แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางนิตยา ชาคำรุณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : – Environmental management – Environmental and Health Impact Assessment (Air pollution and Noise) – Air quality modeling and Emission Inventory – Air quality monitoring and management – Air and Noise pollution control – Greenhouse gas management
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปวีณา ลิมปิทีปราการ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการมูลฝอยอันตราย การหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ในครัวเรือน การจัดการขยะนาโนเทคโนโลยี
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในท้องถิ่น การให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจการต่างๆ ของชุมชนซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตอีสานใต้และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนทุกภาคส่วน ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีโรงเรียนในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 24 โรงเรียน (สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2557) การพัฒนาการเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษาให้เกิดความมั่นคงในโรงเรียนเครือข่าย เป็นอีกบทบาทหน้าที่หนึ่งที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีหน้าที่รับ ผิดชอบ ดังนั้นการบริหารจัดการพื้นฐานในด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจึงเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่จะสามารถ พัฒนาการเสริมสร้างทางการศึกษาและการเรียนรู้ของโรงเรียน เครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ โรงเรียนถือเป็นบ้านหลังที่สองของเด็กนักเรียนที่มักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เด็กในวัยนี้ยังอยู่ในวัยซุกซน ชอบเล่น ชอบ สนุกสนาน และหากสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไม่ปลอดภัยแล้ว จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ซึ่ง การป้องกันอุบัติเหตุที่มักเกิดในโรงเรียนนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ที่ต้องให้ความ สำคัญในการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตราย หมั่นตรวจสอบสภาพวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของเครื่องใช้ภายในโรงเรียน หากมีการชำรุดต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับเด็กนักเรียนเช่นเครื่อง เล่นเด็กล้มทับเด็กเสียชีวิต เด็กถูกตู้ทำน้ำเย็นไฟฟ้าดูด เป็นต้น รวมถึงเด็กนักเรียนจะต้องรู้จักการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจาก อันตรายต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ให้กับสถานที่ที่เป็นที่อบรมสั่งสอนให้เด็กเป็นคนดีและเติบโตเป็นกำลังทรัพยากรสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต (กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย, 2552) ดังนั้นวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขจึงเห็นความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยจึงได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทุกปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 - 2560 จากการดำเนินกิจกรรมในโครงการบริการวิชาการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปีที่ 3 นั้น พบว่าการดำเนินกิจกรรมสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ คือเพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ในด้านความปลอดภัย ด้านจัดการขยะ ด้านอาหารปลอดภัย และด้านโรงเรียนน่าอยู่น่าเรียน เพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากในการดำเนินงานโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันแต่ละโรงเรียนเป็นโรงเรียนต้นแบบ 4 ด้าน ชื่อโรงเรียน ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 วัดบ้านค้อหวาง การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ) สุขาภิบาลอาหาร ห้องเรียนปลอดภัย สนามเด็กเล่นปลอดภัย บ้านแฮหนามแท่ง สุขาภิบาลอาหาร ห้องเรียนปลอดภัย สนามเด็กเล่นปลอดภัย การจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน บ้านคำขวาง การจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ) การจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ห้องเรียนปลอดภัย บ้านธาตุ ห้องเรียนปลอดภัย สนามเด็กเล่นปลอดภัย สุขาภิบาลอาหาร การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ) บ้านกุดระงุม สนามเด็กเล่นปลอดภัย การจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การจัดการขยะ (ธนาคารขยะ) สุขาภิบาลอาหาร ซึ่งในปี 2561 การดำเนินการโครงการนั้นใช้กระบวนการและกิจกรรมทำให้เกิดการมีส่วนร่วมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ได้แก่ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ครู บุคลากร และนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข และเป็นการพัฒนาต่อยอดจากผลการทำโครงการบริการวิชาการการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี 2560 เพื่อพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้เป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้ครบทั้ง 5 ด้าน อย่างสมบูรณ์ได้แก่ ด้านอาหารปลอดภัย ด้านห้องเรียนปลอดภัย ด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย ด้านการจัดการขยะ และด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งเมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จครบทั้ง 5 ด้านแล้ว โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการก็สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ และสามารถให้โรงเรียนอื่นๆได้ เข้ามาศึกษาเรียนรู้ต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการ
2.2. พัฒนาการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการให้ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาหารปลอดภัย ด้านห้องเรียนปลอดภัย ด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย ด้านการจัดการขยะ และด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการ 6 โรงเรียน จำนวน 70 คน ได้แก่ โรงเรียนบ้านแฮหนามแท่ง โรงเรียนบ้านธาตุ โรงเรียนวัดบ้านค้อหวาง โรงเรียนบ้านกุดระงุม โรงเรียนบ้านคำขวาง และโรงเรียนบ้านบัววัด
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
70 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประสานงานโรงเรียนเครือเข้าร่วมโครงการ 2.จัดประชุมชี้แจงโครงการและคัดเลือกโรงเรียนที่สนใจและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีก 1 ด้าน ( 1 วัน ) 3.ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบในแต่ละด้าน ทั้ง 6 โรงเรียน (2วัน ) 4.โรงเรียนเขียนโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา 5.โรงเรียนนำเสนอโครงการ (1 วัน ) 6.6.อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้แต่ละโรงเรียน (5 ครั้ง ) 7.โรงเรียนดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา 8.ตรวจประเมินโครงการแต่ละโรงเรียน ( 3 วัน ) 9.สรุปผลโครงการ (1 วัน) 10.จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการ (1 วัน)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.ประสานงานโรงเรียนเครือเข้าร่วมโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.2.จัดประชุมชี้แจงโครงการและคัดเลือกโรงเรียนที่สนใจและมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีก 1 ด้าน ( 1 วัน ) -- --- --- --- 5,250.00
3.3.ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบในแต่ละด้าน ทั้ง 6 โรงเรียน (2วัน ) -- --- --- --- 10,500.00
4.4.โรงเรียนเขียนโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา -- --- --- --- 2,550.00
5.5.โรงเรียนนำเสนอโครงการ (1 วัน ) -- --- --- --- 0.00
6.6.อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้แต่ละโรงเรียน (5 ครั้ง ) -- --- --- --- 44,250.00
7.7.โรงเรียนดำเนินโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการพัฒนา --- - --- --- 0.00
8.ตรวจประเมินโครงการแต่ละโรงเรียน ( 3 วัน ) --- -- --- --- 25,150.00
9.สรุปผลโครงการ (1 วัน) --- --- -- --- 2,550.00
10.จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการ (1 วัน) --- --- -- --- 7,050.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 273 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 จัดประชุมชี้แจงโครงการ จิราภรณ หลาบคำ
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการขยะ สมเจตน์ ทองดำ
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านอาหารปลอดภัย จิราภรณ์ หลาบคำ
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย จีราพร ทิพย์พิลา
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านห้องเรียนปลอดภัย จีราพร ทิพย์พิลา
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 ศึกษาดูงานในโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม นิตยา ชาคำรุณ
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 โรงเรียนนำเสนอโครงการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จิราภรณ์ หลาบคำ
12 ธันวาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านการจัดการขยะ สมเจตน์ ทองดำ
13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านอาหารปลอดภัย จิราภรณ์ หลาบคำ
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านห้องเรียนปลอดภัย จีราพร ทิพย์พิลา
18 ธันวาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านสนามเด็กเล่นปลอดภัย จีราพร ทิพย์พิลา
19 ธันวาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักการจัดการโรงเรียนด้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม นิตยา ชาคำรุณ
1 มีนาคม พ.ศ. 2561
8.30-16.30 ตรวจประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการขยะและอาหารปลอดภัยครั้งที่ 1 จิราภรณ์ หลาบคำ
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
8.30-16.30 ตรวจประเมินโครงการโรงเรียนด้านความปลอดภัยและด้านการจัดการสภาพแวดล้อม ครั้งที่ 2 จิราภรณ์ หลาบคำ
20 เมษายน พ.ศ. 2561
8.30-16.30 สรุปผลโครงการ จิราภรณ์ หลาบคำ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
8.30-16.30 จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการ จิราภรณ์ หลาบคำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน โรงเรียน และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : โรงเรียนเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการจัดการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจนเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมครบทั้ง 5 ด้านได้ได้
ด้านอื่นๆ : - โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ทั้งด้านการจัดการขยะ การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการสนามเด็กเล่น การจัดการห้องเรียน และการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้กับโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอื่นที่มีลักษณะปัญหาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมคล้ายๆกัน - สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขได้ใช้เป็นโครงการเพื่อการศึกษา โดยใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น การนำนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาการสุขาภิบาลอาหาร วิชาการสุขาภิบาลที่พักอาศัยและสถานประกอบการ วิชาการจัดการขยะมูลฝอย ได้เข้าไปเรียนรู้วิธีการพร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการสำรวจด้านกายภาพของโรงอาหารของโรงเรียน การทำกิจกรรม 5 ส. รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ธนาคารขยะ เป็นต้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
70
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสุขาภิบาลที่พักอาศัยและสถานประกอบการ
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต(อนามัยสิ่งแวดล้อม)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มคอ.3
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด มคอ.3
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ รายงาน และการนำเสนองาน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 82,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 27,300.00 บาท )
1) จำนวน 13 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
27,300.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 40,950.00 บาท )
1) จำนวน 13 มื้อ x มื้อละ 45.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
40,950.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,350.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
4,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาเข้ารูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ (300 บาท* 6 เล่ม)
=
1,800.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร
=
2,550.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท