แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เจาะตลาดกัมพูชาตามหลักกลยุทธ์ซุนวู (เข้าใจโจทย์ รู้วิธี มีเครือข่าย)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (startup)
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
หัวหน้าโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นายไกรศักดิ์ ยงกุลวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : วิทยากรการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ วิทยากรการจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายชวพจน์ ศุภสาร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นายสหรัฐ โนทะยะ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : นิติกร
ความเชี่ยวชาญ : กฎหมายมหาชน, กฎหมายปกครอง
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตำราพิชัยสงครามของซุนวูมีกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญสอนไว้ว่า “ผู้นำทัพต้องหยั่งเห็นผลของสงครามก่อนชักธงรบ” เฉกเช่นเดียวกับกลยุทธ์ธุรกิจที่จำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และเห็นภาพของสนามธุรกิจ สถานการณ์การแข่งขัน ได้ชัดแจ้งก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ แล้วอะไรคือกลยุทธ์การเข้าตลาดอาเซียนสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ต้องได้รับการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ ที่เป็นสถาบันทางธุรกิจพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจชุมชน ให้อยู่รอดได้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยอาศัยหลักการ “กลยุทธ์ซุนวู” โครงการบริการวิชาการ “ตีโจทย์ตลาดกัมพูชาตามหลักกลยุทธ์ซุนวู (เข้าใจโจทย์ รู้วิธี มีเครือข่าย)” เป็นโครงการเปิดโลกแห่งความเป็นจริง ในเมืองเสียมราฐ ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของกัมพูชาเป็นที่ตั้งของปราสาทนครวัด นครธม ปราสาทตาพรม และมีนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศเดินทางเข้ามา ซึ่งเมืองเสียมราฐ อยู่ห่างจากชายแดนไทยที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นระยะทาง315 กิโลเมตร จึงนับเป็นโอกาสในการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเดินทางเข้าไปศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและตีโจทย์เพื่อหาทางขยายตลาดจากเมืองเศรษฐกิจท่องเที่ยวนี้ ว่าอะไรคือวิธีในการเข้าตลาดที่เหมาะสมกับ SMEs แต่ละกลุ่มสินค้า ปัจจัยและส่วนผลักดันต่างๆ ที่ทำให้ ผู้ประกอบการ ไทยประสบความสำเร็จของในการเข้าสู่ตลาด รูปแบบใดและขั้นตอนการเข้าสู่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้ข้อกำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน 4ด้าน คือ (1)การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ และเงินทุนอย่างมีเสรีมากขึ้น (2)การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) มาตรการด้านภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (3)การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ให้มีการเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเพื่อลดช่องว่างจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน (4)การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้นการดำเนินมาตรการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (CEP) กับประเทศนอกภูมิภาค ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเป็นการ เรียนรู้ (1)รูปแบบการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ (Mode Of Entry) (2)วิธีการเข้าสู่และวิธีการพัฒนา(Entry and Development Method) (3)กลยุทธ์ทางการแข่งขัน (Competitive Advantage Strategy) และ (4)การสร้างความแตกต่างสินค้าและบริการ (Differentiate ) ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้นำความรู้ที่ได้เพื่อพัฒนาภาคธุรกิจของจังหวัด ในรูปแบบ start up ตามนโยบายรัฐบาล

