แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยตลาดเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.นรา หัตถสิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประสบการณ์ : ิวิทยากรบรรยายด้าน - จิตวิทยาการบริการ - ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจบริการ - การจัดการเชิงกลยุทธ์ - การบริหารธุรกิจ SME
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การจัดการเชิงกลยุทธ์ การบริหารธุรกิจ SME
หัวหน้าโครงการ
ดร.ปวีณา คำพุกกะ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิธีวิทยาการวิจัย
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : สถิติศาสตร์และการวิจัย
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวใจแก้ว แถมเงิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การตลาด
ประสบการณ์ : 7.1 ผลงานวิจัย 1. ผู้ร่วมวิจัย โครงการ “การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ.2547 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ” พ.ศ. 2548 แหล่งทุนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. หัวหน้าโครงการวิจัย “สำรวจความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” พ.ศ. 2549 แหล่งทุนคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ผู้ร่วมวิจัย โครงการวิจัย “การศึกษากลยุทธ์การใช้ E-Tourism เพื่อการแข่งขันในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : กรณีศึกษาด่านช่องเม็ก-วังเต่า และด่านช่องสะงำ-เสียมเรียบ ”พ.ศ. 2550 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 5. หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6. ผู้ร่วมวิจัย “โครงการศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการ ท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี” พ.ศ. 2552 แหล่งทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 7. ผู้ร่วมวิจัย “การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว SMEs : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ” พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา (กำลังดำเนินการ) 7.2 ผลงานตีพิมพ์ บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 7.3 ผลงานที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ: นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการและการตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพิมลพรรณ อุดมพันธ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : สอน 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : e-commerce
ผู้ร่วมโครงการ
นางพรพิพัฒน์ แก้วกล้า คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
SMEs หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นภาคการผลิตและบริการที่มีจำนวนมาก จึงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม จากสถิติของประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่า มากกว่า 50% ของ GDP มาจาก SMEs เช่น สหรัฐอเมริกามีสัดส่วนรายได้กว่า 65% ญี่ปุ่น 60% ประเทศในกลุ่มยุโรป 52% (ROBU, 2013) หรือแม้กระทั่งประเทศในกลุ่มเอเชียเช่น จีนและอินโดนีเซียนั้นต่างมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 60% และ 59% ตามลำดับ (Yoshino, 2015) ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยที่มีสัดส่วนรายได้จาก SMEs เพียง 39% (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2557) ข้อมูลเหล่านี้แสดงถึงความต้องการในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทยในตลาดโลกเป็นอย่างยิ่ง จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยที่มุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจาก “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ที่เน้น “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” (Value–Based Economy) นั้น เป็นการแสดงเจตจำนงที่ชัดเจนของรัฐบาลไทยในการแสวงหาแนวทางสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ด้วยการยกระดับการพัฒนาจากขั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยปัจจัยการผลิต (Factor-Driven Stage) และปัจจัยด้านประสิทธิภาพ (Investment-Driven Stage) เป็นขั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยนวัตกรรม (Innovation-Driven Stage) (Porter, 1990) เพื่อให้สังคมไทยก้าวข้ามกับดักแห่งการเป็น “ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง” มาสู่ “ประเทศที่มีรายได้สูง” (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 2 พฤษภาคม 2559) ทั้งนี้การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านความรู้ (Knowledge Factors) ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการวิจัยและพัฒนามาต่อยอดกระบวนการดำเนินธุรกิจในกลุ่มธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถสร้างความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในเวทีการค้าระดับนานาชาติ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในประเทศนำเข้าสำคัญเช่น ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มยุโรป และความต้องการของผู้บริโภคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อนึ่ง จากการประมวลผลข้อมูลที่คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านโครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดอุบลราชธานีนั้นพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านไอที การตลาด การบริการ การบัญชี และการเงิน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้น ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในการอบรมยังไม่ครอบคลุมการวิจัยตลาดซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายตลาดและพัฒนาสินค้าใหม่ ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์กับผู้ประกอบการดังกล่าวในเบื้องต้นพบว่า ต่างล้วนมีความสนใจที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้ารายใหม่เพื่อเพิ่มยอดขายและต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขายฐานลูกค้าเก่าให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกลับไม่ทราบความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จในการขยายตลาดเท่าที่ควร เนื่องจากสินค้าและบริการที่นำเสนอนั้นไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มีพลวัตรแห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผู้ประกอบการขาดความรู้ความสามารถด้านการวิจัยตลาดนั่นเอง ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับ SMEs ให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องตลอดจนสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของตลาด คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะหน่วยงานของรัฐบาลที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีและวิทยาการแก่ชุมชน ควรที่จะถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านการวิจัยตลาดแก่ผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อให้สามารถพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยตลาดอันจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถประยุกต์วิทยาการด้านการวิจัยเข้ากับการดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง นำมาซึ่งข้อมูลด้านความต้องการของผู้บริโภคที่ถูกต้องและทันสมัยเพื่อให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการตลาดและสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าการให้บริการวิชาการด้านการวิจัยตลาดนั้นจะส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs บรรลุวัตถุประสงค์ด้าน “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามนโยบายของรัฐบาลเพราะการวิจัยตลาดได้ด้วยตนเองนั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs มี“ความมั่งคั่ง” ที่สามารถขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพอันนำมาสู่การจ้างงานที่มากขึ้น มี“ความมั่นคง” ที่สามารถนำเอาวิทยาการมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันและ มี“ความยั่งยืน” ที่สามารถอยู่รอดได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคงในภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังผันผวนอันนำมาสู่การเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความรู้และความเข้าใจหลักการวิจัยตลาดเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การคิดและวางแผนพัฒนาตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs
2.เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปดำเนินการวิจัยตลาดเพื่อการประกอบธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านความต้องการของลูกค้าที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดอุบลราชธานี และ/หรือจังหวัดใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1. เตรียมแผนงานอบรม 2.ประชาสัมพันธ์ 3. รับสมัครผู้ร่วมโครงการ 4. ดำเนินโครงการ 5. สรุปโครงการ โดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการดังต่อไปนี้ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง การวิจัยตลาด: การคิดเชิงกลยุทธ์ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง กระบวนการวิจัยตลาดเชิงนวัตกรรม 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง วรรณกรรมด้านการตลาดสำหรับธุรกิจ SMEs 4) การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง การออกแบบเครื่องมือสำหรับการวิจัยตลาดเพื่อการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจ SMEs 5) การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง การเก็บข้อมูลวิจัยตลาดออนไลน์ 6) การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง การวิเคราะห์และประมวลผลการวิจัยตลาดสำหรับธุรกิจ SMEs

