แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การป้องกันและระงับอัคคีภัยขั้นต้นในโรงเรียน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนตามแนวพระราชดำริฯ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวสุนทรี ศรีเที่ยง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Public Health Administration
ประสบการณ์ : * Lecturer: Occupational Health and Safety, Department of Biological Sciences, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University * Lecturer: Occupational Health and Safety, Faculty of Public health, Chalermkarnchana University * Safety Health and Environment Manager at Advance Paper Mill Co.,Ltd. Prachinburi Province * Safety Officer at Advance Agro Co.,Ltd. Prachinburi Province
ความเชี่ยวชาญ : Industrial Safety, Fire Prevention, Risk Assessment, Health Promotion and Public Health Administration
หัวหน้าโครงการ
ดร.กติกา สระมณีอินทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Biomedical Engineering University of Strathclyde, Glasgow, UK
ประสบการณ์ : * Lecturer: Occupational Health and Safety, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University * Special lecturer: Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand) * Special lecturer: All is One Co.,Ltd Special Lecturer: Safety Science, Faculty of Science Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University * Engineer: National Electronics and Computer Technology Centre * Safety Officer: Wongpin Co.,Ltd
ความเชี่ยวชาญ : Biomechanics, Human Factors, Gait and Motion Analysis, Health Promotion, Safety for Vulnerable Populations
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวกานต์นลินญา บุญที คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วทม (สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย) มหาวิทยาลัยมหิดล
ประสบการณ์ : - Lecturer at Department of Biological Sciences, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University, Thailand - Lecturer Assistant at Public health, Mahasarakarm University - Research Assistant (Assoc. Dr. Wantanee Phanprasit, Faculty of Public Health, Mahidol University) - Safety Officer at Sunarrow City Co., Ltd. Saraburee Province
ความเชี่ยวชาญ : Industrial Hygiene Sampling and Analysis
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวนิภาพร คำหลอม คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ประสบการณ์ : ผลงานวิจัย (1) เรื่อง การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรระดับจัดการด้านการป้องกันอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2) เรื่อง การศึกษาการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน : กรณีจังหวัดอุบลราชธานี แหล่งทุน ทุนนักวิจัยหน้าใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2553 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (3) เรื่อง การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดคอในพนักงานสำนักงาน กรณีศึกษา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (4) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการทางระบบทางเดินหายใจของพนักงานกลุ่มอาชีพหัตถกรรมครัวเรือนที่เกี่ยวกับไม้ กรณีศึกษา : บ้านนาคำ อ. เมือง จ. อุบลราชธานี แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (5) เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานนวดแผนไทย แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (6) เรื่อง การศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีบรรยาย การใช้ Social Media และ Workshop ของผู้เรียนในรายวิชาการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง (1108 417) แหล่งทุน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลงานตีพิมพ์ N. Khamhlom, C. Chaikittiporn, C. Pulket, S. Arphorn, V.Singhakajen and S. Taptragarnporn. 2005, “An Improved Workstation for Reducing Muscular Fatigue in the Warm Water Heater Assembly Line”. Safety & Environment Review Journal. Vol. 4, p 31-43. (In Thai) N. Khamhlom. 2008, “An Improved Workstation for Reducing Muscular Fatigue in the Warm Water Heater Assembly Line”. Abstract Book on The 3rd International Scientific Conference on Occupational and Environmental Health. P 155-156.
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, การยศาสตร์, สุขศาสตร์อุตสาหกรรม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากนโยบายภาครัฐที่รณรงค์ให้สถานศึกษาจัดกิจกรรม"สถานศึกษาปลอดภัย และสุขภาพอนามัยดี" โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถานศึกษาได้ตระหนักและมีการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Royal Thai Government,2559) ประกอบกับจากกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ในปี 2559 ที่ผ่านมา มีนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนได้ให้ความสนใจเข้าชมการสาธิตวิธีการใช้ถังดับเพลิงเป็นจำนวนมาก และได้สอบถามถึงวิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง รวมทั้งมีความประสงค์ให้ทางคณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมบริการวิชาการให้ความรู้การป้องกันและระงับอัคคีภัยขั้นต้นในโรงเรียน อาทิ การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและบุคลากรให้มีความรู้และเข้าใจในการดับเพลิงขั้นต้นอย่างถูกต้องและปลอดภัย การฝึกปฏิบัติใช้ถังดับเพลิงเข้าระงับเหตุอัคคีภัย ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้สำรวจและลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบจากการเกิดอัคคีภัยในโรงเรียน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวตอบสนองนโยบายของภาครัฐและความต้องการของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผลที่เกิดขึ้นจากอัคคีภัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียชีวิต และเกิดความเสียหายแก่อาคารสำนักงาน อาคารเรียนของโรงเรียน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล จ่ายค่าชดชย ตลอดจนการก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่และจัดหาวัสดุ อุปกรณ์การเรียนเข้ามาทดแทนของเดิม สูญเสียเวลาและทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานศึกษา สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ อันแสดงออกถึงการร่วมคิด ร่วมทำ สร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยสู่สถานศึกษา และส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้เรียนรู้เทคนิคและเกิดทักษะปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัยอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกิดทักษะทางความคิดในการสำรวจและลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบจากการเกิดอัคคีภัยในโรงเรียน คณะทำงานโครงการบริการวิชาการแก่สังคม จึงได้เสนอโครงการการป้องกันและระงับอัคคีภัยขั้นต้นในโรงเรียน นอกจากนี้การดำเนินโครงการยังเป็นการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้ทราบและเข้าใจแนวทางการเข้าศึกษาและการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต และปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของประเทศชาติต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและบุคลากรให้มีความรู้และเข้าใจในการดับเพลิงขั้นต้นอย่างถูกต้องและปลอดภัย
2.เพื่อพัฒนาทักษะทางความคิดของนักเรียนและบุคลากรในการป้องกันและระงับอัคคีภัยอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติต่อไป
3.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการสำรวจและลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบจากการเกิดอัคคีภัยในโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู นักเรียน นักการภารโรง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
150 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เสนอขออนุมัติโครงการ 2. อนุมัติโครงการ 3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ 4. ประสานงานกับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 5. กลุ่มเป้าหมายตอบรับการเข้าร่วมโครงการ 6. ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมวิทยากรฝึกอบรม 7. จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับฝึกอบรม 8. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 9. ประเมินผลโครงการ 10. สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขออนุมัติโครงการ - --- --- --- 0.00
2.อนุมัติโครงการ -- --- --- --- 0.00
3.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ -- --- --- --- 0.00
4.ประสานงานกับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย -- -- --- --- 0.00
5.กลุ่มเป้าหมายตอบรับการเข้าร่วมโครงการ --- -- --- --- 0.00
6.ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมวิทยากรฝึกอบรม --- -- --- --- 0.00
7.จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับฝึกอบรม --- - --- --- 56,000.00
8.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย --- - -- --- 53,700.00
9.ประเมินผลโครงการ --- --- - --- 0.00
10.สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานโครงการ --- --- -- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 120 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00 - 16.00 น. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจถังดับเพลิง วิธีการใช้ถังดับเพลิงและการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น นางสาวสุนทรี ศรีเที่ยง ดร.กติกา สระมณีอินทร์ นางสาวกานต์นลินญา บุญที และนางสาวนิภาพร คำหลอม
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
09.00 - 16.00 น. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจถังดับเพลิง วิธีการใช้ถังดับเพลิงและการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น นางสาวสุนทรี ศรีเที่ยง ดร.กติกา สระมณีอินทร์ นางสาวกานต์นลินญา บุญที และนางสาวนิภาพร คำหลอม
6 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00 - 16.00 น. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจถังดับเพลิง วิธีการใช้ถังดับเพลิงและการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น นางสาวสุนทรี ศรีเที่ยง ดร.กติกา สระมณีอินทร์ นางสาวกานต์นลินญา บุญที และนางสาวนิภาพร คำหลอม
20 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00 - 16.00 น. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจถังดับเพลิง วิธีการใช้ถังดับเพลิงและการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น นางสาวสุนทรี ศรีเที่ยง ดร.กติกา สระมณีอินทร์ นางสาวกานต์นลินญา บุญที และนางสาวนิภาพร คำหลอม
3 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00 - 16.00 น. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจถังดับเพลิง วิธีการใช้ถังดับเพลิงและการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น นางสาวสุนทรี ศรีเที่ยง ดร.กติกา สระมณีอินทร์ นางสาวกานต์นลินญา บุญที และนางสาวนิภาพร คำหลอม

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.ลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบจากการเกิดอัคคีภัยในโรงเรียน 2.อุปกรณ์ดับเพลิงภายในโรงเรียนได้รับการตรวจสอบ เปลี่ยนถังและพร้อมใช้งาน 3.เป็นการป้องกันอัคคีภัยและลดความสูญเสียจากการเกิดอัคคีภัยขั้นร้ายแรงในโรงเรียน
ด้านสังคม : 1. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกิดทักษะการใช้ถังดับเพลิงเข้าระงับเหตุอัคคีภัยขั้นต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 2. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมดูแล ตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. เป็นการส่งเสริมและสนับสนุน และลดความเลื่อมล้ำระหว่างนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1. เป็นการป้องกันและระงับอัคคีภัยขั้นต้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในระดับร้ายแรงต่อไป 2. นักเรียนและบุคลากรเข้าใจและเกิดทักษะการกำจัดผงเคมีแห้งที่เกิดขึ้นจากการเข้าระงับอัคคีภัยเบื้องต้น
ด้านอื่นๆ : ปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของประเทศชาติ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
731.33 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1108 323 การป้องกันและควบคุมอัคคีภัย
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน - นักเรียนและบุคลากร เกิดทักษะการปฏิบัติในการดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 100 - นักเรียนและบุคลากร เกิดทักษะการปฏิบัติในการดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 - นักศึกษาที่ลงเรียนรายวิชาการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย เกิดทักษะการตรวจถังดับเพลิง การใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกต้องและปลอดภัย และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด - นักศึกษาที่ลงเรียนรายวิชาการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 100
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ - นักศึกษาที่ลงเรียนรายวิชาการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย เป็นผู้ช่วยวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติ ร้อยละ 50

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 19,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 49,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 2 วัน x วันละ 420.00 บาท
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ 100 บาทต่อชุด จำนวน 150 คน
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 41,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน (พิจารณาตามที่ใช้จริง )
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 500.00 บาท )
1) ค่าจัดทำป้ายไวนิลงานโครงการ
1 x 500 บาท
=
500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 37,500.00 บาท )
1) ค่าถังดับเพลิงใช้ในการฝึกซ้อม
75 x 500 บาท
=
37,500 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 109,700.00 บาท