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการหาช่องทางขยายตลาดการค้า ไปสู่เมืองเศรษฐกิจท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
2.เพื่อศึกษาและสำรวจขั้นตอนการเข้าสู่ตลาดประเทศกัมพูชาภายใต้ข้อกำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(Mode Of Entry)
3.เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการใหม่ด้วยกัน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดอุบลราชธานี หรือ ศรีสะเกษ หรืออำนาจเจริญ 15 คนและคณะทำงาน5 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
20 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ดำเนินการ ณ.พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ การลงสำรวจใน จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เพื่อสำรวจโอกาสทางการตลาด และการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อกำหนดกิจกรรมที่สนับสนุนและส่งเสริมการตลาดสำหรับการขยายตลาดในเมืองเสียมราฐ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมเตรียมแผนงาน - --- --- --- 10,000.00
2.ประสานงาน ประชาสัมพันธ์รับสมัคร -- -- --- --- 30,000.00
3.รับสมัครติดต่อ ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ --- - --- --- 20,000.00
4.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ --- -- --- --- 30,000.00
5.ประสานงานต่างประเทศ (เมืองเสียมราฐ กัมพูชา) --- -- -- --- 20,000.00
6.ดำเนินกิจกรรม ตามแผน --- --- -- --- 120,000.00
7.สรุปผลและรายงานผล --- --- --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561 - 7 มกราคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 มกราคม พ.ศ. 2561
07.00-20.00 เดินทางเข้าเมืองเสียมราฐ กัมพูชา อบรมเชิงปฏิบัติการรูปแบบการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ (Mode Of Entry) ผู้แทนกรมกิจการชายแดนไทย-กัมพูชาและคณะ
7 มกราคม พ.ศ. 2561
07.00-20.00 สำรวจพื้นที่ ตีโจทย์ตลาด กัมพูชา เพื่อวิเคราะห์ การสร้างความแตกต่างสินค้าและบริการ (Differentiate ) ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการใหม่ สามารถขยายโอกาสทางการตลาดในต่างประเทศได้
ด้านสังคม : -มีการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการใหม่ด้วยกัน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
20
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-12500

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การขายและการตลาดธุรกิจโรงแรม
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ตลาดประเทศกัมพูชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ สืบค้นข้อมูลเพื่อศึกษาบริบทตลาดธุรกิจบริการในกัมพูชา

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 34,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 34,600.00 บาท )
1) - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย (อัตรา 600 บาทต่อคนต่อชั่วโมง x วันละ 3 ชั่วโมง*2 วัน) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 1,800.00 บาท/ชม.
=
3,600.00 บาท
2) - ค่าตอบแทนวิทยากรปฎิบัติการ (อัตรา 600 บาทต่อคนต่อชั่วโมง x วันละ 3 ชั่วโมง*2 วัน*2คน)จำนวน 2 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 1,800.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท
3) - ค่าปฏิบัติการนอกเวลาราชการ จ-ศ (6 คน*200 บาท*5 วัน)จำนวน 7 คน x จำนวน 8 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
11,200.00 บาท
4) - ค่าปฏิบัติการนอกเวลาราชการ ส-อ (420 บาท*5คน*6วัน)จำนวน 5 คน x จำนวน 6 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
12,600.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 198,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 1,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
1,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
8,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 185,300.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมัน (4,900 บาท*3 วัน*1 คัน)
=
14,700.00 บาท
2) - ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมัน (4,900 บาท *2 วัน*2 คัน)
=
19,600.00 บาท
3) - ค่าจ้างเหมาทำสื่อทางการตลาด 10กลุ่ม*4000 บาท
=
40,000.00 บาท
4) - ค่าจ้างเหมาบริษัททัวร์เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศกัมพูชา ( 2 วัน 1 คืน) (4,900*20 คน)
=
98,000.00 บาท
5) - ค่าจ้างพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย
=
5,000.00 บาท
6) - ค่าจ้างประมวลผลแบบสอบถามและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
=
3,500.00 บาท
7) - ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาด
=
2,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,700.00 บาท )
1) - ค่าวัสดุสำนักงาน (ปากกา,แฟ้ม,กระดาษชาร์ทสี,ปากกาไวท์บอร์ด, ถ่านกล้องถ่ายรูป, คลิป,สแต็บเปิ้ลพร้อมใส้,สก๊อตเทป)
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท
2) - ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยายและสรุปโครงการ
1 x 5,700 บาท
=
5,700 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) - วัสดุอื่น เช่น น้ำดื่ม ถุงขยะ กระดาษชำระ เป็นต้น
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) - วัสดุคอมพิวเตอร์ (แผ่นซีดี,หมึกปริ๊นเตอร์,กระดาษโฟโต้ปริ๊น)
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 250,000.00 บาท