แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (startup)
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวอรุณี มะฎารัก คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : ฐานข้อมูล การจัดการข้อมูล
หัวหน้าโครงการ
นายอติชน ทองปน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการการเงินมหาบัณฑิต ประสบการณ์
ประสบการณ์ : การสอนในรายวิชา ทักษะการใช้เงินในชีวิตประจำวัน
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ UBON UBI วิทยากร ตลาดหลักทรัพย์ โครงการเงินทองของมีค่า ในเขตภาคอีสาน
ผู้ร่วมโครงการ
นางพรพิพัฒน์ แก้วกล้า คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : หัวหน้า กรรมการ และวิทยากรโครงการบริการวิชาการด้านการตลาดตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : การตลาด การจัดการ
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
จากแนวคิด“ประเทศไทย 4.0” ที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ 1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ผู้ประกอบการใหม่ จำเป็นต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างรอบด้าน เพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน เสริมสร้างความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะประเทศไทย 4.0 จะเป็นกุญแจสำคัญ ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ของโลก โดยทำให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นจากภายใน เพื่อเชื่อมโยงออกไปสู่โลก และที่สำคัญยังเน้นการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาประยุกต์ใช้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน (www.thairat.co.th) ดังนั้นการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ มุ่งให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ด้วยแนวคิดการตลาด 4.0 ซึ่งเป็นแนวโน้มการตลาดยุคใหม่ รวมทั้งการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดทำบัญชีและบริหารต้นทุนสินค้า การวางแผนทางการเงิน และกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ด้วย Social Media ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่ มีความรู้ในการประกอบธุรกิจด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การตลาด การจัดการธุรกิจการบัญชี การเงิน และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
2.เพื่อให้ผู้ประกอบการใหม่ มีสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการอบรมไปพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจของตนเองให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ทายาทธุรกิจ ผู้ประกอบการSME และเกษตรกรรายใหม่ ในจังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
150 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมและวิธีดำเนินการ ชุดโครงการนี้ประกอบด้วยโครงการย่อยทั้งหมด 5 โครงการย่อย ได้แก่ 1. โครงการย่อยที่ 1 เรื่อง กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ 2. โครงการย่อยที่ 2 เรื่อง การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 3. โครงการย่อยที่ 3 เรื่อง การวางแผนทางการเงินและเรียนรู้แนวโน้มทางการเงินรูปแบบใหม่ 4. โครงการย่อยที่ 4 เรื่อง การจัดทำบัญชีอย่างง่ายและบริหารต้นทุนสินค้าเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 5. โครงการย่อยที่ 5 เรื่อง การอบรมคอมพิวเตอร์เชิงปฏิบัติการในหัวข้อ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ด้วยการใช้ Social Media

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแผนงานอบรม --- --- --- 15,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ --- - --- --- 25,000.00
3.รับสมัครผู้ร่วมโครงการ --- - --- --- 20,000.00
4.ดำเนินโครงการ --- -- -- --- 100,000.00
5.สรุปโครงการ --- --- - 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. ศึกษาโอกาสทางการตลาดและเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า อ.ใจแก้ว แถมเงิน และคณะ
25 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ อ.ใจแก้ว แถมเงิน และคณะ
31 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน อ.ศุภกัญญา จันทรุกขาและคณะ
1 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. การวางแผนทางการเงินและเรียนรู้แนวโน้มทางการเงินรูปแบบใหม่ อ.อติชน ทองปน และคณะ
7 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. การจัดทำบัญชีอย่างง่ายเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดร.พรพิพัฒน์ แก้วกล้า และคณะ
8 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. การบริหารต้นทุนสินค้าเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดร.พรพิพัฒน์ แก้วกล้า และคณะ
21 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. การอบรมคอมพิวเตอร์เชิงปฏิบัติการในหัวข้อ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ด้วยการใช้ Social Media อ.อรุณี มะฎารักและคณะ
22 เมษายน พ.ศ. 2561
08.30-16.00น. การอบรมคอมพิวเตอร์เชิงปฏิบัติการ : Social media ด้วยเว็บไซต์ Fanpage Facebook, Instagram, Line Shop อ.อรุณี มะฎารักและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ทายาทธุรกิจ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรรายใหม่ (มีเวลาในการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 80%) 2. ทายาทธุรกิจ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรรายใหม่ มีความรู้ในการประกอบธุรกิจด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การตลาด การจัดการธุรกิจการบัญชี การเงิน และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 3. ทายาทธุรกิจ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรรายใหม่ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการอบรมไปพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจของตนเองให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายทายาทธุรกิจ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรรายใหม่
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ต้นทุนต่อหัว 1,200 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักการตลาด
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / เข้าใจและนำไปใช้ในรายวิชาหลักการตลาด
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 57,520.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 28,720.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 13,600.00 บาท )
1) จำนวน 17 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
13,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 15,120.00 บาท )
1) จำนวน 9 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
15,120.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 78,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,500.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 33,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คน x จำนวน 1100 เดือน x เดือนละ 10.00 บาท
=
33,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 43,580.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 26,080.00 บาท )
1) กระดาษA4
5 x 580 บาท
=
2,900 บาท
2) ซองจดหมาย
10 x 50 บาท
=
500 บาท
3) ซองพลาสติกขยายข้าง
200 x 25 บาท
=
5,000 บาท
4) ปากกา
160 x 10 บาท
=
1,600 บาท
5) ปากกาเคมี
5 x 150 บาท
=
750 บาท
6) กระดาษฟลิปชาร์จ
5 x 250 บาท
=
1,250 บาท
7) ค่าถ่ายเอกสาร
14,080 x 1 บาท
=
14,080 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) ป้ายโฆษณา
5 x 1,400 บาท
=
7,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 10,500.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์ขาวดำ
5 x 900 บาท
=
4,500 บาท
2) หมึกพิมพ์สี
2 x 1,500 บาท
=
3,000 บาท
3) Handy Drive
5 x 300 บาท
=
1,500 บาท
4) แผ่นDVD
5 x 300 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 180,000.00 บาท