แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประยุกต์ใช้ Social Media ในการจัดการเรียนการสอน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายชาญชัย ศุภอรรถกร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : วิทยากรบรรยายเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศกับ E-Commerce รุ่นที่ 1-6 บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด
ความเชี่ยวชาญ : E-commerce
หัวหน้าโครงการ
นายเอกนรินทร์ คำคูณ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - วิทยาการอบรม E-learning - วิทยากรอบรม IT Camp
ความเชี่ยวชาญ : - E-learning - E-Commerce
ผู้ร่วมโครงการ
นายอัครรัตน์ กอบเกิ้อ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : นักวิชาการศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : IT ทางด้านการเขียนโปรแกรม Graphic
ผู้ร่วมโครงการ
นางกานต์อนงค์ นิตรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : คอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : นักวิชาการศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ช่วยสอนหลักสูตร IT
เหรัญญิก

หลักการและเหตุผล
ความก้าวหน้าของระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางสังคม คือ เครือข่ายสังคมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “สังคมออนไลน์” (Social Network) โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สมาชิก หรือก็คือคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ และศาสนา ทุกระดับการศึกษาอาชีพ และทุกกลุ่มสังคมย่อยจากทั่วโลกเป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเนื้อหาเรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่สมาชิกเขียน และทำขึ้นเองหรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เครือข่ายสังคมออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีของสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายประเภท (ทัตธนันท์ พุ่มนุช, 2553) ปัจจุบัน Social Media เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มนักเรียน นักศึกษามีการใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย และยังมีบทบาทกับระบบการศึกษาด้วย ผู้สอนจะสามารถประยุกต์ใช้ Social Media กับการศึกษา นำมาเป็นช่องทางในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น โครงการนี้จึงต้องการเพิ่มสมรรถนะ และศักยภาพให้กับกลุ่มของครูในการใช้ Social Media มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน โครงการจะมีลักษณะเป็นการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ในการใช้โปรแกรมทาง Social Media เพื่อที่ผู้เข้าอบรมจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนากรสอน โดยเน้นกลุ่มของโรงเรียนในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นหลัก ส่วนกลุ่มรองจะเป็นกลุ่มของโรงเรียนที่มีความสนใจในการอบรมนี้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้คณะครูในโณงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และโรงเรียนอื่นๆที่สนใจมีความรู้เกี่ยวกับการ Social Media เพื่อจัดการการเรียนการสอน
2.เพื่อนำผลจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้กับงานการเรียนการสอน และงานด้านคอมพิวเตอร์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
คณะครูในโรงเรียนเครือข่าย หรือโรงเรียนอื่นๆที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ติดต่อประสานงานโรงเรียนในเครือข่าย และโรงเรียนอื่นๆที่สนใจ 2. กำหนดวันในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3. จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ 4. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 5. สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อประสานงานโรงเรียนในเครือข่าย และโรงเรียนอื่นๆที่สนใจ (โทรศัพท์ จดหมาย ติดต่อโดยตรง) --- --- --- 500.00
2.จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการ --- - --- --- 91,000.00
3.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- --- --- 42,000.00
4.สรุปผลการดำเนินงาน --- --- -- --- 500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 มีนาคม พ.ศ. 2561
9.00-16.00 การใช้งาน Facebook + Line + Youtube นายอัคร กอบเกื้อ และนายเอกนริทร์ คำคูณ
16 มีนาคม พ.ศ. 2561
9.00-16.00 การใช้งาน Slideshare + Blogger รศ.ชาญชัย ศุภอรรถกร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ลดต้นทุนในการใช้กระดาษ เนื่องจากผู้สอน และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ผ่านทาง Social Media และโปรแกรมต่างๆในคอมพิวเตอร์
ด้านสังคม : สร้างความร่วมมือกับโรงเรียนในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และโรงเรียนอื่นๆที่สนใจ
ด้านสิ่งแวดล้อม : ลดปริมาณการใช้กระดาษจาการจัดการเรียนการสอน
ด้านอื่นๆ : ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งาน Social Media ในการจัดการการเรียนการสอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
32
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ใช้งบประมาณตามแผนการเงินที่วางไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1143 003 เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น/สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 26,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 26,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 26,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
3) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 15,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 42,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 1,000.00 บาท )
1) กระดาษ A4 และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
1 x 1,000 บาท
=
1,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ Handy Drive RAM
1 x 40,000 บาท
=
40,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 50,000.00 บาท )
1) Tablet สำหรับใช้ในการจัดอบรม
5 x 10,000 บาท
=
50,000 บาท


งบประมาณทั้งสิ้น 134,000.00 บาท