แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ นวัตกรรมสังคมกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวพิสมัย ศรีเนตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 โครงการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนและสร้างกลไกความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติ
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัญหาภัยพิบัติเป็นความท้าทายต่อการบริหารจัดการของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยมีแนวโน้มที่ภัยพิบัติจะเพิ่มความรุนแรง และส่งผลกระทบต่อชุมชนมากขึ้น โดยเฉพาะภัยพิบัติน้ำท่วมและภัยแล้ง การจัดการภัยพิบัติที่ผ่านมาของประเทศไทยเป็นลักษณะการตั้งรับและบรรเทาเหตุการณ์คือ การให้ความช่วยเหลือและเยียวยาพื้นที่ประสบภัยในด้านต่าง ๆ เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นแล้ว ภัยพิบัติจึงส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ มีการเตรียมความพร้อมชุมชนไม่ว่าจะเป็นการประเมินความเสี่ยงการเสริมสร้างศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงจะสามารถช่วยลดความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติได้ การสร้างหรือการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาแก้ปัญหาให้กับชุมชนพื้นที่เสี่ยงภัย โดยการใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใหม่เช่น การใช้เกมส์และสื่อการสอนเกี่ยวกับภัยพิบัติการมีระบบเตือนภัยที่รวดเร็วการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพการสร้างอาคารที่เหมาะกับพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมซ้ำซาก การปรับกิจกรรมหรือปฏิทินการเพาะปลูกและการผลิตให้เข้ากับสภาพน้ำแล้งหรือน้าท่วมเป็นต้น ล้วนแต่เป็นการคิดค้นวิธีการใหม่ๆเพื่อทำให้ชุมชน ประชาชนเกิดความตระหนักและมีความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติและความเสี่ยง (knowledge & information) ช่วยให้ชุมชนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติได้ดีขึ้น (preparedness) ทำให้ชุมชนมีการปรับตัวอยู่กับภัยพิบัติได้ (adaptation) หรือช่วยให้สามารถฟื้นตัวหลังเกิดภัยพิบัติได้รวดเร็วและดียิ่งขึ้น (resilience) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง รุนแรงเกือบทุกปี ในกรณีภัยพิบัติน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่หลายครั้งคือใน ปี พ.ศ.2521, 2545 ทำให้เกิดการตื่นตัวของทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยน้ำท่วม โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2554 จังหวัดอุบลราชธานีได้เผชิญกับภัยน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในวงกว้างและเป็นระยะเวลานาน แม้จะมีระบบการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมของหน่วยงานด้านการเตือนภัยให้ทราบเป็นระยะ แต่พบว่ามีข้อจำกัดและข้อมูลเหล่านี้เข้าไม่ถึงประชาชนทุกกลุ่มมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาของชุมชน และได้มีการวิจัยและการพัฒนาความรู้ด้านภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2543 และหลังจากภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่จังหวัดอุบลราชธานีปี 2554 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ชุดภัยพิบัติ จำนวน 5 โครงการ ในพื้นที่อำเภอวารินชำราบ ได้แก่ ชุมชนบ้านท่างอย ตำบลบุ่งหวาย ชุมชนบ้านช่างหม้อ ตำบลคำน้ำแซบ ชุมชน 14 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบชุมชนหาดสวนยาเทศบาลเมืองวารินชำราบและชุมชนในเขตอำเภอเมือง ได้แก่ ชุมชนในตำบลทัพไทย ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ซึ่งผลจากการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า หลักการที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำให้การจัดการภัยพิบัติมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายใต้การบริหารจัดการที่ดี ทั้งภาครัฐ (public sector) ภาคธุรกิจเอกชน (private sector) และภาคประชาสังคม (civil society) เรียนรู้จากประสบการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต การจัดทำแผนป้องกันและจัดการบนพื้นฐานข้อมูลของเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมา จากฐานข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทั้งในระดับชุมชนและองค์กรดังกล่าว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยคณะรัฐศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชนในฐานะตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ เนื่องจากการคาดหวังความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและทั่วถึงในขณะเกิดภัยพิบัติ จากภาครัฐหรือหน่วยงานภายนอก เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากยิ่ง จึงได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนด้านการจัดการภัยพิบัติมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ชุมชนและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติในปีพ.