แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาทักษะการบริการอย่างมืออาชีพเพื่อเข้าสู่ยุคของการท่องเที่ยว 4.0
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.กมลพร นครชัยกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : วิจัย, วิทยากร และการเป็นที่ปรึกษา
ความเชี่ยวชาญ : การตลาดและการจัดการ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สรินทิพย์ ทวีเดช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : คอมพิวเตอร์ศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบอีเลิร์นนิง ระบบฐานข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวบงกช คูณผล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐประศาสนศาสตร์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวยุค 4.0 เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนฐานนวัตกรรมที่ต้องมีการทำการตลาดสมัยใหม่และมีนวัตกรรม เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านแอพพลิเคชั้นโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งการท่องเที่ยวในยุค 4.0 ต้องมีการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการบริการที่จะต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปพร้อมกับนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการบริการเดิม หรือ Traditional Services เป็นการบริการแบบสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า High Value Services รวมทั้งยังมุ่งประเด็นการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญและทักษะการบริการที่สูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม งานบริการแก่ลูกค้าเป็นเรื่องที่ท้าทาย ในขณะที่ Gen Y ก็กำลังเป็นคลื่นลูกใหม่ที่มีพลังมากจนสามารถเปลี่ยนโลกได้ ไม่เพียงแต่ผู้ให้บริการเท่านั้นที่เปลี่ยนไป แต่ลูกค้าเองก็เปลี่ยนไป ทั้งด้านกายภาพ ความต้องการ และความคาดหวัง โลกของลูกค้ากว้างขึ้นและรวดเร็วขึ้น นี่เอง..เป็นสาเหตุของความคาดหวังที่สูงขึ้น ผู้ให้บริการจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อก้าวให้ทันกับความต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรมเรื่องการบริการในปัจจุบัน เน้นเนื้อหาจากตำราของทางตะวันตกมาปลูกฝังให้พนักงานมีใจอยากให้บริการ ทั้งที่แท้จริงแล้วสถานการณ์และบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้มีข้อคำถามหรือข้อจำกัดในการให้บริการตามสไตล์ตะวันตกมากยิ่งขึ้น อนึ่ง สังคมไทยซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธนั้น มี "ครู" ที่เก่งที่สุดในโลกอยู่แ่ล้ว นั่นคือ..องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเสมอแม้กาลเวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม ศาสตร์ตะวันตกหลายต่อหลายแขนงด้วยกันหันมาศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนำไปปรับใช้กับศาสตร์ของตน ดังนั้น "Service mind สไตล์พุทธ" จึงเกิดขึ้นบนแนวคิดที่ว่า "พระพุทธเจ้าสอนให้คนทำงานบริการวางใจอย่างไร" และ "มีคำสอนทางพุทธศาสนาใดบ้างที่ผู้ทำงานบริการนำไปประยุกต์ใช้ได้" ดังนั้น ผู้รับการฝึกอบรมจะเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าการทำงานบริการนั้น มิใช่การทำ "เพื่อผู้อื่น" แต่เป็นการทำ "เพื่อสั่งสมบุญให้กับตนเอง" พวกเขาจะได้ทราบว่าคนที่จะ "ได้" จากการบริการมิใช่ลูกค้า แต่เป็น "ตัวผู้ทำงานบริการเอง" ต่างหาก “Service mind สไตล์พุทธ" จะทำให้ผู้ทำงานบริการเป็นฝ่าย "ได้" อันจะทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกอยากทำงานบริการออกมาจากความรู้สึกข้างในอย่างแท้จริง ด้วยความสำคัญของประเด็นข้างต้น คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการบริการด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวยุค 4.0 จึงได้เสนอโครงการนี้ขึ้นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวและบุคลากรทางการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น และสามารถเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของรูปแบบการให้บริการอย่างมืออาชีพอันจะนำไปสู่การให้บริการที่สร้างความประทับใจและนำมาซึ่งการประกอบธุรกิจที่มีความยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การให้บริการอย่างมืออาชีพตลอดจนเทคนิคใหม่ๆ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวยุค 4.0
2.2. เพื่อพัฒนาทักษะการให้บริการอย่างมืออาชีพให้แก่บุคลากรของธุรกิจที่พัก เยาวชน ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวยุค 4.0

