แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววดียา เนตรพระ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถาปัตยกรรมหลัก
ประสบการณ์ : การออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม
ความเชี่ยวชาญ : อนุรักษ์พลังงาน
หัวหน้าโครงการ
นายจักรภพ เสาเวียง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายยง บุญอารีย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถาปัตยกรรม
ประสบการณ์ : สถาปนิก พ.ศ.2549-2557 อาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ประจำ พ.ศ.2557
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบสถาปัตยกรรม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวลลิดา บุญมี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถาปัตยกรรม
ประสบการณ์ : สถาปนิก พ.ศ.2550-ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ พ.ศ.2557
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบสถาปัตยกรรม
ผู้ร่วมโครงการ
นายกรกิฎ เหล่าสกุล คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ติ๊ก แสนบุญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในแต่ละสังคมย่อมประกอบด้วยคนหลากหลายกลุ่มทั้งชายหญิง เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการซึ่งในปัจจุบันทุกภาคส่วนต่างตระหนักถึงความสําคัญในการสร้างความเท่าเทียมในสังคม สําหรับงานด้านการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ยังไม่ได้คํานึงถึง กลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างครบถ้วนในการออกแบบก่อสร้างอาคารต่างๆ มักจะไม่มีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับ คนพิการหรือผู้สูงอายุ แม้ว่าจะมีการออกกฎกระทรวง กําหนดสิ่งอํานวยความสะดวกในอาคารสําหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.๒๕๔๘ ทั้งนี้ปัญหาประการหนึ่งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ และขาดประสบการณ์ในการออกแบบอาคารให้เหมาะสมต่อคนทุกกลุ่มและทุกวัย ส่งผลให้คนเหล่านี้ ประสบปัญหาในการดําเนินชีวิตประจําวันในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่มีฐานะยากจนจะประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีความสามารถแม้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของตนเองให้เหมาะสมกับการดําเนินชีวิตประจําวัน คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้จัดทํา “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม” (Universal Design in Architecture) เป็นแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในด้านการใช้งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนทุกกลุ่มทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก ผู้สูงอายุหรือคนพิการ โดยจะดําเนินการอบรมให้ความรู้ด้านออกแบบอาทรสถาปัตยกรรมให้กับองค์กรของรัฐ และชุมชนเมืองศรีไค ด้วยรูปแบบของการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานจริง (Learning by Doing) ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ที่ด้อยโอกาส ให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน ส่งผลให้แนวความคิด ดังกล่าวได้รับการเผยแพร่สู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ รวมถึงจะมีการแพร่หลายไปสู่สาธารณชน นอกจากนั้นยังเป็นการย้ำถึงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในการดูแลทุกข์สุขของพี่น้องประชาชนในจังหวัดอุบลราขธานีอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อฝึกอบรมด้วยการปฏิบัติงานจริงในการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการด้วยแนวคิดการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรมร่วมกับองค์กรของรัฐ และชุมชนเมืองศรีไค จังหวัดอุบลราชธานี
2.เพื่อประชาสัมพันธ์แนวความคิดเกี่ยวกับการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม
3.เพื่อเป็นการช่วยเหลือคนพิการที่ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุให้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และเอื้ออํานวยต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
4.เพื่อเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอน วิชา 2011343 การออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม (Universal Design in Architecture) สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
องค์กรของรัฐ และชุมชนเมืองศรีไค
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เตรียมความพร้อมในการจัดทําโครงการ - ประสานข้อมูลการได้รับงบประมาณสนับสนุนการปรับสภาพบ้านสําหรับคนพิการที่ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา) จากสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุบลราชธานี - ประสานความร่วมมือในการเตรียมเนื้อหาการอบรมเชิงปฎิบัติการ โดยวิทยากร จากคณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - ประสานงานกับนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และบูรณาการกับการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชา 2011343 การออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม (Universal Design in Architecture) - องค์กรธุรกิจที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ในการสนับสนุนวัสดุก่อสร้างเพื่อใช้ในการปรับสภาพบ้านพักอาศัยสําหรับคนพิการ 2. เตรียมการจัดอบรมเปิดโครงการ เชิญผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร โดยเชิญตัวแทนจากองค์กรของรัฐและองค์กรธุรกิจเข้าร่วมรับฟังความเป็นมาและแนวทางการดําเนินโครงการจัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม เตรียมสถานที่ อาหารและเครื่องดื่มในการอบรม 3. จัดอบรมเปิดโครงการ จํานวน ๑ วัน เพื่อเป็นการแนะนําความเป็นมาของโครงการ ชี้แจงแนวทางการดําเนินงานตามโครงการ อบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม และร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 4. เตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ กําหนดปฏิทินการลงพื้นที่รjวมกับผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร นักศึกษา และชุมชนบ้านเมืองศรีไค เพื่อเตรียมเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เตรียมว่าจ้างรถตู้โดยสาร เตรียมอาหารและเครื่องดื่ม 5. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม ตามพื้นที่ของชุมชนบ้านเมืองศรีไค ร่วมกันออกสํารวจบ้านคนพิการและผู้สูงอายุ โดยนักศึกษาและคณะวิทยากรประจํากลุ่ม จะจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความพิการของคนพิการที่ได้รับการคัดเลือก เข้าร่วมโครงการ สภาพอาคาร ความเป็นอยู่กิจวัตรประจําวันรวมทั้งสัมภาษณ์ เจ้าของบ้าน คนพิการ และผู้สูงอายุสําหรับใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบปรับสภาพบ้านพักอาศัย 6. ผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากรประจํากลุ่ม ร่วมกันปรึกษาหารือและจัดทําแบบ พร้อมประมาณการรายจ่ายเบื้องต้นในการปรับสภาพบ้านพักอาศัยสําหรับคนพิการ 7. เตรียมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสรุปแนวทางการดําเนินงาน โดยเชิญผู้เข้าร่วม อบรมและวิทยากร เชิญตัวแทนจากองค์กรธุรกิจ เข้าร่วมสังเกตุการณ์ จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม เตรียมสถานที่ อาหารและเครื่องดื่มในการอบรม 8. