แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปีที่ 7
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนตามแนวพระราชดำริฯ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
หัวหน้าโครงการ
ดร.ทินน์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การใช้เครื่องหมายโมเลกุลกับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตและการปรับปรุงพันธุ์พืช
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นิมมานรดี พรหมทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D. in Horticulture
ประสบการณ์ : การปรับปรุงพันธุ์ส้ม
ความเชี่ยวชาญ : การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล สรีรวิทยาไม้ผล การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสวน
ผู้ร่วมโครงการ
นายบุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ระบบชลประทาน
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ระบบชลประทาน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและ จิตใจตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุด อันจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก แต่ที่ผ่านมานั้นพบว่า นักเรียนจำนวนมากยังขาดอาหารกลางวัน หรือได้รับอาหารที่มีคุณค่าต่ำ ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จึงเริ่มโครงการอาหารกลางวันในปี 2525 และได้ร่วมเฉลิมฉลองภายใต้คำขวัญ “ฉลอง 60 พรรษามหาราชา เด็กประถมศึกษาไม่หิวโหย” โครงการอาหารกลางวัน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียนทุกคนในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาที่อยู่ในสถานศึกษาของทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาในระดับดังกล่าวทั่วประเทศทั้งหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการและในสังกัดอื่น ซึ่งได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรมการศาสนา กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมการปกครอง กรุงเทพมหานคร และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียน มีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการรับประทานทุกวันตลอดปีการศึกษาอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับสุขภาพของนักเรียน โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จัดตั้งขึ้นโดยมุ่งเน้นให้ครูผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันทำการเกษตรในโรงเรียน แล้วนำผลผลิตที่ได้มาประกอบเป็นอาหารกลางวันโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงิน สิ่งของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตรและอุปกรณ์การประกอบอาหารให้แก่โรงเรียน โครงการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวัน แล้วยังทำให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ที่นำ ไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป โรงเรียน ตชด. เป็นโรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีที่ตั้งกระจายอยู่ตามแนวชายแดน พื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลการคมนาคมทั่วทุกภาคของประเทศ ปรัชญาของโรงเรียนคือ " สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สัมฤทธิ์ผลความมั่นคง " จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันมีโรงเรียนทั้งสิ้น 713 โรงเรียน บางส่วนยุบเลิกไปเนื่องจากประชาชนย้ายถิ่นฐาน และพื้นที่มีความเจริญเข้าถึง บางส่วนมอบโอนให้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ครูของโรงเรียน ตชด. เป็นตำรวจตระเวนชายแดน ไม่ได้มีความรู้วิชาครูมาก่อน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางการสอนให้แก่ครู ตชด. ทั้งการศึกษาระยะยาวเพื่อเพิ่มคุณวุฒิทางการศึกษา และการฝึกอบรมระยะสั้นด้านเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยความพยายามและความมุ่งมั่นของตำรวจตระเวนชายแดน ทำให้ชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคมจำนวนมาก สามารถอ่านออก เขียนได้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับกิจกรรมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการช่วยเหลือโรงเรียนประถมและมัธยมในท้องถิ่นเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคแห่งหนึ่ง มีคณะวิชาค่อนข้างครบถ้วนเหมาะสมที่จะทำงานพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่น ควรไปสำรวจโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สอบถามบุคลากรภายในว่าต้องการอะไรมีหลายอย่างที่ทำได้ เช่น การศึกษา ช่วยพัฒนาครู จัดการอบรม งานเกษตร ในโรงเรียนที่ทำอยู่แล้วขาดแคลนเรื่องอะไร เช่น ดิน น้ำ พันธุ์พืช เทคนิคการขยายพันธุ์พืช งานแปรรูปพืชผลการเกษตรเมื่อทำแล้วค่อยขยายผลสู่ท้องถิ่นต่อไป ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ที่จัดการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนตระเวนชายแดน มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูก ใช้ในการปรุงอาหารให้กับนักเรียน เป็นการสร้างทักษะในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนองข้อเสนอแนะของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในการช่วยเหลือโรงเรียนประถมและมัธยมในท้องถิ่น เมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2552 ในงานพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนให้ได้ผลผลิตอย่างพอเพียง สามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียนบริโภคอย่างสม่ำเสมอ ตลอดปีการศึกษา และขยายผล ด้านการผลิตทางการเกษตรสู่ครอบครัวของนักเรียนและชุมชน ทั้งพันธุ์พืช องค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่ชุมชน การถนอมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร นำมาซึ่งความมั่นคงด้านอาหารในโรงเรียน ครัวเรือน และชุมชน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ปีที่ 1-2 (พ.ศ.2561-2562) ครู นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดจังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศาสตราจารย์เนวิน สคริมชอว์ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 ภาคทฤษฎี บรรยายในห้องโดยใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ 1.2 ภาคปฏิบัติ สาธิตและให้ปฏิบัติในแปลงปลูกของโรงเรียน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม กลุ่มละ 1 ท่าน 2.การดำเนินโครงการ 2.1ประสานงานกับหน่วยงานราชการในท้องถิ่น เพื่อบูรณาการกิจกรรม 2.2อบรม สาธิต ฝึกปฏิบัติ สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง 2.3ติดตามให้คำแนะนำ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.ประสานงาน วางแผนงานร่วมกับโรงเรียน ดำเนินการจัดฝึกอบรม - --- --- --- 45,000.00
