แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เสริมสร้างทักษะชีวิตและความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายศุภชัย ไตรไทยธีระ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบริหารการพัฒนาท้องถิ่น
ประสบการณ์ : โครงการศึกษาและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลฯ โครงการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังหวัดอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาเด็กและเยาวชน การพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากระบบสถิติทางการทะเบียน กระทรวงมหาดไทยปี ๒๕๕๘ พบว่าจังหวัดอุบลราชธานี มีประชากรทั้งสิ้น 1,857,429 คน ซึ่งประกอบด้วยจำนวนประชากรเยาวชนที่อายุระหว่าง ๑๕ – ๒๑ ปี (กลุ่มคนในช่วงวัยเยาวชน) จำนวน ๒๐๐,๐๓๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๐ .๗๗ จากจำนวนประชากรทั้งหมดซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรในช่วงวัยเยาวชนมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อเทียบกับทิศทางการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ ดังนั้นประชากรในช่วงวัยเยาวชนจึงเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญและควรเร่งพัฒนาศักยภาพพร้อมทั้งการสร้างความเป็นพลเมืองให้เกิดแก่คนในช่วงวัยเพื่อให้เกิดช่วงวัยแรงงานที่มีคนภาพในอนาคตและสามารถขับเคลื่อนประเทศด้วยภูมิความรู้และประสบการณ์รวมไปถึงการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ สภาพแวดล้อมของเด็กและเยาวชนในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น พบว่ามีสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่เด็กและเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังขับเคลื่อนอนาคตของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาการทะเลาะวิวาท ปัญหาเด็กแว้น ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การเผชิญปัญหาด้านเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาในชีวิตประจำวันอย่างรวดเร็ว และปัญหาด้านการศึกษา เช่น ในปี ๒๕๕๖ สาธารณสุขเผยผลสำรวจไอคิวและอีคิวเด็กไทยระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ ทั่วประเทศปี ๕๙ เฉลี่ย ๙๘.๒ ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งเด็กในจังหวัดอุบลราชธานีมี IQ = ๙๓.๕๑ ซึ่งอยู่ในลำดับท้ายของประเทศ ปัญหานักดื่ม นักสูบหน้าใหม่ ปัญหาเด็กอ้วน เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ต้องอาศัยกลไกหนุนเสริมมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากมาตรฐานการพัฒนาเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยได้มอบบทบาทในแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามช่วงวัยโดยในช่วงวัยเยาวชนมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิตและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนอีกทั้งการส่งเสริมให้เกิดสภาเด็กและเยาวชนในระดับตำบลแต่ก็ยังพบปัญหาที่ในการจัดตั้งองค์กรเด็กระดับท้องถิ่น มีทั้งปัญหาจากรัฐบาลที่ขาดการประสานงาน มีเฉพาะเชิงนโยบาย ส่วนระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ไม่รู้จัก มีอคติ เน้นจัดงานอีเวนท์ ครอบงำ ให้งบประมาณน้อย ส่วนเด็กในระบบเองก็ติดเรียน ติดสอบ ไม่มีเวลา ขณะที่เด็กนอกระบบก็ขาดโอกาส มีพฤติกรรมเสี่ยง และชุมชนไม่ต้อนรับ นอกจากนี้ ยังพบว่า ในสภาเด็ก เด็กผู้หญิงเข้ามาทำงานในสภาเด็กและเยาวชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่ห่วงใยให้ความช่วยเหลือ เด็กผู้ชายระดับชั้นมัธยมต้นกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดในขณะนี้(สมพงษ์ จิตระดับ,๒๕๕๕) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สร้างสติและปัญญาแก่สังคม บนพื้นฐานคุณธรรม ตามหลักการประชาธิปไตยจากปรัชญาของคณะ ในฐานะองค์กรภาควิชาการที่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการพัฒนาเด็กและเยาวชนอีกทั้งมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาเยาวชนผ่านโครงการส่งเสริมบรรยากาศประชาธิปไตยในคนรุ่นใหม่ Freedom Zone ห้องเรียนพลเมือง ฯลฯ ภายใต้โครงการบริการวิชาการแก่สังคมจึงเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิตหรือห้องเรียนพลเมืองขึ้นอีกทั้งยังคิดขึ้นออกแบบหลักสูตรการพัฒนาทักษะชีวิตและความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนตามแนวทาง ๔ H Life Skill อีกทั้งมุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้เกิดเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เป็นความหวังของประเทศชาติต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต( 4 H Life Skill) แก่คนรุ่นใหม่ และจัดตั้งศูนย์ พัฒนาทักษะชีวิตหรือห้องเรียนพลเมือง ในระดับพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง
2.เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองและห้องเรียนพลเมือง
3.เพื่อเปิดพื้นที่การแสดงออกทาง พื้นที่สาธารณะ แก่คนรุ่นใหม่

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- เยาวชนอายุระหว่าง 15-21 ปี จำนวน 250 คน - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่งในจังหวัดอุบลราชธานี (เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ/เทศบาลตำบลขามใหญ่/เทศบาลนครอุบลราชธานี/องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง/องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย) - นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 50 คน - สภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล 5 แห่ง(เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ/เทศบาลตำบลขามใหญ่/เทศบาลนครอุบลราชธานี/องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง/องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
หลักสูตร คู่มือการอบรมทักษะชีวิต (๔ H Life Skill) ความเป็นพลเมือง อบรมแกนนำนักศึกษาเพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการในการเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชน พร้อมทั้งจัดค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการ -- --- --- --- 2,500.00
2.ออกแบบหลักสูตรการ/คู่มือการฝึกอบรมนักศึกษา(Trainer) -- --- --- --- 700.00
3.กิจกรรมการอบรมแกนนำนักศึกษาเพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการในการเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชน(TOT) --- -- --- --- 154,500.00
4.ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง --- -- --- --- 131,250.00
5.เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานและการนำเสนอการทำงานในพื้นที่และ จัดตั้งศูนย์ พัฒนาทักษะชีวิตหรือห้องเรียนพลเมือง ในระดับพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้ --- --- -- --- 178,250.00
