แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การจำลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประชา คำภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมไฟฟ้า
ประสบการณ์ : เป็นอาจารย์ในภาควิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีประสบการณ์ด้านการสอนวิชาในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาในด้านไฟฟ้ากำลัง รายวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ • อิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) • การขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor Drives) • เครื่องจักรกลไฟฟ้า (Electric Machines) • การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า (Electrical Circuit Analysis) • วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น (Fundamental of Electrical Engineering) • การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร (Computer Programming for Engineers) • แคลคูลัสขั้นสูงสำหรับวิศวกร (Advanced Calculus for Engineers) • สมการอนุพันธ์สำหรับวิศวกร (Differential Equation for Engineers)
ความเชี่ยวชาญ : • Power Electronics: inverters, converters, grid connected interfacing. • Renewable Energy: Solar cell, Fuel cell. • Electric Drives and Automation system. • Electromagnetic Compatibility (EMC): EMI emissions on power converters. • Modular multilevel cascade converters for utility applications.
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยที่นำรายได้มหาศาลเข้าประเทศ ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้ในหลายด้าน เช่น วงจรแปลงผันกำลังไฟฟ้าสำหรับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานลม) วงจรประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่และขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า วงจรจ่ายไฟแบบสวิตชิ่งสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสาร วงจรควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้า วงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์ (IC) รวมถึงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เป็นต้น ภาครัฐและภาคเอกชน ได้ผลิตวิศวกร และ นักวิจัย ด้านนี้ให้ตอบสนองต่อความต้องการในส่วนต่างๆ ไม่เฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้น ยังรวมถึงอุตสาหกรรม ขนาดเล็ก ขนาดย่อม และ กลุ่ม startup ที่มีความต้องการในการสร้างต้นแบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง และ มีการปรับปรุงเทคนิคต่างๆในการออกแบบวงจรไฟฟ้าให้ทันสมัย เพื่อวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างอุปกรณ์เหล่านี้มีให้มีความฉลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการออกแบบและสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototype) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ กล่าวถึงลักษณะนักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่จะมีความสามารถในการสร้างอุปกรณ์เหล่านี้ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างลึกซึ้ง รวมทั้งต้องใช้เวลาในการสร้างต้นแบบวงจร ทดสอบวงจรในเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งความอดทน ที่จะต้องไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลวในการสร้างต้นแบบวงจร ในวงการวิจัยบ้านเรา ยังมีจำนวนของผู้มีความสามารถดังกล่าวยังมีอยู่ไม่มากนัก เนื่องจาก นักวงจรอิเล็กทรอนิกส์ใช้เวลาในการสร้างวงจรต่างๆ เรียนรู้ สะสมประสบการณ์ ลองถูกลองผิด แก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บางคนไม่ประสบผลสำเร็จในการเป็นนักประดิษฐ์ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้ ขาดแรงบันดาลใจ ขาดงบประมาณ รวมถึงเครื่องไม้ เครื่องมือในการสร้างวงจรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถต่อยอดแนวคิดที่ได้วาดฝันไว้ได้ เครื่องมือหนึ่งที่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ ใช้ในการออกแบบวงจรไฟฟ้า คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองทางไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม PSPICE,ORCAD, MATLAB/Simulink, Proteus เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้มีได้รับความนิยมตามความถนัดและตามลักษณะงานต่างๆ เพื่อใช้จำลอง ศึกษา วิเคราะห์ พฤติกรรมการทำงาน ที่สภาวะต่างๆ เพื่อลดความผิดพลาดก่อนที่จะไปสร้างต้นแบบจริง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้การใช้งานในระดับพื้นฐาน อาจจะไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงกับการสร้างต้นแบบวงจรได้ ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลังในขั้นสูง เพื่อช่วยในการออกแบบ คำนวณ และ สร้างต้นแบบวงจร จึงมีความจำเป็นในอย่างยิ่งที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจ และ ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างต้นแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์จากวิธีการพื้นฐานไปสู่การประยุกต์ใช้ในขั้นสูงขึ้น ในการอบรมนี้ จะเลือกใช้ โปรแกรม PSPICE เวอร์ชั่นที่แจกฟรี เป็นโปรแกรมหลักในการอบรมเชิงปฏิบัติ การสร้างไลบรารี่ใช้เอง การเขียนสคริปซ์ไฟล์ และ การประยุกต์ใช้งานขั้นสูง เมื่อผู้เข้าอบรมผ่านการอบรมแล้ว สามารถนำไปใช้ต่อยอดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อโปรแกรม และ จะมีเพิ่มเติมในการประยุกต์ โปรแกรม MATLAB/Simulink ในการจำลองเพิ่มเติม

วัตถุประสงค์
1.สร้างความเข้าใจ พื้นฐาน การจำลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง เพื่อต่อยอดในการศึกษา วิจัยขั้นสูง
2.สร้างเครือข่ายผุ้วิจัย นักประดิษฐ์ ที่สนใจในศาสตร์ด้านการจำลองทางวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
3.สร้างทัศนคติที่ดี และ การเข้าถึง งานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
อาจารย์ นักเรียน ในระดับอาชีวศึกษา และ มหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ นักวิจัย นักประดิษฐ์และวิศวกรไฟฟ้าที่มีความสนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.อนุมัติโครงการ --- --- --- 0.00
2.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ -- --- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าร่วมการอบรมโครงการฯ -- --- --- 0.00
4.ติดต่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและวิทยากร ทำโปรแกรมและเอกสารประกอบการอบรม --- - -- --- 0.00
5.จัดฝึกอบรมตามโครงการฯ ประเมินผลโครงการฯ สรุปและจัดทำรายงานของโครงการฯ --- --- - --- 0.00
6. --- --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561 - 29 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 เมษายน พ.ศ. 2561
08.00 – 08.30 ลงทะเบียน ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
8.30-9.00 พิธีเปิดการอบรม และ การแนะนำตัวของผู้เข้าอบรบ ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
14.50 – 16.00 วงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสตรง และ วงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสสลับ ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
14.30 – 14.50 รับประทานอาหารว่าง ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 14.30 วงจรเรียงกระแส ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 – 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00 – 12.00 การใช้งานโปรแกรม PSPICE / MATLAB_Simulink (การสร้าง Library, script file, etc.) ประชา และ คณะ
28 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00 – 10.00 แนะนำโปรแกรม PSPICE, MATLAB_Simulink ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
14.50 – 16.00 การประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง และ การนำเสนอผลงาน ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
14.30 – 14.50 รับประทานอาหารว่าง ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00 – 14.30 การวิเคราะห์ฮาร์มอนิกส์และสัญญาณรบกวน ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 – 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
10.00 – 12.00 เทคนิคการควบคุมวงจร ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00 – 10.00 วงจรแปลงผันแบบเรโซแนนท์ ประชา และ คณะ
29 เมษายน พ.ศ. 2561
08.00 – 09.00 วงจรอินเวอร์เตอร์ ประชา และ คณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : สร้างองค์ความรู้ในการจำลองวงจรไฟฟ้าที่มีความช่วยลดเวลาในการออกวงจรต้นแบบ ลดความผิดพลาดในการสร้างวงจร ทำให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์มีเครื่องมือทีช่วยสร้างความเข้าพื้นฐานในการวิเคราะห์ด้านวงจรต่อยอดความรู้ในขั้นสูง
ด้านสังคม : เป็นการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าอบรมและ สร้างบรรยากาศในการเข้าถึงศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้ง่ายขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : สร้างความร่วมมือด้านศึกษา การวิจัย และ พัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ร่วมกับ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เข้าอบรม และ ครู นักเรียนที่สนใจศาสตร์ด้านนี้ เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็ง
ด้านอื่นๆ : ลดความเหลื่อมล้ำด้านฐานความรู้ด้านนี้ อันเนื่องมาจากขาดอุปกรณ์ในการทดลองที่มีราคาสูง สามารถทดแทนด้วยการเลือกใช้โปรแกรมในการจำลองการทำงานพื้นฐาน จนพัฒนาไปสู่การจำลองขึ้นสูง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1ุ,638

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 36,960.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 33,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 33,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
33,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
3,360.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 10,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตเอกสารประกอบการอบรม 80 บาท 30 ชุด
=
2,400.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน (ปากกาไวท์บอร์ด, ใบประกาศนียบัตร, อื่นๆ)
1 x 2,000 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 49,160.00 บาท