แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ สาธิตการผลิตและใช้งานไบโอดีเซลชุมชนจากนำ้มันพืชใช้แล้วและน้ำมันปาล์มด้วยระบบไฮโดรไดนามิกส์คาวิเทชั่น
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ : วิศวกรรมยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน พลังงานทดแทน เชื้อเพลิงชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์
ความเชี่ยวชาญ : วิศวกรรมยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน พลังงานทดแทน เชื้อเพลิงชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์
หัวหน้าโครงการ
นายวิระพันธ์ สีหานาม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เครื่องกล
ประสบการณ์ : เป็นอาจารญ์ ในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมาเป็นเวลา 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : - ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ - พลังงานทดแทน - อนุรักษ์พลังงาน
ผู้ร่วมโครงการ
รศ.ดร.กุลเชษฐ์ เพียรทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เครื่องกล
ประสบการณ์ : - เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยมามากกว่า 20 ปี
ความเชี่ยวชาญ : - ด้านพลังงงานทดแทน - ด้านการอนุรักษ์พลังงาน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : - วิศวกรรมการชน (Impact Engineering, Crashworthiness) - กลศาสตร์ประยุกต์ และ การออกแบบเครื่องจักรกล (Applied Mechanics and Machine Design) - การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cell)
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวทรงสุภา พุ่มชุมพล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ : ดูแลและจัดการด้านอนุรักษ์พลังงาน
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการผลิตไบโอดีเซลชุมชนโดยทั่วไปยังเป็นแบบดั้งเดิมคือแบบปั่นผสมซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ พลังงานสูง ใช้เวลาในการผลิตมาก ให้คุณภาพไบโอดีเซลต่ำ รวมทั้งยังเป็นการผลิตแบบกะ (Bath) ทางภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไบโอดีเซลแบบไฮโดรไดนามิคคาวิเทชั่นขึ้นโดยได้ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ) ในปีงบประมาณ 2556 และ 2558 โดยผลการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานในการผลิตไบโอดีเซล 1 กิโลกรัม ของแต่ละวิธีพบว่า การใช้พลังงานของถังปฏิกรณ์แบบไฮโดรไดนามิคคาวิเทชั่นชนิดโรเตอร์มีค่าการใช้พลังงาน 20.85 W-h/kg ถังปฏิกรณ์แบบไฮโดรไดนามิคคาวิเทชั่นชนิดแผ่นขอบคมหลายชั้น 37.25 W-h/kg ขณะที่วิธีปั่นผสมแบบดั้งเดิมใช้พลังงานสูงถึง 500 W-h/kg ดังนั้นทาง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลังอุบลราชธานี ซึงมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตไบโอดีเซล จึงมีเป้าหมายที่จะจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนี้ รวมทั้งการสาธิตการใช้ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ทางการเกษตรขององค์กรให้กับ วิศวกร นายช่างเทคนิค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการผลิตไบโอดีเซลแบบไฮโดรไดนามิกส์คาวิเทชั่น รวมทั้งการสาธิตการใช้ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ทางการเกษตรขององค์กร ให้กับวิศวกร นายช่างเทคนิค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง
2.เพื่อสาธิตและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
วิศวกร นายช่างเทคนิค องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่อยู่ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 3. จัดซื้อวัสดุ/เตรียมอุปกรณ์ 4. ผลิตและใช้งานไบโอดีเซล 5. รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ 6. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร 7. จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ 8. ประเมินผลโครงการฯ 9. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ -- --- --- --- 0.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ - -- --- --- 0.00
3.จัดซื้อวัสดุ/เตรียมอุปกรณ์ - --- 150,000.00
4.ผลิตและใช้งานไบโอดีเซล - - 0.00
5.รับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ --- --- --- 0.00
6.6. ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร --- --- --- 0.00
7.จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ --- --- -- --- 49,000.00
8.ประเมินผลโครงการฯ --- --- - --- 0.00
9. สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ --- --- - --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 335 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30–09.00 น. ลงทะเบียน
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-10.30 น. พื้นฐานด้านไบโอดีเซล ผศ.ดร.ประชาสันติไตรยสุทธิ์
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
10.45–12.00 น. สาธิตการผลิตไบโอดีเซลในระดับห้องปฎิบัติการ ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ และคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
12.00–13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
13.00–14.30 น. แยกกลุ่มปฏิบัติการผลิตไบโอดีเซลในระดับห้องปฎิบัติการ ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ และคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.30–14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.45–16.00 น. ดูงานการผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องด้วยระบบไฮโดรไดนามิกส์แบบต่อเนื่องที่โรงงานผลิตไบโอดีเซล ณ ภาควิชาว ผศ.ดร.ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -ประชาชนหรือผู้ประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ด้านสังคม : -ผู้ผ่านการอบรมสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ไปให้คำแนะนำปรึกษา เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจการผลิตและการใช้งานไบโอดีเซล
ด้านสิ่งแวดล้อม : -เป็นการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ช่วยผลกระด้านสุภาพกรณีที่นำมาบริโภค และสิ่งแวดล้อมกรณีทิ้งลงคลองระบายน้ำ
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1301438 พลังงานทดแทน
หลักสูตร วิศวกรรมสาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
นักศึกษาชั้นปี : 3,4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา ร้อยละ 90
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาทำหน้าเป็นผู้ช่วยวิทยากร
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีนักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิยากรร้อยละ 20

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,040.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 12,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 11,440.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 16 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
6,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 66,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 6 เดือน x เดือนละ 8,000.00 บาท
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,500.00 บาท )
1) ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม
=
1,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน ถ่ายเอกสาร พร้อมเข้าเล่ม
=
5,500.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำสื่อประชาสัมพันธ์ ไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์
=
3,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 108,460.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,100.00 บาท )
1) ซองใส่เอกสาร
40 x 20 บาท
=
800 บาท
2) ปากกา
60 x 5 บาท
=
300 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 107,360.00 บาท )
1) อุปกรณ์ในการผลิตไปโอดีเซลในระดับห้องปฎิบัติการ 1 ชุด
=
7,360.00 บาท
2) สารเคมีและน้ำมันพืชใช้แล้วที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล จำนวน 4,000 ลิตร
=
100,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 199,000.00 บาท