แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง“ การออกแบบระบบการให้น้ำอย่างง่ายสำหรับเกษตรกร”.
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.นิมมานรดี พรหมทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช
ความเชี่ยวชาญ : สรีรวิทยาพืชสวน การปรับปรุงพันธุ์พืชและการผลิตเมล็ดพันธุ์
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ทินน์ พรหมโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล การใช้เครื่องหมายโมเลกุลกับการปรับปรุงพันธุ์ไม้ผล
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตและการปรับปรุงพันธุ์พืช
ผู้ร่วมโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในภาพรวมของชาวโลกในอดีตและปัจจุบัน น้ำจัดว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นของขวัญที่มีค่าสูงส่ง เพราะเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์กับทุกๆคนสัตว์สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั่วไป น้ำก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิต ดังจะเห็นว่าในการค้นหาสิ่งมีชีวิตในดวงดาวอื่นๆ ก็มักจะใช้เป็นกุญแจค้นหาว่ามีน้ำอยู่หรือไม่ จึงมีคำพูดว่า “ไม่มีน้ำไม่มีชีวิต” “ขาดน้ำ ขาดอนาคต” และเนื่องจากน้ำมีบทบาทและความสำคัญมากเปรียบประดุจดังมารดาหรือแม่ จนได้รับการยกย่องว่า “น้ำเป็นมารดาของโลก”แม้ว่าน้ำจะมีประโยชน์ที่ทุกๆคนมีความเกี่ยวข้องและรู้จักดี แต่จะคำนึงถึงความสำคัญเมื่อตนเองมีปัญหา เช่น ปัญหาของการขาดน้ำหรือมีน้ำมากเกินไป เข้าทำนองเมื่อเจอปัญหา “ฝนแล้ง”กับ “น้ำท่วม” ปัญหาการขาดแคลนน้ำกำลังคืบคลานเข้าหาเราทุกๆคน เรื่องนี้ไม่ใช่เกิดแต่เฉพาะในบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของโลก นั้นคือเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงทำให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคนทั่วโลก ปริมาณน้ำทั้งหมดในโลก เป็นน้ำเค็มในทะเลและในมหาสมุทร คิดเป็นร้อยละ 97.3 เป็นน้ำจืด ร้อยละ2.67 แบ่งออกเป็น น้ำแข็งที่ขั้วโลก ร้อยละ 76.51 น้ำบาดาล ร้อยละ 23.18 ทะเลสาบ 0.34 ในแม่น้ำลำคลอง 0.01 การเพิ่มของประชากรทั่วโลกทำให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นแบบเป็นเงาตามตัว สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดถึงความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นก็คือการเพิ่มของประชากรโลกอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา คือจากจำนวน 2,513 ล้านคนในปี 2493(ค.ศ.1950)เพิ่มขึ้นเป็น 6,195 ล้านคน ในปี พ.ศ.2543(ค.ศ.2000) การเพิ่มของประชากรดังกล่าว ทำให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อจัดหาน้ำมาให้ประชากรใช้ ทำให้หลายๆประเทศต่างก็เร่งจัดสร้างเขื่อนกัน ซึ่งธนาคารโลกได้ให้การสนับสนุนในการก่อสร้างมากกว่า 100 ประเทศ ประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่จะใช้น้ำเพื่อการชลประทานหรือการเพาะปลูก ร้อยละ 90 ของน้ำทั้งหมดซึ่งครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ใช้นี้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์หรือยังมีประสิทธิภาพในการชลประทานที่ต่ำ ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ที่ต้องการความรู้ด้าน ออกแบบระบบการให้น้ำแก่พืชผัก ไม้ผล ในแปลงปลูกซึงเป็นระบบน้ำทีสามารถออกแบบและติดตั้งได้เอง เป็นการให้น้ำแก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้าได้ จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ การออกแบบระบบการให้น้ำอย่างง่ายสำหรับเกษตรกร” ให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และเป็นการพัฒนาอาชีพการปลูกพืชผัก ไม้ผล ยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยรวม ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติที่ดีต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องระบบการให้น้ำในแปลงปลูกไม้ผล พืชผัก และหญ้าสนามให้แก่เกษตรกร ผู้ที่สนใจทั่วไป
2.เพื่อสร้างแปลงสาธิตระบบการให้น้ำแบบต่างๆ เพื่อเป็นตัวอย่าง จุดเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและ ผู้สนใจทั่วไป สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างประชาชนทั่วไปกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เกษตรกร ข้าราชการ ผู้สนใจในด้านการออกแบบระบบการให้น้ำอย่างง่ายสำหรับเกษตรกรทั่วไป 2. อายุตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไป ระดับความรู้ตั้งแต่ ป.๔ ขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้ 3. สามารถเดินทางไปกลับระหว่างบ้านพักกับสถานที่ฝึกอบรมได้เอง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1 เตรียมเอกสารวิชาการ 2. ประชาสัมพันธ์ 3. จัดหา วัสดุการเกษตร ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ 4. เตรียมพื้นที่แปลงปลูก 5. ดำเนินการจัดการฝึกอบรม 6. สรุปรายงานผลการฝึกอบรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1 เตรียมเอกสารวิชาการ - --- --- --- 10,000.00
2.2. ประชาสัมพันธ์ - --- --- --- 5,000.00
