แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ : การปลูกพืชไม่ใช้ดินในระบบการปลูกผักในวัสดุทดแทนดิน (Substrate culture)ปีที่ 2
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
หัวหน้าโครงการ
ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : ด้านพืชผักเศรษฐกิจ
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผักใช้ดินและไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ
นายบุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ระบบชลประทาน
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ระบบชลประทาน
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นิมมานรดี พรหมทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D. in Horticulture
ประสบการณ์ : การปรับปรุงพันธุ์ส้ม
ความเชี่ยวชาญ : การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล สรีรวิทยาไม้ผล การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสวน
เหรัญญิก

หลักการและเหตุผล
พืชผักเป็นพืชอาหาร ที่คนไทยนิยมนำมาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้งวิตามินและ แร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อ นำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ การเกษตรของประเทศไทยกําลังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานและทรัพยากรน้ำ ในขณะที่ต้นทุนปัจจัยการผลิตได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกําจัดศัตรูพืชมีราคาสูงขึ้นโดยตลอด ปัญหาสารเคมีตกค้างในผักยังไม่สามารถแก้ไขได้ และราคาของผลผลิตผักผันแปร ตามอุปสงค์และอุปาทานทําให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน มีการนําเข้าผักมาจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนมากขึ้น ทําให้ประเทศจะสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศและคนไทยต้องพึ่งพาอาหารจากต่างประเทศ ประเทศสูญเสียศักยภาพและความมั่นคงทางอาหารไป แนวทางการแก้ไขปัญหานี้ การเกษตรของประเทศไทยต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกาภิวัฒน์ ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สามารถลดการใช้แรงงาน และทรัพยากรน้ำ ปุ๋ยเคมีและสารควบคุมศัตรูพืชให้มากที่สุด และต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการปลูกพืชในสภาวะปกป้องหรือการปลูกพืชในโรงเรือนที่สามารถป้องกันพืชจากภัยธรรมชาติและการเข้าทําลายของศัตรูพืช และมีการนำเอาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรประเภทต่าง ๆ มาเป็นวัสดุในการปลูกพืช และยังมีอุปกรณ์ให้น้ำและธาตุอาหารแก่พืชโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยลดแรงงานในฟาร์ม ช่วยประหยัดการใช้เมล็ดพันธุ์ น้ำ และปุ๋ยเคมี และลดหรือเลิกการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชลงได้ เทคโนโลยีจะนี้สามารถช่วยให้เกษตรกรผลิตผักที่มีคุณภาพสูงและปลอดสารพิษตกค้างได้ตลอดทั้งปี ในต้นทุนที่ต่ำลง ทําให้มีอํานาจการต่อรองกับตลาดสูงขึ้น ลดการผันผวนของราคาขายและผลผลิตที่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม "Substrate culture" เป็นวิธีการปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดินแต่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก แต่เป็นการปลูกพืชลงบนวัสดุชนิดต่างๆ เช่น แผ่นฟองน้ำ ทราย กรวด ขี้เลื่อย แกลบ ขุยมะพร้าว ฯลฯ แทนดิน โดยพืชสามารถเจริญเติบโตบนวัสดุปลูกที่ใช้เป็นที่ยึดเกาะและจากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืช ที่มีน้ำที่ผสมกับแร่ธาตุต่างๆ (หรือปุ๋ย) ที่พืชต้องการจากทางรากพืช การปลูกพืชโดยใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้ดิน เป็นการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์อีกประเภทหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาการทำการเกษตรในพื้นที่ ดินอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก การปลูกพืชด้วยวิธีนี้เป็นการนำวัสดุชนิดต่างๆ มาใช้เพื่อทำให้ที่ให้รากพืชยึดเกาะพยุงลำต้นไว้ได้ โดยวัสดุปลูกที่เราจะนำมาใช้ทดแทนดินที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่น มีอัตราส่วนพื้นที่ของอากาศและน้ำเหมาะสม มีการระบายอากาศและน้ำได้ดี หรือมีความพรุนสูง ไม่เป็นวัสดุที่มีการสะสมความร้อน โครงสร้างของวัสดุปลูกไม่อัดตัวกันแน่น หรือยุบตัวง่ายเมื่อถูกน้ำและใช้ไประยะหนึ่ง เป็นวัสดุที่สะอาด คือไม่มีการสะสมของเชื้อโรค หรือแมลงเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย และราคาไม่แพงจนเกินไปเป็นรูปแบบของการเกษตรที่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้หันมาทําธุรกิจการเกษตรให้มากขึ้น ซึ่งกําลังเป็นที่ต้องการของประเทศอย่างมากเนื่องจากเพื่อทดแทนเกษตรกรรุ่นเก่าที่มีอายุมากขึ้นและต้องเลิกอาชีพนี้ในอนาคตอันใกล้ ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ที่สนใจปลูกผักเพื่อบริโภคในครอบครัว หรือจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ได้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกพืช ส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย สำหรับการบริโภคเองในครอบครัวและ ชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม เกี่ยวกับการปลูกผักในวัสดุทดแทนดิน (Substrate culture)
2.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ยกระดับการเกษตรพื้นบ้านสู่ การเกษตรแบบปลอดภัย ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อบริโภคเองในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.1 ครูและนักเรียน ในโรงเรียนที่มีโครงการอาหารกลางวัน ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 25 คน 1.2 ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ในเขตพื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 25 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ภาคทฤษฎี บรรยายในห้องโดยใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ ภาคปฏิบัติ สาธิตและให้ปฏิบัติจริงในแปลงปลูก

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์และประสานงานกับโรงเรียน ผู้นำชุมชน - --- --- --- 5,000.00
2.จัดหา จัดเตรียม วัสดุการเกษตร พันธุ์พืช -- --- --- --- 35,000.00
3.ดำเนินการอบรม --- --- -- --- 50,000.00
4.ติดตามผลการฝึกอบรม สรุปผลการฝึกอบรม --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00 - 11.00 น. บรรยาย ความรู้เบื้องต้นในการปลูกพืชในโรงเรือน วิธีการผลิตผักที่ปลอดภัยจากสารพิษที่ถูกต้องและเหมาะสม ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
11.00-12.00 น. บรรยาย การเพาะกล้า นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.00 น. ปฏิบัติการ การเพาะกล้า การเตรียมวัสดุทดแทนดินเพื่อปลูกผักบนโต๊ะ ในกระถาง และการย้ายปลูก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
15.00 -16.00 น. ปฏิบัติการ การดูแลรักษาพืชผัก ดร.นิมานรดี พรหมทอง และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.00 - 15.00 น. ปฏิบัติการ การตรวจธาตุอาหาร ในวัสดุทดแทนดิน นางสาวนพมาศ นามแดง และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.00 น. บรรยาย การจัดการธาตุอาหารในการปลูกพืชในวัสดุทดแทนดิน ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
11.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเก็บเกี่ยวและการปรุงปรุงอาหารจากผัก ดร.นิมานรดี พรหมทอง และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.00-11.00 น. ปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยหมักแบบน้ำ แบบแห้ง ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00-10.00 น. บรรยาย การผลิตปุ๋ยหมักแบบน้ำ แบบแห้ง ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
09.00-10.00 น. บรรยาย การควบคุมแมลงศัตรูพืชในโรงเรือนปลูกผัก ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10.00-11.00 น. บรรยาย การควบคุมโรคพืชในโรงเรือนปลูกพืช ผศ.ดร.ยุวดี ชูประภาวรรณ
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
11.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเตรียมเชื้อไตรโคเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ และ ดร.ทวีศักดิ์ วิยะชัย
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
13.00-14.00 น. บรรยาย การเพิ่มมูลค่าผักด้วยบรรจุภัณฑ์ ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
14.00 - 15.00 น. บรรยาย การตลาดผักใน e-commerce ดร.สุภาวดี ชัยวิวัฒน์ตระกูล
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
15.00 -16.00 น. บรรยาย การควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือน นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการซื้อผักไว้รับประทานซึ่งมีราคาแพงและมีสารพิษปลอมปน
ด้านสังคม : มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
ด้านสิ่งแวดล้อม : รู้จักการใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมนำวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ใช้งบประมาณตามแผนงานที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา การผลิตผักเศรษฐกิจ
หลักสูตร ปริญญาตรี
นักศึกษาชั้นปี : 2-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ70 ของนักศึกษา ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น/สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,660.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 15,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 15,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,600.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท
5) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,060.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 34,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 9,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) เอกสารประกอบการฝึกอบรม
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 47,340.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,500.00 บาท )
1) เครื่องเขียน กระดาษ
50 x 30 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,600.00 บาท )
1) ป้ายประชาสัมพันธ์ ไวนิล
4 x 400 บาท
=
1,600 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,740.00 บาท )
1) น้ำมันดีเซล
30 x 30 บาท
=
900 บาท
2) น้ำมันเบนซิน
28 x 30 บาท
=
840 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) วัสดุฝึกอบรม วัสดุการเกษตร และวัสดุก่อสร้าง
=
40,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท