แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพยุวมัคคุเทศก์เพื่อเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวยุวดี จิตต์โกศล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์ : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบริการเยือนชุมชนในงานเทศกาลเข้าพรรษาประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี(โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2556) การพัฒนาเยาวชนเป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นภาษาต่างประเทศ (โครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559)
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว
หัวหน้าโครงการ
นายสุวภัทร ศรีจองแสง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์ : งานวิจัย : - ศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี (ผู้เข้าร่วม) [สกว.] - การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) (ผู้เข้าร่วม) งานทำนุบำรุงฯ : - แนวทางการอนุรักษ์อาคารที่ทรงคุณค่าในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (Tourism and Architecture)
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปริวรรต สมนึก คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พัฒนาการท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : สอนหลักสูตรการท่องเที่ยวระดับปริญญาตรี 5 ปี สอนหลักสูตรการท่องเที่ยวระดับปริญญาโท 2 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การตลาดท่องเที่ยว
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเขมจิรา หนองเป็ด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูง ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน การท่องเที่ยวไทยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องทั้งจํานวนและรายได้จากการท่องเที่ยว ในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา โดยรายได้นักท่องเที่ยวไทย อยู่ที่ 653,621 ล้านบาท และรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2558 ทั้งสิ้น 9,923,185 ล้านบาท (กรมการท่องเที่ยว) แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวอย่างมาก คือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน และสหราชอาณาจักร รองลงมาเป็นภูมิภาคอเมริกา และสถานการณ์การท่องเที่ยวในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย ในปี พ.ศ. 2557 มีจำนวน 4,715,911 คน และในปี 2558 มีจำนวน 4,883,937 คน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 168,026 คน ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวน 156,278 คนในปี 2557 และมีจำนวน 161,603 คนในปี 2558 เพิ่มขึ้น 5,325 คน รายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่าปี 2557 มีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยประมาณ 7,516 ล้านบาท และในปี 2558 มีรายได้ประมาณ 7,888 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 372 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีรายได้ประมาณ 497 ล้านบาท ในปี 2557 และในปี 2558 มีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 524 ล้านบาท มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 27 ล้านบาท กอรปกับการมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ชาติพันธ์ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร ที่ถ่ายทอดผ่านเทศกาลและบุญประเพณีต่างๆที่สำคัญ รวมทั้งนโยบายประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ส่งผลให้เอื้อประโยชน์ต่อการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นการมีพื้นที่ติดชายแดนหลายประเทศที่ส่งผลให้สามารถพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและเพิ่มกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกในพื้นที่ชายแดนได้ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรมและเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหารและการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ การท่องเที่ยวลักษณะนี้จะเป็นการยกระดับเศรษฐกิจในระดับจุลภาคและยังสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชนในระดับฐานราก จึงมีความจำเป็นต้องสร้างผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่แตกต่าง ที่ต้องใช้ทักษะในการจัดการขั้นสูงเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN การพาเยาวชนเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ทางการท่องเที่ยวไทย บุคลากรด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะและองค์ความรู้ให้สามารถแข่งขันได้ ตลอดจนด้านการสื่อสารภาษาไทยและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมผู้ให้บริการ เพื่อนำไปสู่การให้บริการการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชา 1449 333 หลักการมัคคุเทศก์ ให้เยาวชนสามารถฝึกปฏิบัติการเป็นยุวมัคคุเทศก์ที่ดี มีจิตบริการและมีความชำนาญในพื้นที่การท่องเที่ยว เล็งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในท้องถิ่นตนเอง ตลอดจนเพื่อฝึกฝนทักษะวิชาชีพการท่องเที่ยวกับเยาวชน อันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าในทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง พร้อมทั้งสามารถสื่อสารคุณค่าทรัพยากรทางการท่องเที่ยวในชุมชน
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวและงานบริการ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทย โดยผ่านการพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนเครือข่ายรอบมหาวิทยาลัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. วางแผนเตรียมงาน และประชาสัมพันธ์โครงการ 2.จัดกิจกรรมของโครงการ 3. จัดส่งและสรุปงบการเงิน 4. จัดทำและส่งเอกสารรวมเล่มสรุป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนและประชาสัมพันธ์โครงการ -- --- --- --- 1,000.00
2.จัดกิจกรรมของโครงการ - --- --- --- 148,600.00
3.จัดส่งและสรุปงบการเงิน --- - --- --- 0.00
4.จัดทำและส่งเอกสารรวมเล่มสรุป --- -- - 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 334 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. บรรยายความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว และอัตลักษณ์ของชุมชน อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเป็นยุวมัคคุเทศก์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเป็นยุวมัคคุเทศก์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : พัฒนาทักษะภาษาไทยในการเป็นยุวมัคคุเทศก์ อันนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการดึงดูดนักท่องเที่ยวไปยังท้องถิ่น ก่อให้เกิดการกระจายรายได้
ด้านสังคม : เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการนำเที่ยว
ด้านสิ่งแวดล้อม : เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรในท้องถิ่น เล็งเห็นถึงคุณค่าของท้องถิ่น
ด้านอื่นๆ : เกิดการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาหลักการมัคคุเทศก์ 2.สอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษาในประเด็นการบริการทางด้านวิชาการแก่ชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
3052

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1449 333 หลักการมัคคุเทศก์
หลักสูตร การท่องเที่ยว
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าในสารำสำคัญของหลักการมัคคุเทศก์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้ ความเข้าใจในหลักการมัคคุเทศก์
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ รูปเล่มรายงานกลุ่ม
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 33,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 33,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
8,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
25,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 119,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 43,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 27 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
43,200.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 26,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตเอกสารประกอบการอบรม
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
=
1,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมารถบัสพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 60 ที่นั่ง
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 152,600.00 บาท