แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางลักษณีย์ บุญขาว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษา ที่มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในท้องถิ่น การให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มในกิจการต่าง ๆ ของชุมชนก็เป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษาให้เกิดความมั่นคงแก่ชุมชนและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีโรงเรียนในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 24 โรงเรียน การพัฒนาการเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษา ให้เกิดความมั่นคง ในโรงเรียนเครือข่าย เป็นอีกบทบาทหน้าที่หนึ่งที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีหน้าที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการพื้นฐานในด้าน ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในโรงเรียนส่วนใหญ่เกิดในห้องเรียนห้องปฏิบัติการ(ร้อยละ36.6)อันดับรองคือการบาดเจ็บที่จะเกิดบริเวณที่เล่น ที่ออกกำลังกาย คือสนามกีฬา สนามเด็กเล่น สนามหญ้า สวนหย่อม สระว่ายน้ำ (ร้อยละ 30.3) อันดับ 3 เกิดในบริเวณโครงสร้างตึกเรียนเช่น บันได ระเบียง (ร้อยละ 17.6) และพบว่า เวลาพักกลางวันเป็นเวลาที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บมากที่สุด (ร้อยละ 41.9) อันดับรองเป็นเวลาในระหว่างการเรียนการสอน(ร้อยละ 30.8) บาดแผลส่วนใหญ่เป็นบาดแผลถลอก ฟกช้ำ บาดแผลฉีกขาด บาดแผลทิ่มแทง ซึ่งไม่รุนแรง ตำแหน่งที่เกิดมักเป็นแขนขา (ร้อยละ 60) อันดับรองได้แก่ ศีรษะใบหน้า(ร้อยละ26)ฟัน(ร้อยละ5)และตา(ร้อยละ3)และร้อยละ76ของการบาดเจ็บสามารถให้การดูแลได้ในโรงเรียน ร้อยละ 24 ต้องนำส่งหน่วยรักษาพยาบาลภายนอก(ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก,มปป.) โครงการโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี เป็นโครงการบริการวิชาการที่จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนา โรงเรียนในเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในด้าน ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมโดยการจัดการอบรมการตรวจและประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ให้สำหรับครูและบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน รวมทั้งส่งเสริมให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย จนเป็นโรงเรียนต้นแบบ ในการดูแลจัดการด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมได้ และการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไม่ว่า จะเป็นการตรวจวัดแสงสว่าง ความร้อน เสียงดังและฝุ่นละออง เพื่อให้ นักเรียนและผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และเป็นการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ไปแก้ไขปัญหาได้
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี
4.เพื่อตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในด้าน แสงสว่าง ความร้อน เสียงดังและฝุ่นละออง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
12 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
- ประสานงานโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ - อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักการจัดการโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี - การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม - ตรวจประเมินแสงสว่าง ความร้อน เสียงดัง และฝุ่นละออง - ตรวจประเมินโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี - สรุปผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานโรงเรียนเครือข่ายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ - --- --- --- 8,450.00
2.อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักการจัดการโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี - การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม --- -- -- --- 11,000.00
3.ตรวจประเมินแสงสว่าง ความร้อน เสียงดัง และฝุ่นละออง --- --- - --- 85,200.00
4.ตรวจประเมินโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี --- --- --- - 5,850.00
5.สรุปผลโครงการ --- --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
8.30-16.30 ตรวจประเมินแสงสว่าง ความร้อน ฝุ่นละออง เสียงดังในดรงเรียน
0 พ.ศ. 543
8.30-16.30 ตรวจประเมินโรงเรียนปลอดภัย อนามัยสิ่งแวดล้อมดี
20 เมษายน พ.ศ. 2556
8.30-16.30 น. อบรมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและสิ่งแวด้อมในโรงเรียน อ.ลักษณีย์ บุญขาว อ.สมเจตน์ ทองดำ
21 เมษายน พ.ศ. 2556
8.30-16.30 อบรมเทคนิคการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อ.ลักษณีย์ บุญขาว และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -เป็นการสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แก่ผู้ปกครองนักเรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -โรงเรียนเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการจัดการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
24
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 11,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 94,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 52,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 12 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
24,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 24 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,500.00 บาท )
1) จำนวน 24 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
3,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 24 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,200.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 18,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการตรวจวัด แสงสว่าง ความร้อน เสียงดังและฝุ่นละออง
=
18,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 5,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 110,500.00 บาท