แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การตรวจสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health-relate physical fitness) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี ของประชากรวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวนันทยา กระสวยทอง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาสรีรวิทยา)
ประสบการณ์ : -Training labolatory lab.Exercise and Nutrition at University of Taipei -Training INMUCAL at Mahidol University
ความเชี่ยวชาญ : - Physiology of exercise - Food supplement and exercise - Neuroscience in rat ; alcohol with drawal syndrome
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล สมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health-relate physical fitness) อันได้แก่ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด (Cardiorespiratory endurance) ความแข็งแรง ความอดทนและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ (muscle strength, muscle endurance and flexibility) รวมทั้งองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) ความบกพร่องของสมรรถภาพร่างกายมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ รวมถึงโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพหลักของประชากรในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การตรวจสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพจะทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาวะของประชากรในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำ ส่งเสริมและป้องกันโรค ตลอดจนการให้การรักษาโรคทางระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก โรคหัวใจและหลอดลือด ในเบื้องต้นเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคได้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีพันธกิจที่สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยเฉพาะพันธกิจที่เกี่ยวกับการบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ดังนั้นจึงจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนในด้านการส่งเสริมสุขภาพนี้ขึ้น โดยมีนักศึกษาและคณาจารย์ร่วมกันออกหน่วย เพื่อตรวจสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ให้ความรู้ และให้คำแนะนำ เพื่อส่งเสริมสรรถภาพทางกายในการที่จะป้องกันการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด แก่ประชาชน รวมถึงการให้แนวทางปฏิบัติแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในการประเมินสมรรถภาพทางกายของประชาชนในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในชุมชน อีกทั้งโครงการนี้ได้บูรณาการความรู้เข้ากับ 2 รายวิชา คือรายวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ระบบหัวใจและหลอดเลือด สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ในหัวข้อการป้องกันการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานตามหลักกายวิภาคศาสตร์ การประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด โดยนักศึกษาสามารถที่จะนำความรู้พื้นฐานจากหัวข้อในรายวิชาดังกล่าวมาประเมินสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริมสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแก่ประชากรกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในชุมชน
2.เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนในการตรวจสมรรถภาพทางกาย การคัดกรอง ป้องกันและรักษาโรคเบื้องต้น
3.เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์มีส่วนร่วมในการออกบริการวิชาการแก่ชุมชน เสริมสร้างทักษะด้านการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และให้คำแนะนำเบื้องต้นในการสร้างเสริมสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแก่ประชากรกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ประชากรวัยผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20-59 ปี และผู้สูงอายุคือประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประชุมปรึกษาและประสานอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์แพทย์ ในการบริหารจัดการเนื้อหารายวิชา เพื่อนำไปสู่การบูรณาการความรู้ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 2.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน จากผลการให้บริการวิชาการโครงการจากปีที่ผ่านมา (การบริการเชิงรุกในการตรวจสมรรถภาพ ป้องกันและรักษาโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในชุมชนตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี) ซึ่งโครงการนี้มีความสอดคล้องและต่อเนื่องจากโครงการดังกล่าว 3.ติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการเตรียมงานเพื่อออกหน่วยตรวจสุขภาพ 4.กำหนดกิจกรรมและช่วงเวลาที่จะออกให้บริการวิชาการ โดยมีกำหนดภายหลังจากที่นักศึกษาได้เรียนรายวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ระบบหัวใจและหลอดเลือด 5.จัดทำแผ่นพับความรู้ สื่อ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย การป้องกันโรคทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดเตรียม 6.ออกให้บริการวิชาการตามวัน เวลา สถานที่ ที่กำหนด กิจกรรมในการบริการวิชาการ ได้แก่ - การตรวจสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health-relate physical fitness) โดยใช้เครื่องมือต่างๆได้แก่ Hand grip, เครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขา,เครื่องมือประเมินอายุหลอดเลือดและความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ(SA3000P),เครื่องวัดส่วนประกอบร่างกาย (body composition) เครื่องวัดความดันเลือดแดง, และ spirometer - การตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ - -การสอนสาธิตการออกกำลังกายเพื่อการส่งเสริมสมรรถภาพร่างกายของประชากรวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ - การให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการส่งเสริมสมรรถภาพร่างกาย 7.ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ประเมินความสามารถในการบูรณาการความรู้ของนักศึกษาแพทย์ที่ออกบริการวิชาการ 8.รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงาน 9.สรุปและรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งมอบข้อมูลให้ชุมชน องค์กร และหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมปรึกษาและประสานอาจารย์ผู้สอน ผู้รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการเนื้อหารายวิชา เพื่อนำไปสู่การบูรณาการความรู้ที่ถูกต้อง - --- --- --- 5,000.00
2.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มจำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในพื้นที่ให้บริการ รวมทั้งปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน จากผลการให้บริการวิชาการโครงการจาก --- - --- --- 5,000.00
3.ติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการเตรียมงานเพื่อออก --- - --- 10,000.00
4.กำหนดกิจกรรมและช่วงเวลาที่จะออกให้บริการวิชาการ --- - --- --- 0.00
5.จัดทำแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย การป้องกันโรคทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางระบบทางเดินหายใจ - - --- --- 30,000.00
6.ออกให้บริการวิชาการตามวัน เวลา สถานที่ ที่กำหนด -- --- -- --- 70,000.00
7.ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ประเมินความสามารถในการบูรณาการความรู้ของนักศึกษาแพทย์ที่ออกบริการวิชาการ --- --- -- --- 0.00
8.รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- -- 10,000.00
9.สรุปและรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งมอบข้อมูลให้ชุมชน องค์กร และหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้ --- --- --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ทราบข้อมูลด้านสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชนวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง 2.ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนป้องกันและรักษาอย่างต่อเนื่อง 3.มีการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาะรณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและศูนย์สุขภาพชุมชนและหน่วยงานทางสาธารณสุข ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการดูแลสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างคลอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.นักศึกษาแพทย์สามารถนำความรู้จากวิชาที่เรียนในชั้นเรียน ไปบูรณาการและปฏิบัติงานจริงกับประชาชนในชุมชนได้ 5.ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์จัดเก็บอย่างเป็นระบบจากผลการดำเนินงาน สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดป็นงานวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแลประชาชนในชุมชนและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่จะสามารถมองเห็นปัญหาและลงมือปฏิบัติได้จริง
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่า เนื่องจาก 1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับบริการการตรวจสุขภาพ และตรวจสมรรถภาพทางกาย ซึ่งจะทำให้ทราบภาวะสุขภาพและสมรรถภาพร่างกายด้านต่างๆ ที่จะนำไปสู่การดูแลและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง 2.นักศึกษาแพทย์ มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการและนำความรู้จากชั้นเรียนในวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ระบบหัวใจและหลอดเลือด มาบูรณาการในการตรวจสมรรถภาพร่างกายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพของคนในชุมชนได้ 3.ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือในการใช้ข้อมูลร่วมกันของมหาวิทยาลัย และชุมชน 4.ทำให้ได้ข้อมูลด้านสมรรถภาพทางกายทั้งในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งจะสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่งานวิจัยในลำดับต่อไปได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก และรายวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด
หลักสูตร หลักสูตร พบ.(สาขาวิชาแพทยศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ระดับความสามารถในการบูรณาการความรู้ของนักศึกษาแพทย์ที่ออกบริการวิชาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 20,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 111,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,900 บาท/คัน/วัน
=
3,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 81,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตแบบสอบถาม
=
6,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจัดทำฐานข้อมูล
=
10,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาลงพื้นที่ออกหน่วยบริการตรวจสุขภาพ
=
9,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาทำป้ายและสื่อประชาสัมพันธ์/แผ่นพับ
=
10,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาทำรายงานฉบับสมบูรณ์
=
2,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ อสม คนละ 300/ 10 คน/ 2 ครั้ง
=
6,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่อง SA3000และเครื่องวัดส่วนประกอบของร่างกาย
=
30,000.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาจัดทำอุปกรณ์ประกอบการออกกำลังกาย
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 13,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,800.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 3,800 บาท
=
3,800 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุประชาสัมพันธ์
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่า External hard disk
2 x 1,500 บาท
=
3,000 บาท
2) แผ่นบันทึกข้อมูลแบบเขียนซ้ำได้
2 x 500 บาท
=
1,000 บาท


งบประมาณทั้งสิ้น 150,000.00 บาท