แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เจาะธุรกิจ พิชิตต้นทุน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
หัวหน้าโครงการ
นายดุสิต จักรศิลป์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : การจัดการด้านการเงิน อาจารย์ประจำสาขาการเงินการธนาคาร
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิทยากรด้าน ความสำคัญและประโยชน์ของการออม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายไกรศักดิ์ ยงกุลวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : วิทยากรการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ วิทยากรการจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจสมัยใหม่ การจัดส่งธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
จากการลงพื้นที่ในงานวิจัยเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบและวิธีการ การจำนำปลาร้า โดยชุมชนมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าแม่น้ำโขง บ้านยักษ์คุ หมู่ที่ 5 ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ พบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงของวัตถุดิบ วัสดุและค่าจ้างแรงงานผลิต โดยเฉพาะราคาไหและค่าจ้างแรงงานที่สูง ทั้งนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจต้องสำรอง (Stock) ไห เกลือ รำข้าว เพื่อใช้ในการผลิตปลาร้าจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอในการขายในแต่ละปี ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจหากยึดหลัก “ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ” จะเป็นการคำนึงถึงความสมดุลพอดี และความพอประมาณอย่างมีเหตุผลเพื่อวางแผนและพัฒนาธุรกิจได้อย่างรอบครอบ และลักษณะหนึ่งตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงคือการมีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากการมีภูมิคุ้มกันที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจมีการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นของภาวการณ์ทางเศรษฐกิจตามกระแสต่างๆ ที่ไม่อาจคาดเดาล่วงหน้าได้หรือถ้าหากได้รับผลกระทบจะสามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว ในการที่จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้นั้นจำเป็นต้องมาจากการพึ่งตัวเองให้ได้เป็นส่วนใหญ่ หมายถึง ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เองหรือหาได้ง่ายในท้องถิ่นมากที่สุด ใช้เทคโนโลยีเหมาะสมที่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ หรือมีทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนทางกายภาพที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นเงินทุนเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิต และภาวการณ์ทางการตลาดที่สามารถจัดการได้โดยไม่ยากจนเกินไป ซึ่งหากสามารถพึ่งตนเองได้มากเท่าไหร่ ภูมิคุ้มกันก็จะมีสูงมากขึ้น ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นและมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็สามารถจัดการได้ เพราะปัญหาส่วนใหญ่ทุกประเภทอยู่ในขอบเขตความสามารถที่จะจัดการได้เอง ดังนั้นการบริหารกิจการหากต้องการพึ่งตัวเองได้นั้น เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ในทุกด้านอย่างเหมาะสม เช่น การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุน การตรวจสุขภาพทางการเงินของกิจการ การวางแผนใช้จ่ายเงิน การวางแผนเพื่อเพิ่มยอดขายและขยายตลาด ด้วยวิธีการนำเสนอสินค้าและบริการรูปแบบใหม่และที่สำคัญคือการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงของสินค้า ดังนั้นหากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีหลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์หากได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการลดต้นทุนถือเป็นการเตรียมการล่วงหน้าของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ SMEs เพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึง กำไรลดลง แต่ถ้ากิจการสามารถลดต้นทุนลงได้โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต นั่นถือเป็นช่องทางหนึ่งของการเพิ่มกำไร และเป็นวิธีการที่ช่วยพัฒนาศักยภาพ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นทางรอดหนึ่งของธุรกิจในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงและผันผวนอย่างมากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร

วัตถุประสงค์
1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการลดต้นทุนเพื่อการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของกิจการ
2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่อง การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุน ด้วยวิธีการนำเสนอสินค้าและบริการรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
เป็นการอบรมนอกพื้นที่ ณ.พื้นที่เป้าหมาย โดยจัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ เทคนิคการลดต้นทุนเพื่อการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของกิจการ การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อประสานงาน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครผู้อบรม --- --- --- 25,000.00
2.เตรียมเอกสาร ดำเนินการ --- --- --- 41,000.00
3.สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผล --- --- --- 12,000.00
4.วางแผนดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561 - 22 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00 – 10.30 น. บรรยายและแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนและเทคนิคการลดต้น ผศ.นภาพร และคณะ
22 เมษายน พ.ศ. 2561
10.30 – 10.45 น บรรยายและแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนและเทคนิคการลดต้น ผศ.นภาพรและคณะ
22 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
22 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 14.30 น. บรรยายและแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ แนวทางการใช้ประโยชน์จากการคำนวณต้นทุกสินค้าเพื่อเพิ่มยอด ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ
22 เมษายน พ.ศ. 2561
14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
22 เมษายน พ.ศ. 2561
14.45 – 16.00 น บรรยายและแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ แนวทางการใช้ประโยชน์จากการคำนวณต้นทุกสินค้าเพื่อเพิ่มยอด ผศ.นภาพร หงษ์ภักดีและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้และมีภูมิคุ้มกันทางการเงิน ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพทางการเงินของกิจการ และเทคนิคการลดต้นทุนเพื่อการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนของกิจการและ ลดรายจ่ายในธุรกิจได้
ด้านสังคม : กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ด้านสามารถใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุน การวางแผนใช้จ่ายเงินและการวางแผนเพื่อเพิ่มยอดขายและขยายตลาด ด้วยวิธีการนำเสนอสินค้าและบริการรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและสามารถวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆที่มีผลกระทบต่อสภาวะการแข่งขันได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
30
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชีหรือวิชาหัวข้อเฉพาะทางการบัญชี
หลักสูตร การบัญชี
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 3,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 17,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 3,600.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงปฏิบัติการ ( อัตรา 600 บาทต่อชม*1คน*วันละ 6 ชม.*1วัน)จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 3,600.00 บาท/ชม.
=
3,600.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 39,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 2,100.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
2,100.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 2,800 บาท/คัน/วัน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมพื้นที่และทำความสะอาด
=
2,000.00 บาท
2) - ค่าจ้างเหมาประเมินผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้
=
5,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาสำรวจพื้นที่
=
6,000.00 บาท
4) - ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์เอกสาร
=
6,000.00 บาท
5) - ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อที่ใช้ในกิจกรรมฝึกปฎิบัติการ
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,100.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,100.00 บาท )
1) - วัสดุสำนักงาน
1 x 2,100 บาท
=
2,100 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 8,000 บาท
=
8,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) - ป้ายไวนิล
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) - ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ หมึกปริีนเตอร์และกระดาษโฟโต้
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 80,000.00 บาท