ศ.2560 ได้มีการต่อยอดและขยายผลโครงการ โดยสร้างกลไกความร่วมมือ ขยายเครือข่าย และเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการภัยพิบัติให้กับชุมชนในชุมชนประสบภัยน้ำท่วมในเขตอำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอนาเยีย และตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งโครงการดังกล่าวช่วยยกระดับการเตรียมความพร้อมและการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติให้ประชาชนและชุมชน ช่วยให้ชุมชนสามารถเป็นศูนย์กลางในการจัดการและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยตนเอง นอกจากนี้การดำเนินโครงการยังเป็นการสร้างพื้นที่ให้ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติระหว่างชุมชนอีกทางหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการภัยพิบัติให้แก่ประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและในวงกว้างมากขึ้นทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งเชิงวิชาการด้านการจัดการภัยพิบัติและการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนรวมถึงการสนับสนุนให้ชุมชนเพิ่มขีดความสามารถในการลดความเสี่ยง มีการเตรียมความพร้อมและมีการจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงได้ต่อยอดการบริการวิชาการแก่ชุมชนด้านการจัดการภัยพิบัติในปีงบประมาณพ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนค้นหาหรือคิดค้นนวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ และสนับสนุนการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อลดความเสี่ยง เตรียมความพร้อม การรับมือหรือการฟื้นฟูจากภัยพิบัติได้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนับสนุนชุมชนให้ค้นหา คิดค้นนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมทางสังคมด้านการจัดการภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
2.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและเครือข่ายนำนวัตกรรมทางสังคมไปใช้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยง การเตรียมความพร้อม การรับมือและการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ระดับชุมชน ประกอบด้วย แกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ เยาวชนและประชาชนทั่วไป 2. ระดับองค์กร ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านที่ดินและนักวิชาการที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1จัดอบรมเชิงปฏิบัติการค้นหานวัตกรรม 2.จัดเวทีเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ 3.ถอดบทเรียนกลไกการทำงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมกำหนดรูปแบบกิจกรรม และออกแบบเครื่องมือในการค้นหานวัตกรรมชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ -- --- --- --- 0.00
2.จัดเวทีชี้แจงโครงการ และกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างทีมวิชาการ ชุมชนองค์กรปกครองท้องถิ่น และองค์กรภาคีเครือข่ายภายนอก -- --- --- --- 55,100.00
3.จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียน/ค้นหานวัตกรรมชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ --- -- --- --- 75,800.00
4.กิจกรรมเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อจัดทำชุดความรู้นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ ของจังหวัดอุบลราชธานี(บูรณาการกับการเรียนการสอน) --- - -- --- 69,050.00
5.กิจกรรมส่งเสริมการนำนวัตกรรมทางสังคมไปสู่การปฏิบัติในชุมชนพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ (อบรมเชิงปฏิบัติการ) --- --- -- --- 118,100.00
6.ถอดบทเรียนการทำงานของชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ/จัดทำแผนปฏิบัติการการดำเนินเครือข่าย --- --- -- --- 68,500.00
7.เวทีสาธารณะเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมทางสังคมของชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ จังหวัดอุบลราชธานี --- --- -- --- 109,900.00
8.จัดทำรายงานผลโครงการและเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 304 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. จัดเวทีชี้แจงโครงการ และกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างทีมวิชาการ ชุมชนองค์กรปกครองท้องถิ่น และองค วิทยากรภายนอก,ภายใน
19 มกราคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียน/ค้นหานวัตกรรมชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ วิทยากรภายนอก,ภายใน
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00-15.00 น. กิจกรรมเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อจัดทำชุดความรู้นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ ของจังหวั วิทยากรภายนอก
20 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. กิจกรรมส่งเสริมการนำนวัตกรรมทางสังคมไปสู่การปฏิบัติในชุมชนพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ (อบรมเชิงปฏิบัติการ วิทยากรภายนอก,ภายใน
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. ถอดบทเรียนการทำงานของชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ/จัดทำแผนปฏิบัติการการดำเนินเครือข่าย วิทยากรภายนอก,ภายใน
15 มิถุนายน พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. เวทีสาธารณะเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมทางสังคมของชุมชนและเครือข่ายจัดการภัยพิบัติ จังหวัดอุบลราชธานี วิทยากรภายนอก,ภายใน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญของค้นหานวัตกรรมทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของชุมชน 2.ชุมชน/เครือข่ายชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเตรียมรับมือและจัดการภัยพิบัติ 3. ชุมชนมีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการภัยพิบัติระหว่างชุมชน/เครือข่าย
