แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การดูแลและซ่อมบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงในโรงเรียน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสายชล พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีทางการศึกษา
ประสบการณ์ : -วิทยากรอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมครูสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ -วิทยากรอบรมฟิสิกส์โอลิมปิก -วิทยากรอบรมคูปองครู -วิทยากรอบรมสเต็มศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : -ซ่อมและพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ -ออกแบบปรับปรุงและสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์
หัวหน้าโครงการ
ดร.สมคิด เพ็ญชารี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ฟิสิกส์
ประสบการณ์ : อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : ออกแบบและสร้างเครื่องมือ พลังงานทดแทน เทอร์โมอิเล็กตริก
ผู้ร่วมโครงการ
นางอรัญญา พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สรีรวิทยาพืช
ประสบการณ์ : (1) หัวหน้าโครงการเพาะเมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้ป่า (ระยะที่ 4: กล้วยไม้สกุลหวาย) และโครงการศึกษาสภาวะการปลูกลูกกล้วยไม้สกุลกะเรกะร่อนในสภาพป่าธรรมชาติ (2) Light and Scanning Electron Microscopy Studies of Stomata, Guard Cells and Trichomes in Mokjong (Scaphium macropodum)
ความเชี่ยวชาญ : Plant Physiology และ Plant Tissue Culture
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์สำคัญของการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย เพื่อช่วยในการศึกษาเซลล์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ สังเกตการเติบโตของโครงสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทำให้สามารถมองเห็นวัตถุขนาดเล็กนั้นได้ เนื่องจากส่วนประกอบต่างๆ ของกล้องจุลทรรศน์มีราคาแพง ซึ่งถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดความเสียหายได้ จากที่ผ่านมาพบว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงดังกล่าวที่มีในโรงเรียนส่วนใหญ่มีความเสียหายชำรุดค่อนข้างมาก ขาดการดูแลบำรุงรักษาที่ดี ทำให้ไม่มีกล้องจุลทรรศน์ไว้ศึกษาเล่าเรียนเพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ประสิทธิภาพและคุณภาพการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ลดลง ดังนั้นผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลควรมีความจำเป็นที่ต้องรู้จักวิธีการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ในเบื้องต้น ทางภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่ออบรมครู อาจารย์ ผู้ที่ดูแลและที่รับผิดชอบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาชีววิทยา ให้มีความรู้วิธีการใช้และการบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์ในเบื้องต้นอย่างถูกต้อง เพื่อให้การเรียนการสอนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อบริการการซ่อมกล้องจุลทรรศน์ที่ชำรุดและเสียให้ให้นำกลับมาใช้งานได้อีกในโรงเรียนที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง เพื่ออบรมครูในการดูแลและซ่อมบำรุงรักษาอาการเสียในเบื้องต้น เพื่อให้นักศึกษาสาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรมได้ลงมือปฏิบัติงานกับเครื่องมือจริง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดูแลรับผิดชอบการใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบแสง ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง 4 โรงเรียน นักศึกษาสาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม ม.อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ 3. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/ซื้อวัสดุฝึกทดลอง 4. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ 5. ประเมินผลโครงการฯ 6. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ --- --- --- 0.00
2.2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ -- --- --- 19,800.00
3.3. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/ซื้อวัสดุฝึกทดลอง --- --- --- 0.00
4.4. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ --- --- -- 79,200.00
5.5. ประเมินผลโครงการฯ --- --- --- 0.00
6.6. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00-10.300 น. การใช้งานกล้องจุลทรรศน์ นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
28 เมษายน พ.ศ. 2561
14.45-17.00 น. ซ่อมกล้องจุลทรรศน์แบบแสง (ต่อ) นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
28 เมษายน พ.ศ. 2561
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
28 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00-14.30 น. ซ่อมบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์แบบแสง นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
28 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
28 เมษายน พ.ศ. 2561
10.45-12.00 น. ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบแสง นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
28 เมษายน พ.ศ. 2561
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.45-17.00 น. ซ่อมกล้องจุลทรรศน์แบบแสง (ต่อ) นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.30-14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.30 น. ซ่อมบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์แบบแสง นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.45-12.00 น. ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบแสง นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00-10.30 น. การใช้งานกล้องจุลทรรศน์ นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
09.00-17.00 น. สาธิตการใช้งาน ส่วนประกอบและซ่อมกล้องจุลทรรศน์แบบแสง นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
09.00-17.00 น. สาธิตการใช้งาน ส่วนประกอบและซ่อมกล้องจุลทรรศน์แบบแสง นายสายชล พิมพ์มงคล, นายสมคิด เพ็ญชารี,นางอรัญญา พิมพ์มงคล

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.ช่วยลดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือใหม่
ด้านสังคม : 1. เป็นการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะให้ครู-นักศึกษามีความรู้ด้านการใช้งานและซ่อมกล้องจุลทรรศน์แบบแสง 2.เกิดความร่วมมือทางวิชาการและการจัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1.ช่วยลดปัญหาการเกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
20
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
- สามารถซ่อมบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์ให้กลับมาใช้งานได้ 40 เครื่อง

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา อิเล็กทรอนิกส์ 1
หลักสูตร ฟิสิกส์
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา ร้อยละ 90
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 55,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) นักศึกษาช่วยงานจำนวน 10 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 24,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
16,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) เอกสาร
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 18,800.00 บาท )
1) วัสดุฝึก
=
18,800.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 99,000.00 บาท