แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทำวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับงานวิจัยในชั้นเรียนให้กับครูในจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา
ประสบการณ์ : สอนสถิติและวิจัยให้กับนักศึกษาปริญญาตรีและโท คณะบริหารศาสตร์ มา 5 ปี
ความเชี่ยวชาญ : สถิติธุรกิจ วิจัยทางด้านธุรกิจ SPSS MPLUS
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาวิชาชีพครู เนื่องจากข้อค้นพบที่ได้มาจากกระบวนการสืบค้นที่เป็นระบบและเชื่อถือได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ และด้วยหลักการสำคัญของการวิจัยที่เน้นการสะท้อนผล ทำให้การวิจัยในชั้นเรียนส่งเสริมบรรยากาศของการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ถ้าครูทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนอย่างเหมาะสม จะก่อให้เกิดผลดี คือ 1. ผู้เรียนจะมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. ในวงวิชาการการศึกษาจะมีข้อความรู้ หรือนวัตกรรมทางการจัดการเรียนรู้ที่เป็นจริงเกิดมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวครูและเพื่อนครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างมาก 3. วัฒนธรรมในการทำงานของครู จะพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (professional teacher) มากยิ่งขึ้น เพราะครูจะมีคุณสมบัติของการเป็นผู้แสวงหาความรู้หรือนักเรียน (learner) ในศาสตร์ของการสอนอย่างต่อเนื่องและมีชีวิตชีวา การที่ครูจะมีความก้าวหน้าในวิชาชีพนั้นจะต้องมีผลงานวิจัยควบคู่ในการเรียนการสอน แต่จากปัญหาที่ผ่านมาพบว่าครูทำวิจัยในชั้นเรียนไม่เป็น เลือกใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลไม่ถูกต้อง และไม่มีความรู้ในการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากปัญหาดังกล่าว คณะบริหารศาสตร์จึงเล็งเห็นความสำคัญในการกระตุ้น ส่งเสริมให้ครูได้เรียนรู้วิธีการทำวิจัยและสถิติในชั้นเรียนและการใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS เพื่อประกอบการทำวิจัยต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ครูในโรงเรียน ในจังหวัดอุบลราชธานี มีความรู้ ความเข้าใจในการทำวิจัยและสถิติในการทำวิจัยในชั้นเรียน
2.เพื่อให้ครูในโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีมีความรู้ ความสาความสามารถในการวิเคราะห์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับงานวิจัยในชั้นเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูในโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานและจังหวัดใกล้เคียง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมหลัก ขั้นตอน/วิธีดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ 1. อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับงานวิจัยให้กับครูในโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน 2 วัน อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน รุ่นที่ 2 จำนวน 50 คน 2 วัน อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน รุ่นที่ 3 จำนวน 50 คน 2 วัน อบรมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน รุ่นที่ 4 จำนวน 50 คน 2 วัน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1. --- 253,200.00
2. --- --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
7 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียน รุ่นที่ 1 ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
8 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
21 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
22 ตุลาคม พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียน รุ่นที่ 4 ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมอบรมเชิงปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียน รุ่นที่ 2 ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 อบรมเชิงปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียน รุ่นที่ 3 ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
8.30-16.30 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ด้วยสถิติเบื้องต้น และสถิติเชิงอนุมาน ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1. ครูในโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีมีความรู้ ความเข้าใจในทำวิจัยในชั้นเรียนและการเลือกสถิติในการทำวิจัยในชั้นเรียน 2. ครูในโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีมีความรู้ ความสาความสามารถในการวิเคราะห์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับงานวิจัยในชั้นเรียน
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1000 บาทต่อ ครู 1 คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สถิติธุรกิจ
หลักสูตร ทุกหลักสูตร ในคณะบริหารศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติในโปรแกรม SPSS
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาจะเป็นพี่เลี้ยงในการจัดอบรม และนำข้อมูลการอบรมมาวิเคราะห์ต่อไป
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 74,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 57,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
57,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 17,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนจัดทำรายงานจำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 5,000.00 บาท/ชม.
=
5,000.00 บาท
2) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานจำนวน 2 คน x จำนวน 20 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 176,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 80,000.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
80,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 96,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
96,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
200 x 50 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 260,600.00 บาท