แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การเตรียมความพร้อมการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น (Urban resilience to climate change)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวกิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การเมืองภาคประชาชน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเร่งอัตราการเติบโตของประเทศ จะทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมด้านภาวการณ์ลงทุน หรือ การส่งเสริมสินค้าเกษตรพาณิชย์เท่านั้น การพัฒนาเมืองและการสร้างความเป็นเมืองให้เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่เป้าหมายทางเศรษฐกิจและการลงทุน นับเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และการลงทุนภายใต้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) ที่ลบเส้นกั้นชายแดนเขตแดนการลงทุน ยิ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองเดิมและการสร้างเมืองใหม่ที่ตอบสนองต่อการลงทุนแบบข้ามพรมแดน แม้ว่าการกลายเป็นเมือง (Urbanization) จะนำไปสู่การเติบโตของภาวการณ์ลงทุนซึ่งเป็นผลกระทบด้านบวกแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งของกระบวนการดังกล่าวคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในรูปของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดิน การสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าชุมชน ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และการเกิดมลภาวะต่างๆ เช่น การเกิดน้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ขยะล้นเมือง เป็นต้น สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้เมืองซึ่งเป็นที่อยู่ของคนจำนวนมากตกอยู่ในสภาวะของความเสี่ยง ผู้คน ชุมชนและตัวของเมืองเองต้องประสบกับปัญหาความเปราะบาง (Vulnerability) อันเป็นสภาวะที่เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงของความเป็นเมือง เกิดเป็นสภาวะของความเสี่ยงและแรงกดดันที่ทำให้ภาคเมืองไม่สามารถมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะดำเนินการให้พ้นจากสภาวะนั้นหรือการบริหารจัดการให้ตนเองพ้นจากสภาพวะความเสียงเหล่านั้นได้ กลุ่มคนผู้อยู่อาศัยในเมืองหลากหลายกลุ่มตกอยู่ในสภาวะของ กลุ่มคนที่เปราะบาง เช่น คนยากจน คนที่ไร้ซึ่งทรัพยากรสำหรับการจัดการความเสี่ยงของการเป็นเมือง รวมไปจนถึง กลุ่มคนเมือง และคนรวยที่ตกอยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงมากจนไม่สามารถจัดการได้ เป็นต้น สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ความเปราะบางของเมืองและกลุ่มคนในเมือง ดูจะรุนแรงมากขึ้นในสถานการณ์ที่ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงอย่างขนาดใหญ่ (Climate Change) ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา ล้วนส่งให้ให้เมืองอุบลราชธานีต้องเผชิญปัญหาและความเสี่ยงที่การพัฒนาเมืองก่อให้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงทุกปี เช่น พื้นที่ของภัยพิบัติน้ำท่วมในเขตเมืองขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่ที่ไม่เคยประสบปัญหามาก่อน เช่น ตำบลไร่น้อย ตำบลเมือง ตำบลแจระแม ฯลฯ ซึ่งเดิมเป็นเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท จนถึง ชนบท ต้องประสบปัญหาภัยน้ำท่วมอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน หรือ ในพื้นที่เมืองเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมที่มีระยะเวลานานยิ่งขึ้น อันเนื่องจากการขาดซึ่งพื้นที่รับน้ำ การเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ การกัดเซาะตลิ่งของริมน้ำมูล ทำให้รูปแบบการท่วมของน้ำเปลี่ยนแปลงไป สภาวะอากาศที่โลกร้อนขึ้นในทุกปี ปัญหาภัยแล้ว การขาดแคลนน้ำสำหรับการผลิตและการบริโภค เกิดขึ้นถี่ขึ้น ผนวกกับการพัฒนาเมืองที่ขาดการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังส่งผลให้สภาพความเลวร้ายของมลพิษและมลภาวะรุนแรงขึ้น ปัญหาน้ำเสียขยายพื้นที่มากขึ้น ปัญหามลภาวะในเมือง อากาศเป็นพิษเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าในอนาคตภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาของเมืองอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น การส่งเสริมการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Urban Resilience to Climate Change) จึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ได้รับความสนใจจากนักพัฒนา นักเคลื่อนไหว และนักนโยบายในปัจจัย เพราะเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมของเมืองและผู้คนในเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการค้นหาความเปราะบางของเมือง กลุ่มคนที่มีความเปราะบางในเมือง และสรรหาวิธีการไม่ว่าจะทางโครงสร้างพื้นฐาน สังคม เศรษฐกิจ เพื่อรับมือ สร้างความยืดหยุ่น หรือ ปรับตัวต่อความเสี่ยงทีจะเกิดขึ้น ดังเช่น การเคลื่อนไหวของผู้คนในจังหวัดหาดใหญ่ต่อการส่งเสริมการรับมือของเมืองต่อปัญหาน้ำท่วม และการตั้งรับของเมืองต่อปัญหาหมอกควันของจังหวัดเชียงราย เป็นต้น ดังนั้น การนำความรู้และเครื่องมือทางวิชาการ ไม่ว่าจะเครื่องมือในการสำรวจความเปราะบาง เครื่องมือทางนโยบายสำหรับการแก้ปัญหา เครื่องมือการพัฒนาที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและอีกหลายๆ เครื่องมือในหลายๆ ศาสตร์ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปสู่การสร้างและการเตรียมความพร้อมของเมือง (โดยเฉพาะประเด็น พื้นที่และกลุ่มคนที่เปราะบาง) ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้เมืองของจังหวัดอุบลราชธานีมีขีดความสามารถที่จะปรับตัว มีความพร้อมและสามารถลดทอนผลกระทบในรูปแบบต่างๆ ที่มีสาเหตุอันเนื่องจากทั้งการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญการเตรียมพร้อมที่มีประสิทธิภาพยังสามารถเป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชา กับภาคส่วนอื่นๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสำรวจความเปราะบางของเมืองอุบลราชธานีจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2.เพื่อจัดทำแผนการรับมือของเมืองอุบลราชธานีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ระดับชุมชน ประกอบด้วย แกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน เยาวชนและประชาชนทั่วไป 2. ระดับองค์กร ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง และนักวิชาการที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การจัดเวทีระดมความคิดเห็น 3. การจัดเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมชี้แจงโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ และการสร้างเครือข่ายการดำเนินการร่วมกัน - --- --- --- 55,100.00