6.ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ --- --- -- --- 30,300.00
7.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ --- --- --- -- 800.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 304 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 ตุลาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.00 น. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการ -
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
09.00-16.00 ออกแบบหลักสูตรการ/คู่มือการฝึกอบรมนักศึกษา(Trainer) -
9 มกราคม พ.ศ. 2561
09.00-16.00 น. อบรมแกนนำนักศึกษาเพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการในการเสริมสร้างทักษะชีวิตแก่เด็กและเยาวชน(TOT) วิทยากรภายนอก,ภายใน
13 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.00 น. ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง (พื้นที่ที่1 นักศึกษาแกนนำ
14 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง (พื้นที่ที่2 แกนนำนักศึกษาและวิทยากรภายใน
15 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง (พื้นที่ที่3 แกนนำนักศึกษาและวิทยากรภายใน
16 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง (พื้นที่ที่4 แกนนำนักศึกษาและวิทยากรภายใน
17 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. ค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนเสริมสร้างทักษะชีวิตและจัดตั้งศูนย์พัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง (พื้นที่ที่5 แกนนำนักศึกษาและวิทยากรภายใน
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.00 น. เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานและการนำเสนอการทำงานในพื้นที่และ จัดตั้งศูนย์ พัฒนาทักษะชีวิตหรื วิทยากรภายนอก,ภายใน
13 มิถุนายน พ.ศ. 2561
09.00-16.00 น. ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการ วิทยากรภายใน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : อปท.มีศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมืองที่มีความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ผลผลิตโครงการ(Output) : 1. หลักสูตร คู่มือการอบรมทักษะชีวิต (4 H Life Skill), ความเป็นพลเมือง 2. พื้นที่แสดงออกสำหรับคนรุ่นใหม่ 3. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมือง 4. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะชีวิตและความเป็นพลเมือง ผลลัพธ์โครงการ(Outcome) : 1. หลักสูตร คู่มือการอบรมมีคุณภาพสามารถใช้ในการฝึกอบรมในครั้งต่อไปได้ 2. เยาวชนกล้าแสดงออก ทั้งทางกายภาพ และความคิด รู้สิทธิ หน้าที่ของพลเมือง 3. อปท.มีศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต/ห้องเรียนพลเมืองที่มีความยั่งยืน 4. เกิดการขยายผลกิจกรรมและการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ภาวะผู้นำในองค์การ
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีการบูรณาการเนื้อหาของโครงการฯเข้าในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีผู้แทนนักศึกษาในรายวิชาเป็นวิทยากรร่วม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 143,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 128,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 56,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
43,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
12,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 72,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
36,000.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
18,000.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนวิทยากรภายในจำนวน 10 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 294,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 27,350.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 20,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
2) จำนวน 5 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 1,700.00 บาท
=
8,500.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 850.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 850.00 บาท
=
850.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 67,700.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
1,400.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
350.00 บาท
3) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
10,400.00 บาท
4) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
22,750.00 บาท
5) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 360 คน
=
28,800.00 บาท
6) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 101,750.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
1,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
250.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
19,500.00 บาท
4) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
19,500.00 บาท
5) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 360 คน
=
54,000.00 บาท
6) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 18,000.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 80,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างจัดทำคู่มือ (100เล่ม*เล่มละ300บาท)
=
30,000.00 บาท
2) ค่าของที่ระลึก (5ชิ้น*ชิ้นละ500บาท)
=
2,500.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมารถรับส่งผู้เข้าร่วม (5คัน*คันละ3,000บาท)
=
15,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการ
=
25,000.00 บาท
5) ค่าจ้างประมวลผลแบบสอบถาม
=
2,500.00 บาท
6) ค่าจ้างถ่ายวิดีโอ
=
2,500.00 บาท
7) ค่าจ้างถ่ายภาพ
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 60,100.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 21,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 21,000 บาท
=
21,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 6,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์ (Pop up)
2 x 2,000 บาท
=
4,000 บาท
2) ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์ (ไวนิล)
5 x 500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 4,800.00 บาท )
1) ค่าหมึกปริ้นเตอร์
2 x 2,400 บาท
=
4,800 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 27,800.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
15,300.00 บาท
2) ค่าอุปกรณ์ใช้ในการอบรม (กระเป๋า)
=
12,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 498,300.00 บาท