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประกอบด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจหรือบุคลากรในธุรกิจบริการต่างๆ อาทิ ธุรกิจที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเครื่องดื่ม รวมทั้ง เยาวชน ประชาชนทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานภาคการศึกษาที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมเตรียมงาน 2. ติดต่อวิทยากร 3. เตรียมการอบรม 4. จัดเตรียมเอกสารการอบรม 5. ประชาสัมพันธ์โครงการ 6. รับสมัครผู้ร่วมโครงการ 7. จัดสถานที่และฝึกอบรม 8. สรุปและประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมเตรียมงาน --- --- --- 6,200.00
2.ติดต่อวิทยากร -- -- --- --- 6,200.00
3.เตรียมการอบรม --- - --- --- 3,000.00
4.4.จัดเตรียมเอกสารการอบรม --- - --- --- 2,300.00
5.ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 11,920.00
6.รับสมัครผู้ร่วมโครงการ --- -- -- --- 2,700.00
7.จัดสถานที่และฝึกอบรม --- --- --- 77,600.00
8.สรุปและประเมินผลโครงการ --- --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
08.30 – 16.30 • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการและการท่องเที่ยว • บทบาทและความสำคัญของการบริการและการท่องเที่ย วิทยากรจากส่วนกลาง ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย นางสาววรารัตน์ บุญแฝง นางสาวกมลพร นคร
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
08.30 – 16.30 - เทคนิคการบริการสไตล์พุทธ - Service Mind สไตล์พุทธ - การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อ วิทยากรจากส่วนกลาง ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย นางสาววรารัตน์ บุญแฝง นางสาวกมลพร นคร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -สถานประกอบการมีการพัฒนาการบริการที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุค Thailand ภใจ
ด้านสังคม : -บุคลากรทางการท่องเที่ยวมีองค์ความรู้และเทคนิคการให้บริการอย่างมืออาชีพ -บุคลากรมีทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบทของ Tourism 4.0
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
32
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
3046 บาท ต่อ 1 คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา MICE Management/ Research Methodology for Hotel/ Seminar in Hotel
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน หลักการจัดการการบริการสำหรับการท่องเที่ยวยุค 4.0
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ การดำเนินกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษานำเสนอกลยุทธ์สำหรับการบริการยุค 4.0 ให้เหมาะสมกับธุรกิจที่นักศึกษาสนใจ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 46,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 33,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 800.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
9,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 65,920.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 8,520.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 1,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
1,600.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 1,920.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
1,920.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 45 คน
=
9,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 1,000.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 32,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงาน (5 คน * 2 วัน * 300 บาท)
=
3,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกและตัดต่อ VDO
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบงานครัวสำหรับการฝึกปฏิบัติการ
=
8,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาพิมพ์เอกสารและประมวลผลข้อมูล
=
2,000.00 บาท
5) ค่าที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม (คนละ 400 บาท * 1 วัน * 40คน)
=
16,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,200.00 บาท )
1) ค่ากระดาษ A4
2 x 100 บาท
=
200 บาท
2) ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร
40 x 50 บาท
=
2,000 บาท
3) ค่าปากกา
1 x 200 บาท
=
200 บาท
4) ค่าถ่ายเอกสาร (5000 แผ่น ๆ ละ 0.50 บาท)
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท
5) ค่ากระดาษสำหรับทำใบประกาศนียบัตร
1 x 300 บาท
=
300 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 300.00 บาท )
1) ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์
1 x 300 บาท
=
300 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าหมึกพิมพ์ Laser 85A
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 119,920.00 บาท