2.จัดหา จัดเตรียม วัสดุการเกษตร พันธุ์พืช ในการอบรม รอบที่ 2 --- -- --- --- 25,000.00
3.ดำเนินการฝึกอบรม --- --- -- --- 50,000.00
4.ติดตามผลการฝึกอบรม สรุปผลการฝึกอบรม --- --- --- 25,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 334 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
09.00-10.00 น. บรรยาย การปลูกผักในวัสดุทดแทนดิน(substrate culture) นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเตรียมวัสดุ ในการปลูกผักในวัสดุทดแทนดิน ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13.00-14.00 น. บรรยาย การเพาะกล้าผัก การย้ายกล้าผัก ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
14.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ เตรียมโต๊ะปลูกผัก การย้ายกล้าผักลงในวัสดุปลูก ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
14.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ การวางระบบ การให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ การดูแลรักษาแปลงปลูกผัก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13.00-14.00 น. บรรยายการปลูกผักในโรงเรือน การให้ปุุ๋ยไปกับระบบน้ำ (Fertigation) นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
09.00-10.00 น. บรรยายการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย
14 มิถุนายน พ.ศ. 2561
14.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ การปลูกไผ่ การปลูกกล้วย นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
14 มิถุนายน พ.ศ. 2561
13.00-14.00 น. บรรยาย การปลูกไผ่ การปลูกกล้วย นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
14 มิถุนายน พ.ศ. 2561
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเตรียมแปลง การทำค้างในปลูกผักพื้นบ้าน ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
14 มิถุนายน พ.ศ. 2561
09.00-10.00 น. บรรยาย การปลูกผักพื้นบ้าน ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
09.00-10.00 น. บรรยาย การขยายพันธุ์พืช ดร.ทินน์ พรหมโชติ
28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การขยายพันธุ์พืช ดร.ทินน์ พรหมโชติ และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
13.00-14.00 น. บรรยายการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
14.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และดร.ทินน์ พรหมโชติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : สามารถนำผลผลิตจากโครงการไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน และนำเงินที่ ได้มาแบ่งปันให้กับผู้ทำกิจกรรม และนำไปซื้อปัจจัยการผลิตมาลงทุนต่อไป ลดรายจ่ายโดยการปลูกผักไว้ทานเอง
ด้านสังคม : กลุ่มเป้าหมาย สามารถขยายพันธุ์เตรียมพันธุ์พืช มาแบ่งปันกันในชุมชน และเลือกชนิดผักที่ปลูกได้เหมาะสมตามฤดูกาลตามสภาพพื้นที่ นำผลผลิตที่ได้มาแบ่งปันกันในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้เข้าอบรม สามารถเรียนรู้ถึงประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นและนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก เห็นความสำคัญของผักพื้นบ้าน สามารถคัดเลือกพันธุ์ นำมาปลูกและอนุรักษ์พันธุ์พืชไว้ได้
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
สามารถใช้งบประมาณตามแผนงานที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา หลักการไม้ผล
หลักสูตร ปริญญาตรี
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 70 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่ม/สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 27,510.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 24,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
19,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,510.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,350.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
1,350.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 59,760.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 10,760.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 2,500.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 5,760.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
5,760.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
16,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 15,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน
=
4,000.00 บาท
2) ค่าเอกสารประกอบการอบรม
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 57,730.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) วัสดุเครื่องเขียน
50 x 40 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ป้ายประชาสัมพันธ์ ไวนิล
4 x 250 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) อุปกรณ์เก็บข้อมูล
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,230.00 บาท )
1) น้ำมันดีเซล
41 x 30 บาท
=
1,230 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 51,000.00 บาท )
1) วัสดุฝึกอบรม
=
25,000.00 บาท
2) วัสดุฝึกอบรม วัสดุทำชั้นปลูกพืช
=
10,000.00 บาท
3) วัสดุฝึกอบรม ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
=
16,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 145,000.00 บาท