แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพแก่ประชาชน และฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทย
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพ โดยให้บริการตอบคำถามและเผยแพร่ข้อมูลด้านยาและสุขภาพแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ในการสืบค้นข้อมูลเรื่องยาและสุขภาพ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางธีราพร ชนะกิจ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เภสัชศาสตร์
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : เภสัชกรรมคลินิก (clinical pharmacy) เภสัชสนเทศ (drug information services) เภสัชศาตรศึกษา (pharmacy education)
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว เช่น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้รวดเร็วมากขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลต่างๆ นั้น มักมีการโฆษณาชวนเชื่อของผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เช่น ยา เครื่องสำอาง และสมุนไพรจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ มีหลากหลายช่องทาง ทำให้เป็นการยากที่จะตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ประชาชนบางส่วนอาจหลงเชื่อซื้อหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้โดยไม่ทราบข้อควรระวัง จนบางครั้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ความสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องด้านยา สมุนไพร และอาหาร ให้กับประชาชนเพื่อใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่มีความถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้ ทางคณะ ฯ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ ในการ เผยแพร่สื่อความรู้ต่างๆ ซึ่งจะถูกเรียบเรียง วิเคราะห์จากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของคณะฯ เพื่อให้ประชาชนได้มีข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น โรค ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ถูกต้อง ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ประชาชนได้รับหรือต้องใช้ดังกล่าว เพื่อประชาชนจะได้สามารถใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย เพื่อส่งผลให้การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ สามารถใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงเป็นข้อมูลให้ประชาชนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบในการรตัดสินใจเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่าง ปลอดภัย นอกจากการให้บริการความรู้เรื่องยาและสุขภาพ เช่น การจัดทำสื่อความรู้ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เผยแพร่ให้แก่ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพดังกล่าว จะให้บริการฐานข้อมูลสำหรับการพิสูจน์เอกลักษยาที่ผลิตในประเทศไทยรวมทั้งยาต้นแบบ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวยังมีอยู่น้อยและเข้าถึงได้ยาก และการจำแนกชนิดเม็ดยายังคงกระทำได้ยากเนื่องจากยาเม็ดหรือแคปซูลบางหลายชนิดมีความใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นถ้าไม่มีฉลากระบุชื่อยาและชนิดยาแล้ว จะต้องอาศัยประสบการณ์และความจำของเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญในการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเพื่อระบุว่ายาดังกล่าวเป็นยาชนิดใด อย่างไรก็ตามอาจทำให้อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาได้ง่าย ดังนั้นศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพ จึงต้องการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์สำหรับรูปแบบยาเม็ดและแคปซูลที่ผู้ใช้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์จากการใช้คำสำคัญค้นหาจากหมวดต่าง ๆ อันได้แก่ ชื่อการค้า ชื่อสามัญทางยา รูปแบบผลิตภัณฑ์ รูปร่างลักษณะ สัญลักษณ์หรือตัวอักษรบนยาเม็ดหรือแคปซูล สี ขนาดของยาเม็ดและยาแคปซูล บริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้จำหน่าย นอกจากนี้ยังสามารถแสดงข้อมูลคุณลักษณะยา (Drug monograph) ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สำหรับการช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของยาเม็ดและแคปซูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว สามารถนำไปประยุกต์ในการจ่ายยาซึ่งจะช่วยตรวจสอบการใช้ยาได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนทางด้านเภสัชศาสตร์ได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพีอพัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพ ในการให้บริการตอบคำถามและเผยแพร่ข้อมูลด้านยาและสุขภาพแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ในการสืบค้นข้อมูลเรื่องยาและอื่น ๆ รวมทั้งการพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับสืบค้นข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพ
2.เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับสืบค้นข้อมูลการพิสูจน์เอกลักษณ์ยาเม็ดและยาแคปซูลในประเทศไทย
3.เพื่อเป็นแหล่งบริการวิชาการ และเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านยาและสุขภาพแก่ประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนทั่วไปที่ขอรับบริการข้อมูลยาและสุขภาพ โดยดูจากจำนวนครั้งที่ประชาชนเข้ามาสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลและการโทรศัพท์สอบถาม
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1000 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
-ไม่มีข้อมูล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ธันวาคม พ.ศ. 2560
พย-ธค 2560 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพ -จัดหาและปรับปรุงสถานที่เพื่อจัดตั้งศูนย์ให้บร นางธีราพร ชนะกิจ
1 มกราคม พ.ศ. 2561
มค-มิย 2561 กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์และเปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลยาผ่านทางเว็บไซต์ และผ่านทางหน่วยเภสัช นางธีราพร ชนะกิจ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
มิย 2561 กิจกรรมที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงาน นางธีราพร ชนะกิจ
1 สิงหาคม พ.ศ. 2561
สค-กย 2561 กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน นางธีราพร ชนะกิจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1.ประชาชนได้มีข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น โรค ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ถูกต้อง ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ประชาชนได้รับหรือต้องใช้ดังกล่าว เพื่อประชาชนจะได้สามารถใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย เพื่อส่งผลให้การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ สามารถใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงเป็นข้อมูลให้ประชาชนได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบในการรตัดสินใจเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่าง ปลอดภัย 2.ได้เพิ่มจำนวนศูนย์ให้บริการข้อมูลยาและสุขภาพ ที่สามารถให้บริการตอบคำถามด้านยาและสุขภาพแก่ประชาชน ในเขตภาคอีสานตอนล่าง
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
1000
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
70
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
60
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ประชาชนได้มีความรู้และสามารถเลือกใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งมีความคุ้มค่าอย่างมาก

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา บริการเภสัชสนเทศ
หลักสูตร เภสัชศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีการเรียนการสอนในหัวข้อ รายวิชาการให้บริการเภสัชสนเทศ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด มีการให้บริการตอบคำถามด้านยาและสุขภาพโดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีการทำโครงการเพื่อพัฒนาการให้บริการวิชาการจากการทบทวนแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 57,300.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 4,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 100.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 22,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 30 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
22,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ (400 แผ่น x 50 บาท)จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 20,000.00 บาท/ชม.
=
20,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสาร (100 ชุด x 100 บาท)จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 10,000.00 บาท/ชม.
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 90,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 80,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
80,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสาร (100 ชุด x 100 บาท)
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 33,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ (400 แผ่น x 50 บาท)
400 x 50 บาท
=
20,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 13,500.00 บาท )
1) External hard drive 2TB
3 x 4,500 บาท
=
13,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 180,800.00 บาท