แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การสร้างเครื่องออสซิลโลสโคปและชุดปฏิบัติการสำหรับการศึกษาสัญญาณไฟฟ้า
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ฟิสิกส์ประยุกต์
ประสบการณ์ : สอนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ปรีกษาโครงงานพิเศษที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัดทางฟิสิกส์ ออกแบบ สร้างและพัฒนาซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและสื่อการสอน ทางวิทยาศาสตร์ วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษ
ความเชี่ยวชาญ : ไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบสุญญากาศ ออกแบบ สร้างและพัฒนาซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและสื่อการสอน ทางวิทยาศาสตร์ วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษ
หัวหน้าโครงการ
ดร.สมคิด เพ็ญชารี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ฟิสิกส์
ประสบการณ์ : อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : ออกแบบและสร้างเครื่องมือ พลังงานทดแทน เทอร์โมอิเล็กตริก
ผู้ร่วมโครงการ
นายสายชล พิมพ์มงคล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีทางการศึกษา
ประสบการณ์ : -วิทยากรอบรมโครงงานวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ -วิทยากรอบรมครูสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ -วิทยากรอบรมฟิสิกส์โอลิมปิก -วิทยากรอบรมคูปองครู -วิทยากรอบรมสเต็มศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : -ซ่อมและพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ -ออกแบบปรับปรุงและสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
นโยบายการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนการสอนที่ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นการจัดการเรียนการการสอน จึงต้องมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น แต่ยังพบว่ามีปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ หรือสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนขาดความสนใจต่อการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาฟิสิกส์ที่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์การวัดสำหรับการศึกษา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนต่อการบรรลุเป้าหมายในข้างต้น ส่งผลให้การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนนั้นทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีผลิตสื่อ เพื่อช่วยพัฒนาแนวความคิด พัฒนาศักยภาพผู้เรียน สำหรับดึงดูดความสนใจและให้ความสนุกสนานแก่ผู้เรียนได้ ปฏิบัติการศึกษาสัญญาณไฟฟ้าเป็นอีกปฏิบัติการหนึ่งที่พบว่าโรงเรียนบางส่วนยังขาดแคลน ไม่มีเครื่องออลสซิลโลสโคป อุปกรณ์วัด แผงวงจรหรืออุปกรณ์เสริมอื่นที่ช่วยให้สามารถดำเนินการทดลองได้ หรือบางโรงเรียนเองอุปกรณ์ก็ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ คณะผู้ดำเนินงานจึงเล็งเห็นว่าสามารถดำเนินการเพื่อตอบสนองดังกล่าว อีกทั้งยังตอบต่อภารกิจด้านบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมของมหาวิทยาลัยได้ จึงได้เสนอโครงการการสร้างเครื่องออสซิลโลสโคปและชุดปฏิบัติการสำหรับการศึกษาสัญญาณไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้สามารถสร้างอุปกรณ์ชุดอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติการออสซิลโลสโคปและซ่อมแซมเบื้องต้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สามารถนำอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นไปประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเยาวชนให้พร้อมทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอาเซียนและสังคมโลกในลำดับต่อไป

วัตถุประสงค์
1.ครูผู้สอนสามารถสร้างเครื่องออสซิลโลสโคปได้
2.ครูผู้สอนสามารถสร้างชุดอุปกรณ์สำหรับการทดลองด้วยออสซิลโลสโคปได้
3.ครูผู้สอนได้รับเครื่องออสซิลสโคปและชุดปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง โดยเน้นให้ความสำคัญกับโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ 3. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/ซื้อวัสดุฝึกทดลอง 4. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ 5. ประเมินผลโครงการฯ 6. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ/อนุมัติโครงการ - --- --- --- 175,300.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ/รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ - --- --- --- 0.00
3.ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร/จัดซื้อวัสดุและจ้างสร้างชุดฝึกทดลอง - -- --- --- 0.00
4.จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ/ประเมินผลโครงการฯหลังการอบรม --- --- --- 0.00
5.สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561 - 14 มกราคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
12 มกราคม พ.ศ. 2561
8:00-9:00 น. ลงทะเบียน
12 มกราคม พ.ศ. 2561
9:00-12:00 น. การประกอบชุดวงจรเครื่องออสซิลโลสโคป ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ ดร.สมคิด เพ็ญชารี นายสายชล พิมพ์มงคล
12 มกราคม พ.ศ. 2561
12:00-13:00 น. พักกลางวัน
12 มกราคม พ.ศ. 2561
13:00-16:00 น. การประกอบชุดวงจรเครื่องออสซิลโลสโคป (ต่อ) ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ นายสายชล พิมพ์มงคล ดร.สมคิด เพ็ญชารี
13 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00–16.00 น. การสร้างชุดกำเนิดสัญญาณไฟฟ้า ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ ดร.สมคิด เพ็ญชารี นายสายชล พิมพ์มงคล
13 มกราคม พ.ศ. 2561
12.00–13.00 น. พักกลางวัน
13 มกราคม พ.ศ. 2561
9:00-12:00 น. การทดสอบและใช้งานเครื่องออสซิลโลสโคป ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ ดร.สมคิด เพ็ญชารี นายสายชล พิมพ์มงคล
14 มกราคม พ.ศ. 2561
9:00-12:00 น. การทดสอบและใช้งานชุดกำเนิดสัญญาณไฟฟ้า ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ ดร.สมคิด เพ็ญชารี นายสายชล พิมพ์มงคล
14 มกราคม พ.ศ. 2561
12.00–13.00 น. พักกลางวัน
14 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00–16.00 น. การสร้างและใช้งานชุดปฏิบัติการออสซิลโลสโคป ดร.อมร เทศสกุลวงศ์ ดร.สมคิด เพ็ญชารี นายสายชล พิมพ์มงคล

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ช่วยลดงบประมาณของโรงเรียนในการจัดซื้ออุปกรณ์และซ่อมบำรุงเครื่องมือวัดทางฟิสิกส์
ด้านสังคม : 1. เป็นเผยแพร่กิจกรรมกิจกรรมบริการวิชาการด้านการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางฟิสิกส์และ ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษา 2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนวิชาฟิสิกส์มากขึ้น 3. ครูผู้สอนมีความรู้ด้านการสร้างชุดอุปกรณ์การทดลองทางฟิสิกส์เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : 1. ครูผู้สอนมีความรู้ ความสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ครูได้รับอุปกรณ์วัดไปใช้จริงในชั้นเรียน ซึ่งมีราคาถูกกว่าที่มีขายตามท้องตลาดและสามารถซ่อมแซมเบื้องต้นได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วงจรดิจิทัลและลอจิก และปฏิบัติการดิจิทัลและลอจิก
หลักสูตร ฟิสิกส์อุตสาหกรรม
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาสามารถประยุกต์นำความรู้ที่เรียนมาเพื่อถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรผู้ช่วยในการอบรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 32,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 32,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 32,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
32,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 6,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 150,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) หมึกพริ้น
4 x 1,100 บาท
=
4,400 บาท
2) กระดาษเอสี่
4 x 100 บาท
=
400 บาท
3) กระดาศพิมพ์ใบประกาศ
1 x 200 บาท
=
200 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท
2) ป้ายไวนิล
1 x 1,200 บาท
=
1,200 บาท
3) ค่าแสตมป์ไปรษณีย์
40 x 20 บาท
=
800 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถ
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 140,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุฝึก (40x3,500)
=
140,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 188,400.00 บาท