แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาแกนนำด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในอีสานใต้
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปวีณา ลิมปิทีปราการ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการมูลฝอยอันตราย การหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ในครัวเรือน การจัดการขยะนาโนเทคโนโลยี
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจีราพร ทิพย์พิลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม.สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางนิตยา ชาคำรุณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : – Environmental management – Environmental and Health Impact Assessment (Air pollution and Noise) – Air quality modeling and Emission Inventory – Air quality monitoring and management – Air and Noise pollution control – Greenhouse gas management
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภาณี จันทร์ศิริ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผู้ร่วมโครงการ
นายสิทธิชัย ใจขาน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปี 3 พ.ศ. 2559 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการสาฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : -การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดการคุณภาพน้ำ
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปัญหาทางด้านสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะในการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นช่วงรอยต่อชีวิตที่สำคัญ การตัดสินใจวางแผนการดำเนินชีวิตบางอย่างเช่น การศึกษา จะเป็นตัวชี้วัด อาชีพ การดำเนินชีวิต ตลอดจนคุณภาพชีวิตในอนาคตได้ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นกลุ่มแกนนำทางด้านการดูแลสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการจัดการธนาคารขยะในโรงเรียนที่จะสามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก หรือเป็นแกนนำในการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนไม่ว่าจะทางดิน น้ำ และอากาศ อันที่จะเป็นการป้องกันผลกระทบที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อไป ดังนั้นการจัดทำโครงการโดยอาศัยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอีสานใต้เป็นแกนนำ น่าจะเป็นการสร้างบุคคลรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญทางด้านสาธารณสุข และการจัดการสิ่งแวดล้อมได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ สร้างพลังเชิงบวกและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการสาธารณสุข และอนามัยสิ่งแวดล้อม
2.เพื่อเป็นการสร้างแกนนำด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดเตรียมโครงการ 2. จัดเตรียมพื้นที่ ประชาสัมพันธ์โครงการให้โรงเรียนและนักเรียนได้ทราบถึงการดำเนินโครงการ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ 3. จัดกิจกรรมให้ความรู้และอบรมเกี่ยวกับการสาธารณสุข และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และทัศนคติที่ดีต่อองค์กร 5. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดเตรียมโครงการ - --- --- --- 0.00
2.จัดเตรียมพื้นที่ ประชาสัมพันธ์โครงการให้โรงเรียนและนักเรียนได้ทราบถึงการดำเนินโครงการ และรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ -- -- --- --- 10,000.00
3.จัดกิจกรรมให้ความรู้และอบรมเกี่ยวกับการสาธารณสุข และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน --- - --- --- 85,000.00
4.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผล --- --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
8.00-19.00 กิจกรรมการอบรมแกนนำด้านสุขภาพในโรงเรียน ผศ.มินตรา สาระรักษ์และทีมวิทยากร
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
8.30-19.00 กิจกรรมอบรมแกนนำด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน อ.สมเจตน์ ทองดำและทีมวิทยากร
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
8.30-12.00 กิจกรรมการถอดบทเรียน อ.สมเจตน์ ทองดำและทีมวิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายแกนนำในการพัฒนาสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในเขตอีสานใต้
ด้านสิ่งแวดล้อม : สร้างแกนนำในการพัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ได้แกนนำในการจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1902 203 บริหารสาธารณสุข
หลักสูตร วทบ.อนามัยสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การเขียนโครงการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ม.อุบลฯ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ดำเนินโครงการตามแผนที่วางไว้

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 18,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 82,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 3,000.00 บาท
=
12,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 13,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 22.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
13,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถรับส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม
=
3,000.00 บาท
2) จ้างเหมาถ่ายรูป/อัดวิดีโอกิจกรรม
=
800.00 บาท
3) จ้างเหมาประชาสัมพันธ์
=
3,000.00 บาท
4) จ้างเหมาทำใบเกียรติบัตร
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท