แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางนิตยา ชาคำรุณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : – Environmental management – Environmental and Health Impact Assessment (Air pollution and Noise) – Air quality modeling and Emission Inventory – Air quality monitoring and management – Air and Noise pollution control – Greenhouse gas management
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตามแผนงานยุทธศาสตร์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นพัฒนาบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม บนพื้นฐานความพอเพียง โดยครอบคลุมกลุ่มกิจกรรมในด้านการโรงเรียนเครือข่ายพันธมิตรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และกลุ่มกิจกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การส่งเสริมการอนุรักษ์ ความปลอดภัย การป้องกันมลพิษ และตรวจวัดให้บริการด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ซึ่งจากการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการเก็บข้อมูลและตรวจประเมินด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น พบว่าโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เข้าร่วมโครงการ มีความเสี่ยงภายในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณห้องเรียน อาคารเรียนที่มีความเก่า ชำรุด ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟที่เก่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าซ็อตหรือลัดวงจรได้ และยังมีการประกอบอาหารซึ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและเตาแก๊สในการให้ความร้อนอีกด้วย ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย และจากการทำโครงการบริการวิชาการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี 2558 พบว่าโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 12 โรงเรียน ยังไม่มีมาตรการในการดำเนินการเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น อาทิเช่น เหตุเพลิงไหม้ ซึ่งหากขาดการวางแผนที่ดี เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดเหตุที่รุนแรง และส่งผลให้เกิดความเสียหายที่มากมายตามมา การจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุจะประกอบไปด้วย 1. แผนการตรวจตรา เป็นแผนการสำรวจความเสี่ยงและตรวจตรา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและขจัดต้นเหตุของการเกิดเหตุฉุกเฉิน 2.แผนการอบรม เป็นการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทั้งในเชิงป้องกันและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ 3. แผนการรณรงค์ป้องกันเหตุฉุกเฉิน เป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเป็นการสร้างความสนใจ และส่งเสริมในเรื่องการป้องกันเหตุฉุกเฉิน ให้เกิดขึ้นในทุกระดับ 4.แผนการดับเพลิง เป็นการกำหนดขั้นตอน ตัวบุคคลและหน้าที่เพื่อระงับเหตุ 5. แผนอพยพหนีไฟ ควรประกอบด้วยผู้นำทางหนีไฟไปตามทางออกที่จัดไว้ และจัดเตรียมจุดนัดพบหรือ จุดรวมพล ซึ่งเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย ตลอดจนหน่วยช่วยชีวิตกรณีมีการเกิดการบาดเจ็บ และ 6. แผนบรรเทาทุกข์ เป็นการดำเนินการภายหลังการเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุ ได้แก่ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากการเกิดอัคคีภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อนักเรียนและบุคลากรที่อยู่ในโรงเรียน รวมถึงเพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขึ้นเพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ในการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน ตลอดจนร่วมกันพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนของตนเองได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ในการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
2.เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนของตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเครือข่าย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.รวบรวมข้อมูลและเตรียมการ 2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนจำนวน 2 วัน 3.โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียน 4.การติดตามและประเมินผล 5.สรุปผลการดำเนินการและจัดทำรายงานผลการดำเนินการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รวบรวมข้อมูลและเตรียมการ 1.1.ประสานงานโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ 1.2.จัดการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ --- --- --- 0.00
2.เตรียมการอบรม -- -- --- --- 0.00
3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนจำนวน 2 วัน --- - --- --- 0.00
4.โรงเรียนเครือข่ายพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียน --- - - --- 0.00
5.การติดตามและประเมินผล 5.1.ประเมินผลการอบรม 5.2.ประเมินผลการพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนเพื่อการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน --- -- --- 0.00
6.สรุปผลการดำเนินการและจัดทำรายงานผลการดำเนินการ --- --- --- - 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
8 มกราคม พ.ศ. 2561
09.00-16.00 อบรมความรู้เกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินและหลักการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเขียนแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
9 มกราคม พ.ศ. 2561
09.00-16.00 การปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเขียนแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : โรงเรียนเครือข่ายสามารถพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน
ด้านสิ่งแวดล้อม : โรงเรียนเครือข่ายสามารถพัฒนาแนวทางการจัดทำแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุในฌฃโรงเรียน
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
753 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 28,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
25,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 42,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 17,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
17,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสำรวจและเก็บข้อมูล
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ข้อมูล
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน
=
3,000.00 บาท
4) ค่าถ่ายเอกสารและจัดทำรูปเล่มประกอบการอบรม
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการอบรม
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายโครงการ
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 75,300.00 บาท