แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ Creative Thinking and Innovation Camp
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายธวัชชัย สลางสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Master of Creative Art University of Wollongong Australia
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นางสาวสุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : นักวิจัยการตลาด นักบริหารคุณภาพ
ความเชี่ยวชาญ : วิจัยการตลาด บริหารคุณภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
นายชุมพร หลิหะตระกูล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายสัจวัฒก์ วรโยธา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจ (การภาษีอากร)
ประสบการณ์ : วางระบบบัญชี /บัญชีบริหาร/ภาษีอากร/ควบคุมและตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : วางระบบบัญชี /บัญชีบริหาร/ภาษีอากร/ควบคุมและตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวอัจฉรา อรรคนิตย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Master of Commerce (Information System & Technology
ประสบการณ์ : "1.Tutor สอนวิชา Business English Technical Vocation Institue Alburquerque New Mexico USA 2. Web Expenses Oracle Coorperation Sydney Australia 3. Assistant Manager Sydney Australia"
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาอังกฤษ
ผู้ร่วมโครงการ
นายณัฐสิทธิ์ วงศ์จันทา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วรรณคดีเปรียบเทียบ
ประสบการณ์ : การสอนภาษาอังกฤษ
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาและวรณคดี
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววิลาสินี แสงคำพระ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
เหรัญญิก
นายอาทิตย์ บุญเริง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างจากแนวคิดหรือวิธีการเดิม และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ประโยชน์ที่สำคัญของการใช้ความคิดสร้างสรรค์คือความสามารถในการแก้ปัญหา การปรับปรุงสิ่งใหม่ๆ การสร้างหรือแสดงความคิดเห็นใหม่ๆที่เกิดเป็นนวัตกรรมที่สำคัญ ทักษะความคิดสร้างสรรค์มีได้กับทุกคน โดยเฉพาะเด็กที่มีความคิด ความสงสัย มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆที่พบ หากเด็กได้รับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เยาว์วัย จะเป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตในช่วงการเติบโต การพัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์ Torrance (1969:84-103) ได้สรุปพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในช่วงมัธยมศึกษา หรือช่วงอายุ 12-18 ปี ออกเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงอายุ 12-14 ปี เด็กต้องการเรียนรู้และโอกาสเลือกทดลองทำอาชีพที่สนใจเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า แต่ยังไม่มีการวางแผนอนาคต ยังเป็นระยะที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้รู้จักคิด และเด็กกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมมาก จึงเหมาะที่จะมีการจัดกิจกรรมให้เด็กรู้ทราบความสามารถของตนตามความเป็นจริงและเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะในการแก้ปัญหา ช่วงอายุ 14-16ปี เด็กมีจินตนาการเกี่ยวกับอาชีพที่มุ่งหวังในอนาคต ทัศนคติของเด็กพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ไม่คงที่ มีการเรียนรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดและมักกลัวเกี่ยวกับการสำรวจและทดลองความสามารถ เยาวชนข่วงอายุ 16-18 ปี ต้องการใช้จิตนาการของตนอย่างเต็มที่ เป็นช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับได้รับคำแนะนำและทดสอบต่อการเลือกอาชีพ สามารถเรียนรู้การใช้อารมณ์อย่างสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่าเยาวชนช่วงมัธยมศึกษามีความเหมาะสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก สังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจากการเรียนรู้สาระวิชาอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่จะส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต และการคิดสร้างสรรค์ก็เป็นหนึ่งทักษะที่จำเป็นในทักษะแห่งอนาคตใหม่ ตามที่ วิจารณ์ พานิช (2555:16-21) ได้แนะนำว่าทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 ของเยาวชนควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และการสื่อสารและการร่วมมือ กลุ่มเยาวชนช่วงระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้เยาวชนกลุ่มนี้เติบโตและพัฒนาเป็นกำลังสำคัญของประเทศที่จะนำความรู้ ความสามารถมาพัฒนาประเทศและองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์ โครงการบริการวิชาการ Creative Thinking and Innovation Camp จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ให้มีการพัฒนาศักยภาพในกระบวนการคิดที่สร้างสรรค์ และมุ่งส่งเสริมเด็กและเยาวชนในสังคมชนบทที่มีข้อจำกัดในการเข้ารับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่างๆ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นจะเป็นผลกระทบและเป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศ โครงการนี้จึงจัดในรูปแบบค่ายเคลื่อนที่เพื่อให้บริการในพื้นที่ห่างไกล มุ่งเน้นกิจกรรมที่ฝึกฝนความคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Problem-based learning) ฝึกการทำงานเป็นทีมและนำเสนอแนวคิดได้อย่างน่าสนใจ

วัตถุประสงค์
1.พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพตนเองเพิ่มขึ้น
2. ฝึกทักษะชีวิต ให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย เป็นคนดีมีคุณธรรม พร้อมใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันอย่างมีความสุข
3.ฝึกทักษะการแก้ปัญหาในสภาวการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่มุมของการวิเคราะห์ วางแผน และการผสมผสานความรู้ต่างๆ ในการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 30 คน วิธีการคัดเลือก : - ครูประจำชั้นคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 2.ผู้สนใจอบรมเป็น facilitator จำนวน 30 คน วิธีการคัดเลือก : - ประกาศรับสมัครแยกตามกลุ่มประเภทงาน คัดเลือกตามความเหมาะสม พื้นที่กลุ่มเป้าหมาย : อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เสนอโครงการ 2. ดำเนินตามโครงการ 2.1 ติดต่อสถานที่จัดกิจกรรม 2.2 จัดประชาสัมพันธ์ "Creative Thinking and Innovation Camp" 2.3 ส่งหนังสือให้โรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้นักเรียนสมัครเข้าโครงการ 2.4 จัดเตรียมความพร้อมก่อนการจัดอบรม 2.5 จัดเตรียมสถานที่สำหรับอบรม 2.6 จัดเตรียมทีมวิทยากร และคัดเลือกทีมfacilitator 2.7 เตรียมเอกสารประกอบการอบรม 2.8 เตรียมอาหารและอาหารว่าง 3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3.1 จัดฐานการเรียนรู้กลุ่ม 3.2 จัดให้ผู้อบรม เข้าอบรมตามฐานเรียนรู้ ใช้เวลา 3 ชั่วโมงต่อฐาน 3.3 จัดให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์เต็มศักยภาพของผู้เข้าอบรม โดยกำหนดกรอบการทำงานกำหนดปัญหาให้ 3.4 จัดนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานของผู้เข้าร่วมอบรมทั้งงานเดียวและงานกลุ่ม 3.5 มอบของรางวัล และใบประกาศ 3.6 ปิดการอบรม 4. เก็บข้อมูลเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ของการทำโครงการ 4.1 จัดทำแบบประเมินของโครงการ 4.2 เก็บข้อมูลจากแบบประเมินของโครงการ 4.3 สรุปข้อมูลจากแบบประเมินของโครงการ 5. สรุปโครงการเสนอผู้บริหาร

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.ดำเนินตามโครงการ --- - --- --- 15,180.00
3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 155,640.00
4.เก็บข้อมูลเพื่อหาผลสัมฤทธิ์ --- --- -- --- 0.00
5.สรุปโครงการเสนอผู้บริหาร --- --- -- --- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 - 29 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 4 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
26 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00 - 10.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเป็น facilitator
26 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00 – 12.00 น. อบรมการเป็นfacilitor การดำเนินการค่าย creative thinking and innovation camp วิทยากรภายใน
26 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
26 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 17.00 น. แบ่งกลุ่มตามหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับค่าย ฝ่ายพี่เลี้ยง / ฝ่ายสวัสดิการ / ฝ่ายกิจกรรม / IT
26 เมษายน พ.ศ. 2561
18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
26 เมษายน พ.ศ. 2561
19.00 – 21.00 น. เตรียมความพร้อมค่าย และประชุมรวม
27 เมษายน พ.ศ. 2561
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
27 เมษายน พ.ศ. 2561
09.30 – 09.45 น. พิธีเปิดโครงการ
27 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00 – 11.00 น. Seminar “Creative Thinking” และ Field trip มอบโจทย์ Major Challenge เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา วิทยากรภายใน
27 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
27 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 17.00 น. Mini-Challenge #1 Many uses กิจกรรมปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อใช้งานอย่างอื่นแทนได้ Alternative Use วิทยากรภายใน
27 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
27 เมษายน พ.ศ. 2561
19.00 – 21.00 น. Group Mini-Challenge Presentation
28 เมษายน พ.ศ. 2561
06.00 – 07.00 น. Camp Physical Exercise
28 เมษายน พ.ศ. 2561
07.00 – 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
28 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00 – 12.00 น. Mini-Challenge #2 Twist a Story กิจกรรมสร้าง creative story with unexpected twist. วิทยากรภายใน
28 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
28 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 17.00 น. Mini-Challenge #3 Everything is Fashion กิจกรรม invent fashion dress from everything around you วิทยากรภายใน
28 เมษายน พ.ศ. 2561
18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
28 เมษายน พ.ศ. 2561
19.00 – 21.00 น. Fun night party and Fashion show สนุกกับกิจกรรมบันเทิง พร้อมการแสดงชุดของแต่ละกลุ่ม
29 เมษายน พ.ศ. 2561
06.00 – 07.00 น. Camp Physical Exercise
29 เมษายน พ.ศ. 2561
07.00 – 08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
29 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00 – 12.00 น Major Challenge: กิจกรรมกลุ่ม Concept problem solving วิทยากรภายใน
29 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
29 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 15.00 น. Major Challenge Presentation
29 เมษายน พ.ศ. 2561
15.00 น. พิธีปิดและมอบใบประกาศนียบัตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - เด็กและเยาวชนได้พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เป็นบุคคลากรที่มีศักยภาพสามารถคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้กับชุนชนตนเองได้
ด้านสังคม : - ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย เป็นคนดีมีคุณธรรม พร้อมใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันอย่างมีความสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการฝึกทักษะการแก้ปัญหาในสภาวการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่มุมของการวิเคราะห์ วางแผน และการผสมผสานความรู้ต่างๆ ในการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
- สามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายในงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงได้เหมาะสมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 9,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 146,240.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 39,040.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 37,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
1,600.00 บาท
2) จำนวน 3 คืน x จำนวน 15 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
36,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 1,440.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
1,440.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 9 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 27,000.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,000.00 บาท )
1) ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 16,580.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 5,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าไวนิลวัสดุประชาสัมพันธ์
2 x 750 บาท
=
1,500 บาท
2) ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
10 x 50 บาท
=
500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 4,080.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ไปกลับ 3 คัน (หน่วยกิโลเมตร)
540 x 4 บาท
=
2,160 บาท
2) ค่าน้ำมันเชื้อเพลงไปกลับ (วิทยากร) 2 คัน
320 x 4 บาท
=
1,280 บาท
3) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำรวจสถานที่
160 x 4 บาท
=
640 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,500.00 บาท )
1) ค่าจัดทำเอกสารประกอบค่ายอบรม (30ชุด x 150บาท)
=
4,500.00 บาท
2) ค่าจัดทำรายงานสรุปโครงการ 5 เล่ม
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 171,820.00 บาท