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ได้นวัตกรรมทางสังคมและสิ่งสนับสนุนที่จะช่วยให้ชุมชนสามารถลดความเสี่ยงและมีขีดความสามารถในการจัดการภัยพิบัติชุมชนเพื่อลดความเสียหายและลดผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติเช่นนวัตกรรม 1.ด้านความรู้ เป็นนวัตกรรมทางสังคมที่จะสามารถช่วยให้ชุมชนเกิดความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงและเสริมสร้างความรู้ในการลดความเสี่ยง 2.ด้านการรับมือ นวัตกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างความสามารถของชุมชนในการเตรียมรับมือภัยพิบัติเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 3.ด้านการปรับตัว เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยให้ชุมชนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม 4.ด้านการฟื้นตัว เป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ชุมชนที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติสามารถฟื้นฟูและปรับสภาพชุมชนให้ดีขึ้นกว่าก่อนเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น 5. ได้ชุดความรู้/นวัตกรรมชุมชนเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ6. ข้อมูลบนเว็บไซต์มีความเป็นปัจจุบัน และมีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจำเป็นเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ7.ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างน้อยร้อยละ 70

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวางแผนและการบริหารโครงการส่วนท้องถิ่น
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติและบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่กำหนด • นักศึกษานำข้อมูลจากพื้นที่มาระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา นำมาจัดทำข้อเสนอโครงการที่ตอบสนองปัญหา/พัฒนาชุมชนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือการศึกษาเป็นฐาน • นักศึกษานำข้อมูลมานำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน • รายงานชุดความรู้ด้านนวัตกรรมชุมชนกับการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 67,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 67,500.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
6) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,300.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,700.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,800.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
9,000.00 บาท
6) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 377,750.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 64,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 29,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,250.00 บาท
=
4,500.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
3) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
4) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
5) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 35,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
2) จำนวน 1 คืน x จำนวน 30 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท
3) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 39,750.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
5,600.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
5,600.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
4,550.00 บาท
4) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
8,400.00 บาท
5) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
5,600.00 บาท
6) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 104,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
12,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
10,400.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
18,000.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
16,000.00 บาท
5) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท
6) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
16,000.00 บาท
7) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 75,600.00 บาท )
- จำนวน 6 คัน x จำนวน 7 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
75,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 94,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า
=
20,000.00 บาท
2) ค่าจ้างจัดพิมพ์เอกสารชุดความรู้
=
30,000.00 บาท
3) ค่าเช่าห้องประชุม (2ครั้ง*ครั้งละ7,000บาท)
=
14,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำนิทรรศการ
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 51,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 16,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 16,000 บาท
=
16,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
5 x 1,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) หมึกปริ้นเตอร์
2 x 2,500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 25,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
18,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุในการอบรม (80ชิ้น*ชิ้นละ90บาท)
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 496,450.00 บาท