2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการสำรวจความเปราะบางของชุมชนเมือง จังหวัดอุบลราชธานี -- --- --- --- 75,800.00
3.เวทีคืนข้อมูลสู่สาธารณะ --- - --- --- 118,100.00
4.การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ --- --- - --- 137,550.00
5.เวทีสาธารณะนำเสนอแผนการรับมือของเมืองอุบลราชธานีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ --- --- -- --- 109,900.00
6.จัดทำรายงานผลโครงการและเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 304 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 ตุลาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. ประชุมชี้แจงโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ และการสร้างเครือข่ายการดำเนินการร่วมกัน วิทยากรภายนอก,ภายใน
14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
09.00-16.30 น. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการสำรวจความเปราะบางของชุมชนเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วิทยากรภายนอก,ภายใน
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. เวทีคืนข้อมูลสู่สาธารณะ วิทยากรภายนอก,ภายใน
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิทยากรภายนอก,ภายใน
20 มิถุนายน พ.ศ. 2561
09.00-16.30 น. เวทีสาธารณะนำเสนอแผนการรับมือของเมืองอุบลราชธานีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิทยากรภายนอก,ภายใน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1 ได้กลไกขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการที่ดิน (ได้แผนการทำงานร่วมกัน มีผู้ประสานงานในชุมชน ระหว่างชุมชน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงาน ) 2. ได้แนวทางการประสานความร่วมมือ
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1วิชาการเมืองกับสิ่งแวดล้อม 2.วิชานโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม 3.การบริหารจัดการเมือง 4. วิชาการเมืองเรื่องการพัฒนา
หลักสูตร รัฐศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเปราะบางของเมืองที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ • นักศึกษาในรายวิชาดังกล่าวมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่กำหนด • นักศึกษานำข้อมูลจากพื้นที่มาระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา นำมาจัดทำข้อเสนอโครงการที่ตอบสนองปัญหา/พัฒนาชุมชนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือการศึกษาเป็นฐาน • นักศึกษานำข้อมูลมานำเสนอแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน • รายงานชุดความรู้/ประสบการณ์เกี่ยวกับการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 67,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 67,500.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
6) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,300.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,700.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,800.00 บาท
5) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
9,000.00 บาท
6) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 377,750.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 64,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 29,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,250.00 บาท
=
4,500.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
3) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
4) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
5) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 3,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 35,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
2) จำนวน 1 คืน x จำนวน 30 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท
3) จำนวน 1 คืน x จำนวน 1 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 39,750.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
5,600.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
5,600.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
4,550.00 บาท
4) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
5,600.00 บาท
5) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
8,400.00 บาท
6) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 104,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
12,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
10,400.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
18,000.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
16,000.00 บาท
5) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท
6) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
16,000.00 บาท
7) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 200.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 75,600.00 บาท )
- จำนวน 6 คัน x จำนวน 7 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
75,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 94,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถตู้เช่า
=
20,000.00 บาท
2) ค่าจ้างจัดพิมพ์เอกสารชุดความรู้
=
30,000.00 บาท
3) ค่าเช่าห้องประชุม (2ครั้ง*ครั้งละ7,000บาท)
=
14,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำนิทรรศการ
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 51,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 16,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 16,000 บาท
=
16,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
5 x 1,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) หมึกปริ้นเตอร์
2 x 2,500 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 25,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
18,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุในการอบรม (80ชิ้น*ชิ้นละ90บาท)
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 496,450.00 บาท