แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการหมอยาเคลื่อนที่ ครั้งที่ 8
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายทวนธน บุญลือ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เภสัชบำบัด
ประสบการณ์ : การบริบาลทางเภสัชกรรมในโรคจิตเวช การวิจัยผลลัพธ์ทางเภสัชกรรมและระบบสุขภาพ
ความเชี่ยวชาญ : เภสัชบำบััดด้านจิตเวชศาสตร์ การบริบาลทางเภสัชกรรม
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ความรู้ด้านเภสัชบำบัดมีความสำคัญในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมซึ่งเป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยโดยเภสัชกร ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเภสัชบำบัดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งโรคที่มีแนวทางการวินิจฉัยที่ทันสมัย การใช้ยา การพัฒนายาใหม่ที่มีความจำเพาะกับโรคและทำให้โรคหายขาด แนวทางการรักษาที่เปลี่ยนแปลงตามการศึกษาและหลักฐานทางวิชาการที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเภสัชกรที่ทำงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเภสัชบำบัดในโรคต่างๆ เพื่อให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความพร้อมทั้งทางด้านแหล่งข้อมูลและบุคลากรที่จะให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกในโรงพยาบาลร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี โครงการหมอยาเคลื่อนที่ (การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมที่โรงพยาบาล) ได้เคยดำเนินงานโครงการนำร่องมาแล้วในปีงบประมาณ 2554 โดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ได้เริ่มออกไปปฏิบัติงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์เป็นแห่งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งเภสัชกรประจำแหล่งฝึกและบุคลากรทางการแพทย์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2555 คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการหมอยาเคลื่อนที่ เป็นครั้งที่ 2 ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ได้อย่างต่อเนื่อง จากที่ริเริ่มไว้แล้วปีงบประมาณ 2554 อีกทั้งในโครงการหมอยาเคลื่อนที่ครั้งที่ 3 (ปีงบประมาณ 2556) และครั้งที่ 3 (ปีงบประมาณ 2557) คณะฯ ยังสามารถขยายการดำเนินงานไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้แก่ โรงพยาบาลวารินชำราบ และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และโรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2557 คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการหมอยาเคลื่อนที่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ซึ่งคณะกรรมการดำเนินโครงการมีแผนขยายกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานไปสู่ชุมชนมากขึ้น โดยเพิ่มกิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนมากขึ้น ผ่านกิจกรรมการคัดกรองโรคเรื้อรังในชุมชนและกิจกรรมออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งได้ทดลองทำกิจกรรมนี้แบบนำร่องไปแล้วในโครงการหมอยาเคลื่อนที่ ครั้ง 4 (ปีงบประมาณ 2557) ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มการตอบรับที่ดีจากผู้รับบริการ และในครั้งที่ 5 (ปีงบประมาณ 2558) ครั้งที่ 6 (ปีงบประมาณ 2559) และครั้งที่ 7 (ปีงบประมาณ 2560) มีการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมโครงการ โดยทิศทางเน้นมาด้านเภสัชกรผู้ให้บริบาลทางเภสัชกรรมในแหล่งฝึกมากขึ้น ดังนั้นในปีงบประมาณ 2561 ทางกลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการหมอยาเคลื่อนที่ขึ้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ประชาชนได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดในการรักษา คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ คาดว่าโครงการหมอยาเคลื่อนที่ ครั้งที่ 8 นี้จะได้รับการตอบรับอย่างดีและประสบความสำเร็จในดำเนินโครงการเช่นเดียวกับที่เคยดำเนินการมาแล้ว ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ จะเป็นการเปิดบทบาทของเภสัชกรและการพัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลและร้านยา รวมทั้งการดูแลด้านยาและสุขภาพแก่ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเภสัชกรที่ให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรคต่างๆให้มีความทันสมัยและมีความมั่นใจในองค์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดเพิ่มมากขึ้น และให้อาจารย์เภสัชกรมีส่วนร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บริการทางเภสัชกรรมได้แก่ การคัดกรองผู้ป่วย การให้ความรู้ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยและในเขตจังหวัดอุบลราชธานี โดยคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
2.เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอนและวิชาชีพระหว่างคณะเภสัชศาสตร์และแหล่งฝึกปฏิบัติวิชาชีพเภสัชกรรมทั้งด้านโรงพยาบาลและร้านยา

