แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาและใช้นวัตกรรมสื่อให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
พญ.เพชรลดา อาชวานันทกุล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : แพทยศาสตร์
ประสบการณ์ : 1. คณะกรรมการจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ม.อุบลราชธานี ประจำปี 2559 2. ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสืบสานประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปี 2559
ความเชี่ยวชาญ :
หัวหน้าโครงการ
นายณวัฒน์ โอฬารสกุลชัย คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : แพทยศาสตร์
ประสบการณ์ : 1. คณะกรรมการจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ม.อุบลราชธานี ประจำปี 2559 2. คณะกรรมการ PCT รพ.ม.อุบลราชธานี 3. ผู้จัดทำ Clinical Practice Guideline รพ.ม.อุบลราชธานี 4. ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสืบสานประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปี 2559
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภาวะผิวแห้งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะทำงานลดลง ความสามารถของผิวชั้นนอกในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่นแสงแดด อากาศ และแรงกระทำ ลดลง รวมถึงความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ในผิว (Epithelial barrier function) ของผิวหนังลดลง ทำให้ผู้สูงอายุมีผิวแห้ง เป็นขุย และมีอาการคันหากผิวแห้งมาก มีผู้สูงอายุจำนวนมากมาพบแพทย์ที่ รพ. ด้วยอาการผิวแห้งคัน เมื่อแพทย์ได้พูดคุย สอบถามประวัติ ได้พบว่าผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของผิวแห้ง และมีความรู้ไม่เพียงพอในการป้องกันและดูแลภาวะผิวแห้ง ซึ่งจัดเป็นภาวะเรื้อรังอย่างนึงที่ต้องดูแลต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีความรู้ที่เพียงพอในการดูแลผิวของตน จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยประหยัดทรัพยากรในการเดินทางมาโรงพยาบาล วิธีการให้ความรู้ผู้ป่วยที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปในปัจจุบันคือจากการบอกเล่าของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีมาตรฐานที่หลากหลาย และมีข้อจำกัดหลายปัจจัย เช่น เวลาที่ไม่เพียงพอในการให้บริการ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ยุ่งยากและไม่ทั่วถึง ความสามารถในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจตรงกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงแม้มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มาพบแพทย์เรื่องผิวแห้งคัน และได้รับการรักษาและคำแนะนำไปแล้ว แต่ยังปฏิบัติได้ไม่ถูกต้องและต้องมาพบแพทย์เรื่อยๆ จากการสำรวจความต้องการในการรับบริการทางวิชาการแก่สังคมของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่าส่วนใหญ่มีความต้องการรับบริการวิชาการด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ร้อยละ 34.39 และด้านสุขภาพผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นร้อยละ 8.07 ดังนั้นโครงการบริการวิชาการ "การพัฒนาและใช้นวัตกรรมสื่อให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ" จึงพัฒนาขึ้น เพื่อสร้างการบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และเน้นการแก้ปัญหาในระบบการให้ความรู้ทางการแพทย์เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในระยะยาว โดยพัฒนาสื่อให้ความรู้ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจและเหมาะสมกับผู้ชม เช่น ลักษณะเป็นละครสั้นแบ่งตอนให้ความรู้ด้านต่างๆ โดยมีทั้งในรูปแบบภาษาไทย และภาษาอีสาน และมีระบบคัดกรองผู้ชมที่เหมาะสมกับสื่อนั้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ชม รวมถึงนำสื่อที่พัฒนาแล้วไปใช้ในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลชุมชนนั้นๆ และมอบสื่อดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้ให้ความรู้ในชุมชนต่อไป ทั้งนี้จะเปิดรับสมัครนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์ในการดูแลและให้ความรู้แก่ชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ
2.เพื่อให้ความรู้ผู้สูงอายุในชุมชนในการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้ง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนในตำบลเมืองศรีไค ตำบลวัด ตำบลคำขวาง และตำบลโพธ์ใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีปัญหาผิวแห้ง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. พัฒนานวัตกรรมสื่อให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ 2. ติดต่อประสานงานกับติดต่อเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตตำบลเมืองศรีไค ตำบลวัด ตำบลคำขวาง และตำบลโพธ์ใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเตรียมจัดอบรมการให้ความรู้และให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน 3. คัดกรองประชาชนสูงอายุที่มีปัญหาผิวแห้งเพื่อร่วมโครงการ 4. จัดโครงการให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ 5. มอบสื่อที่พัฒนาเสร็จสิ้นแล้วแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้ให้ความรู้ในชุมชนต่อไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.พัฒนานวัตกรรมสื่อให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ - --- --- 52,000.00
2.ติดต่อประสานงานกับติดต่อเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตตำบลเมืองศรีไค ตำบลวัด ตำบลคำขวาง และตำบลโพธ์ใหญ่ --- - - --- 10,000.00
3.คัดกรองประชาชนสูงอายุที่มีปัญหาผิวแห้งเพื่อร่วมโครงการ --- --- --- 20,000.00
4.จัดโครงการให้ความรู้ทางสุขภาพเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ --- --- -- - 100,000.00
5.ปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพของสื่อให้ความรู้ --- --- -- 20,000.00
6.เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลการบริการ --- --- -- 10,000.00
7.จัดทำรายงานการบริการ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 มิถุนายน พ.ศ. 2561
9.00-16.00 การป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ลดต้นทุนทรัพยากรที่ใช้ในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ เช่น เวลา ค่าเดินทาง จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น
ด้านสังคม : ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ในการป้องกัน ดูแล และรักษาภาวะผิวแห้ง
ด้านสิ่งแวดล้อม : สื่อที่ใช้ในการให้ความรู้สามารถนำไปใช้ต่อได้ โดยรูปแบบของสื่อไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : ได้พัฒนานวัตกรรมสื่อให้ความรู้ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่า เพราะสื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนนำไปใช้ต่อได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 28,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 188,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
2,400.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
14,400.00 บาท
3) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
4,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
24,000.00 บาท
3) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 12,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 12 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 85,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตแบบสอบถามเพื่อคัดกรองผู้ป่วยผิวแห้งสูงอายุ
=
2,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาผลิตแบบประเมินความพึงพอใจ
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล
=
1,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำฐานข้อมูล
=
3,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์และสื่อประชาสัมพันธ์
=
5,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาผลิตสื่อให้ความรู้
=
50,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
=
2,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ อสม.
=
10,000.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาบุคลากรให้บริการทางการแพทย์
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 217,000.00 บาท