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแผนงานอบรม --- --- --- 30,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ --- - -- --- 30,000.00
3.รับสมัครผู้ร่วมโครงการ --- --- - --- 5,000.00
4.ดำเนินโครงการ --- --- -- --- 84,600.00
5.สรุปโครงการ --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 273 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-17.00 การคิดเชิงกลยุทธ์: ทำไมต้องวิจัยตลาด? ดร.นรา หัตถสิน
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-17.00 กระบวนการวิจัยตลาดเชิงนวัตกรรม ดร.พรพิพัฒน์ แก้วกล้า
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-17.00 วรรณกรรมด้านการตลาดสำหรับธุรกิจ SMEs อ.ใจแก้ว แถมเงิน
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-17.00 การออกแบบเครื่องมือสำหรับการวิจัยตลาดเพื่อการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจ SMEs ดร.กนกกานต์ เทวาพิทักษ์
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-17.00 การเก็บข้อมูลวิจัยตลาดออนไลน์ อ.พิมลพรรณ อุดมพันธ์
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
8.30-17.00 การวิเคราะห์ ประมวลผลและสรุปผลการวิจัยตลาดสำหรับธุรกิจ SMEs ดร.ปวีณา คำพุกกะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.1. ผู้ประกอบการ SMEs มีความรู้และเข้าใจแนวคิดในการทำวิจัยธุรกิจ 1.2. ผู้ประกอบการ SMEs มีความสามารถในการจัดทำการวิจัยตลาดได้เอง อันนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการทำธุรกิจทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 1.3 ผู้ประกอบการ SMEs สามารถลดต้นทุนในการจัดจ้างหน่วยงานอื่นในการทำวิจัยตลาด 1.4. ผู้ประกอบการ SMEs สามารถมีข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยในการตัดสินใจขยายตลาด/พัฒนาผลิตภัณฑ์/ขยายการลงทุน
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจ
ด้านสิ่งแวดล้อม : ประหยัดต้นทุนการบริหารจัดการ เพราะมีการวิจัยผ่านการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์
ด้านอื่นๆ : เกิดความสามัคคีในกลุ่ม และระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหัว 5,000 บาทซึ่งถือว่าประหยัดงบประมาณมาก

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
หลักสูตร การจัดการธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มอบหมายให้นศ. วิเคราะห์ขัอดีข้อเสียของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในจ.อุบลราชธานี
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นศ.เรียนรู้ถึงการประยุกต์ใช้หลักวิชาการกับการเป็นผู้ประกอบการในบริบทแห่งโลกของความเป็นจริง
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มอบหมายให้นศ.วางกลยุทธ์และทำแผนธุรกิจ SMEs

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 63,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 19,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
7,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 53,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 23,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,800.00 บาท
=
10,800.00 บาท
2) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,800.00 บาท
=
3,600.00 บาท
3) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,800.00 บาท
=
3,600.00 บาท
4) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 38,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 22,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 7,000 บาท
=
7,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร (ต้องการ 30000 แผ่น*0.5 บาท)
15,000 x 1 บาท
=
15,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 10,000 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
1 x 6,000 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 154,600.00 บาท