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
• ผู้รับบริการ ได้แก่ - ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลเป้าหมาย (โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลวารินชำราบ โรงพยาบาล 50 พรรษา โรงพยาบาลม่วงสามสิบ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โรงพยาบาลมะเร็งจังหวัดอุบลราชธานี) - ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการ ณ ร้านยาในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี - ผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชุมชนในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี • ผู้ให้บริการ ได้แก่ คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4-6
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยตารางปฏิบัติงานคร่าวๆ เป็นดังนี้ การให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล มีกิจกรรมดังนี้ ให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน หรือ ผู้ป่วยนอก เช่น จ่ายยาและให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาก่อนกลับบ้าน ติดตามการตรวจวัดและแปลผลระดับยาในเลือดของผู้ป่วย รวมทั้งคำนวณขนาดยาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การให้ความรู้ด้านยาและสุขภาพแก่ผู้ป่วยและผู้มารับบริการโดยเน้นด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สรุปและอภิปรายผลการให้บริบาลทางเภสัช 2.การให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ร้านยาและในชุมชน - กำหนดให้มีกิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่บ้านและในชุมชน ได้แก่ กิจกรรมคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) และกิจกรรมออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด) ในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างน้อย 5 ครั้ง -การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา โดยการคัดกรองปัญหาสุขภาพ การให้ความรู้ด้านยาและสุขภาพ การนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ รายชื่ออาจารย์เภสัชกรที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในโครงการ 1.ภก.พีระวัฒน์ จินาทองไทย 2.ภก.มานิตย์ แซ่เตียว 3.ภญ.น้องเล็ก คุณวราดิศัย 4.ภญ.พนัชกร เตชอังกูร 5.ภญ.สุทธาสินี สุวรรณกุล 6.ภก.ณัฐวัฒน์ ตีระวัฒนพงษ์ 7.ภก.รชตะ มังกรแก้ว 8.ภญ.จีริสุดา คำสีเขียว 9.ภญ.ธีราพร ชนะกิจ 10.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์ 11.ภก.ประสิทธิชัย พูลผล 12.ภญ.ฑิภาดา สามสีทอง 13.ภก.ทวนธน บุญลือ 14.ภก.ศักดิ์สกล ปรัสพันธ์ 15.ภญ.เด่นใจ บัวทุม 16.ภญ.อัญมณี ลาภมาก 17.ภญ.วันนิศา ดงใต้

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.นำเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ -- --- --- --- 0.00
2.2. ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมาย -- -- -- -- 1,000.00
3.3.ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาล ร้านยาและชุมชนที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรม -- -- -- -- 1,000.00
4.4. ดำเนินการให้บริบาลทางเภสัชกรรมที่โรงพยาบาลและร้านยาเป้าหมาย -- -- -- -- 104,600.00
5.5. การประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ --- --- --- - 0.00
6.6.สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน --- --- --- -- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 28 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 362 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
7.00-19.00 การให้บริการและบริบาลทางเภสัชกรรมทางเภสัชกรรมที่โรงพยาบาลเป้าหมาย ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์, ภก.มานิตย์ แซ่เตียว
16 มีนาคม พ.ศ. 2561
7.00-19.00 การให้บริการและบริบาลทางเภสัชกรรมทางเภสัชกรรม รวมทั้งการให้ความรู้ที่ร้านยาเป้าหมาย ภญ.ฑิภาดา สามสีทอง, ภญ.ธีราพร ชนะกิจ
15 มิถุนายน พ.ศ. 2561
7.00-19.00 การให้บริการและบริบาลทางเภสัชกรรม การให้ความรู้ที่โรงพยาบาลเป้าหมาย ภก.พีระวัฒน์ จินาทองไทย, ภก.ทวนธน บุญลือ
17 สิงหาคม พ.ศ. 2561
7.00-19.00 การให้ความรู้ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนเป้าหมาย ภก.ทวนธน บุญลือ, ภญ.วันนิศา ดงใต้

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องสุขภาพ 2.ประชาชนเข้าถึงการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นมากขึ้นเพื่อให้ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น เบาหวานความ ดันโลหิตสูง ได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.เกิดเครือข่ายงานบริการทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยในเขตจังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับโรงพยาบาลและร้านยา

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและเภสัชบำบัด
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต 2555
นักศึกษาชั้นปี : 4-5
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน - จำนวนกรณีศึกษาจากผู้ป่วยจริงที่นำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด มีรายวิชาที่นำนักศึกษาออกพื้นที่อย่างน้อย 1 รายวิชา
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 9,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้ประสานงานโครงการจำนวน 2 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
2,400.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 80,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 28,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 4 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
16,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 12,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 10 วัน x วันละ 320.00 บาท
=
12,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
19,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 80 คน
=
32,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 18,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าเอกสารเผยแพร่ความรู้
200 x 50 บาท
=
10,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ไวนิล
2 x 500 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 7,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันรถ
200 x 35 บาท
=
7,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 107,600.00 บาท