3.3. จัดหา วัสดุการเกษตร ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ -- --- --- --- 20,000.00
4.4. เตรียมพื้นที่แปลงปลูก -- --- --- --- 25,000.00
5.5. ดำเนินการจัดการฝึกอบรม --- -- --- --- 35,000.00
6.6. สรุปรายงานผลการฝึกอบรม --- --- -- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 มีนาคม พ.ศ. 2561
9.00 - 11.00 น. บรรยาย หลักการให้น้ำ ความสัมพันธ์ของ ดิน น้ำ พืช ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
21 มีนาคม พ.ศ. 2561
11.00 - 12.00 น. บรรยาย เครื่องสูบน้ำ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
21 มีนาคม พ.ศ. 2561
13.00 - 14.00 น. บรรยาย กำหนดการให้น้ำแก่พืช ดร.ทินน์ พรหมโชติ
21 มีนาคม พ.ศ. 2561
14.00 - 15.00 น. บรรยาย ท่อ ข้อต่อ และอุปกรณ์ประกอบ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
21 มีนาคม พ.ศ. 2561
15.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ ท่อ ข้อต่อ และอุปกรณ์ประกอบ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ ดร.ทินน์ พรหมโชติ
22 มีนาคม พ.ศ. 2561
13.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการการออกแบบระบบน้ำแบบต่างๆ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ ดร.ทินน์ พรหมโชติ ดร.นิมมานรดี พรหมทอง
22 มีนาคม พ.ศ. 2561
11.00 - 12.00 น. บรรยาย การวางแผนออกแบบระบบการให้น้ำ ดร.นิมมานรดี พรหมทอง
22 มีนาคม พ.ศ. 2561
10.00 - 11.00 น. บรรยาย การให้น้ำแบบหยดและแบบอื่นๆ ดร.นิมมานรดี พรหมทอง
22 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00 – 10.00 น. บรรยาย การให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
23 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.00 – 12.00 น. ศีกษาดูงาน แปลงปลูกพืชที่วางระบบการให้น้ำ บรรยาย ประกอบการสาธิต นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ ดร.ทินน์ พรหมโชติ ดร.นิมมานรดี พรหมทอง
23 มีนาคม พ.ศ. 2561
16.00 - 16.30 น. สรุปผลการฝึกอบรม และมอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรม นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
23 มีนาคม พ.ศ. 2561
13.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการติดตั้งระบบน้ำในแปลงปลูก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ ดร.ทินน์ พรหมโชติ ดร.นิมมานรดี พรหมทอง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : การออกแบบระบบการให้น้ำอย่างง่ายสำหรับเกษตรกร ให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ และเป็นการพัฒนาอาชีพการปลูกพืชผัก ไม้ผล ยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยรวม ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ด้านสังคม : สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับประชาชนทั่วไป
ด้านสิ่งแวดล้อม : ให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ที่ต้องการความรู้ด้าน ออกแบบระบบการให้น้ำแก่พืชผัก ไม้ผล ในแปลงปลูกซึงเป็นระบบน้ำทีสามารถออกแบบและติดตั้งได้เอง เป็นการให้น้ำแก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้าได้
ด้านอื่นๆ : ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้หลักการระบบน้ำในพืชปลูกและการปฏิบัติจริงในแปลงปลูกพืช

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
สามารถใช้งบประมาณตามแผนที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การผลิตกาแฟ (Coffee Production)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ (พืชสวน)
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำหลักการออกแบบระบบน้ำมาใช้กับการเรียนของนักศึกษาโดยสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาในรายวิชาเข้าเรียนรู้ในแปลงสาธิตระบบน้ำ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,960.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 15,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,200.00 บาท
4) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,960.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
1,800.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 30,040.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 9,000.00 บาท
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,240.00 บาท )
1) ค่าเอกสารประกอบการอบรม
=
4,000.00 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
=
240.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 51,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,000.00 บาท )
1) เครื่องเขียน กระดาษ
40 x 50 บาท
=
2,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) วัสดุโฆษณาเผยแพร่ ป้ายไวนิล
6 x 250 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) หมึกพิมพ์
1 x 2,500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 3,000.00 บาท )
1) น้ำมันดีเซล
100 x 30 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 42,000.00 บาท )
1) วัสดุการเกษตร อุปกรณ์ระบบน้ำแบบต่างๆ
=
42,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท