40 ชุด * 150 บาท)
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท