แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง รุ่นที่ 2
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประสบการณ์ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ สรีรวิทยาสัตว์น้ำ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
กุ้งก้ามขน (Macrobrachium dienbienphuense) หรืออาจเรียกว่า กุ้งชฎา หรือ กุ้งนา เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีการแพร่กระจายอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีนลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยกระจายมาตามแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี รวมถึงจังหวัดต่างๆ ที่แม่น้ำทั้งสามไหลผ่าน มีการกินอาหารจำพวกจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร พื้นที่อยู่อาศัยจะพบได้บริเวณที่เป็นน้ำนิ่งชายฝั่ง และบริเวณแก่งหิน พื้นที่บริเวณแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะเป็นแก่งหินมีลานกว้าง ในช่วงฤดูน้ำหลาก (สิงหาคม-ตุลาคม) จะมีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว กุ้งก้ามขนจะเดินทวนกระแสน้ำไปบนลานหิน หลบหลีกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว เพื่อไปยังต้นน้ำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ พฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการเรียกว่า "กุ้งเดินขบวน" ซึ่งจำนวนกุ้งและช่วงเวลาการเดินทางขึ้นกับสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงปี ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง (กุ้งเดินขบวน) ให้กับเยาวชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถให้ความรู้ที่เกี่ยวกับชีววิทยาการกินอาหารและการสืบพันธุ์ นิเวศวิทยาของแหล่งที่อยู่อาศัย และแนวทางการอนุรักษ์ เพื่อที่เยาวชนจะสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปวางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่น รวมทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยได้ต่อไป

วัตถุประสงค์
1.5.1.เพื่อให้เยาวชนและนักเรียนได้ทราบถึงข้อมูลกุ้งเดินขบวนในพื้นที่อำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี
2.5.2.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนและนักเรียนร่วมอนุรักษ์กุ้งเดินขบวนและพื้นที่อาศัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เยาวชน(นักเรียน) บริเวณตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1.โครงการจัดเตรียมข้อมูลทรัพยากรประมงในท้องถิ่น และประเมินเยาวชนและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี 1.2.การประเมินความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรประมงของเยาวชนและโรงเรียน ก่อนเข้าร่วมการอบรมของโครงการ 1.3.การให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรประมงและแหล่งน้ำในพื้นที่ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกผ่านกิจกรรมทางความคิดให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ 1.4.การประเมินความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกที่มีต่อทรัพยากรประมงและแหล่งน้ำของเยาวชน หลังเข้าร่วมการอบรมของโครงการ โดยการใช้แบบสอบถามและการประชุมร่วมกับศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี (หน่วยงานดูแลพื้นที่อาศัยของกุ้งเดินขบวน) และ โรงเรียนที่เยาวชนเข้าร่วมอบรมกับโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การเตรียมเอกสารและประสานหน่วยงานและผู้เข้าอบรมในพื้นที่ --- --- --- 20,000.00
2.การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสารประกอบการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ - - --- --- 20,000.00
3.การสำรวจพื้นที่และเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับสถานที่ วิทยากร และเนื้อหาในพื้นที่จริง - -- --- --- 10,000.00
4.การอบรมเชิงปฏิบัติการ(การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง รุ่นที่ 2) --- -- --- --- 70,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561 - 21 มกราคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 มกราคม พ.ศ. 2561
9.00-12.00 การให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่แก่งลำดวนและพื้นที่ป่าโดยรอบ หัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี
19 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00-16.00 การสำรวจพื้นที่แก่งลำดวนและพื้นที่ป่าโดยรอบ หัวหน้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี
20 มกราคม พ.ศ. 2561
9.00-12.00 การให้ความรู้เกี่ยวกับกุ้งเดินขบวนและนิเวศวิทยาแก่เยาวชน ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม
20 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00-16.00 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกุ้งเดินขบวน คณะวิทยากร
21 มกราคม พ.ศ. 2561
9.00-12.00 การสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยและนิเวศวิทยาของกุ้งเดินขบวน คณะวิทยากร
21 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00-16.00 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยา คณะวิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -การรักษาประชากรของกุ้งเดินขบวนในธรรมชาติให้คงอยู่ เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป -การสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อย่างยั่งยืน
ด้านสังคม : -เยาวชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรประมง (กุ้งเดินขบวน) -เยาวชนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในท้องถิ่นและพื้นที่อาศัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : -ประชาชนในพื้นที่ร่วมกันดูแลทรัพยากรประมง (กุ้งเดินขบวน) -การวางแผนแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง (กุ้งเดินขบวน)
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1.เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรประมงในท้องถิ่นของตนเอง 2.เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรประมง 3.เยาวชนสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา 1204362 การจัดการและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางการประมง
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาประมง)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ การวิเคราะห์ การตรวจสอบ และการเฝ้าระวังนิเวศวิทยาในแหล่งน้ำธรรมชาติ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวน 3 ครั้ง (9 วัน)
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ 1.การประเมินความรู้และความเข้าใจทรัพยากรประมงและแหล่งน้ำธรรมชาติของ รวมทั้งจิตสำนึกที่มีต่อทรัพยากรประมงของเยาวชน ก่อนเข้าร่วมโครงการ 2.การให้ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ การวิเคราะห์ การตรวจสอบ และการเฝ้าระวังแหล่งน้ำธรรมชาติ 3.การประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรประมงที่เยาวชนได้รับ และจิตสำนึกที่มีต่อทรัพยากรประมงของเยาวชน หลังจากการเข้าร่วมโครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 16,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 16,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 8,600.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 14 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 75,720.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 22,720.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 4,000.00 บาท
=
16,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 6,720.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
6,720.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ศึกษาในพื้นที่
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาออกแบบและรวบรวมแบบสอบถาม
=
5,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
=
5,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่ประกอบการอบรม
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,480.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,250.00 บาท )
1) กระดาษ แฟ้ม ปากกา
35 x 150 บาท
=
5,250 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,300.00 บาท )
1) ค่าจัดทำไวนิล
3 x 600 บาท
=
1,800 บาท
2) ค่าจัดทำโปสเตอร์
3 x 500 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์คอมพิวเตอร์
2 x 2,500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 4,000.00 บาท )
1) น้ำมันเชื้อเพลิง
4 x 1,000 บาท
=
4,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 1,930.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
1,930.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 120,000.00 บาท