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสรุปแนวทางการดําเนินงานปรับสภาพบ้านพักอาศัยสําหรับ คนพิการ จํานวน ๑ วัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมแต่ละกลุ่มได้นําเสนอ พร้อมแบบร่าง ประมาณการวัสดุก่อสร้าง เพื่อให้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม ร่วมพิจารณาและให้คําแนะนําในการจัดทําแบบแปลนและการดําเนินการปรับสภาพบ้านพักอาศัย สําหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ 9. ดําเนินการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้พิการตามที่ได้มีการออกแบบไว้โดย -นักศึกษาและชุมชนบ้านเมืองศรีไค - องค์กรธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ สนับสนุนวัสดุก่อสร้างเพิ่มเติม - คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 10. เตรียมการสรุปผลการดําเนินโครงการ โดยเชิญผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม เตรียมสถานที่ อาหารและเครื่องดื่ม 11. จัดการสรุปผลการดําเนินโครงการ จํานวน 1 วัน เพื่อทบทวนแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการดําเนินโครงการ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผลการดําเนินการ และแนวคิดการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม ให้แก่องค์กรของรัฐ ชุมชนเมืองศรีไค และนักศึกษา 12. สรุปผลการดําเนินงานโครงการทบทวนข้อดีและข้อบกพร่อง เพื่อนําไปปรับปรุง การจัดทําโครงการที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ -- --- --- --- 5,000.00
2.เตรียมการจัดอบรมเปิดโครงการ -- --- --- --- 20,000.00
3.จัดอบรมเปิดโครงการ จํานวน 1 วัน -- --- --- --- 10,000.00
4.เตรียมการอบรมเชิงปฏิบัติการ -- --- --- --- 40,000.00
5.จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ -- --- --- --- 20,000.00
6.ผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากรประจํากลุ่มร่วมกันปรึกษาหารือและจัดทําแบบ พร้อมประมาณการรายจ่ายเบื้องต้นในการปรับสภาพบ้านพักอาศัยสําหรับคนพิการ และผู้สูงอา -- --- --- --- 20,000.00
7.เตรียมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสรุปแนวทางการดําเนินงาน --- -- --- --- 20,000.00
8.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสรุปแนวทางการดําเนินงานปรับสภาพบ้านพักอาศัยสําหรับคนพิการ จํานวน 1 วัน --- -- --- --- 10,000.00
9.ดําเนินการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้พิการตามที่ได้มีการออกแบบไว้ --- - --- --- 85,000.00
10.เตรียมการสรุปผลการดําเนินโครงการ --- --- -- --- 20,000.00
11.จัดการสรุปผลการดําเนินโครงการ จํานวน 1 วัน --- --- -- --- 15,000.00
12.สรุปผลการดําเนินงานโครงการทบทวนข้อดีและข้อบกพร่อง --- --- -- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 243 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
20 ตุลาคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 การบรรยายในหัวข้อ แนวทางการดําเนินงานปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย สําหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
20 ตุลาคม พ.ศ. 2560
13.00-17.00 การอบรมในหัวข้อ ประสบการณ์ในการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย สําหรับคนพิการ และผู้สูงอายุ คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
08.30-09.00 การแบ่งกลุุ่มผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร จํานวน 3 กลุุ่ม แนะนําตัวกําหนดแนวทางดําเนินงาน คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 เริ่มการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการประชุมกลุ่มย่อยระหว่างนักศึกษา ผู้เข้าร่วมโครงการและชุมชนเมืองศรีไค คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5 ธันวาคม พ.ศ. 2560
13.00-17.00 ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อสํารวจจัดเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัยของคนพิการ และผู้สูงอายุที่ได้ให้เข้าร่วมโครงการ องค์กรของรัฐ ชุมชนเมืองศรีไค นักศึกษา คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร
15 มกราคม พ.ศ. 2561
08.30-17.00 เริ่มปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้พิการ และผู้สูงอายุตามที่ได้ทำการออกแบบไว้ องค์กรของรัฐ ชุมชนเมืองศรีไค นักศึกษา คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
08.30-17.00 สรุปผลการดําเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม องค์กรของรัฐ ชุมชนเมืองศรีไค นักศึกษา คณาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : ตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของการอยู่อาศัย และปลูกฝั่งจิตสำนึกให้เกิดความเข้าใจของคนทุกวัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : เพื่อเป็นการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงบริบทของที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต้องคำนึงถึง ผู้พิการ เด็ก และผู้สูงอายุ
ด้านอื่นๆ : นักศึกษาได้รับความรู้จากการศึกษาด้วยการปฏิบัติจริง และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
60
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
30
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เป็นการซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยจริง และเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางอาทรสถาปัตยกรรม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 2011343 การออกแบบอาทรสถาปัตยกรรม (Universal Design in Architecture)
หลักสูตร สถาปัตยกรรม
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ได้นำเนื้อหาในการเรียนมาออกแบบอาทรสถาปัตยกรรมในสถานที่จริง และแก้ไขปัญหาได้จริง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด เรียนรู้ และสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัย และเข้าใจความเป้นอยู่ของชุมชนนั้นๆ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการบริการวิชาการ และนำมาสรุปความรู้เพื่อปรับใช้กับการเรียนการสอนที่แท้จริง

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 133,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 88,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 88,200.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
88,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 45,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 45,000.00 บาท )
1) จำนวน 30 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
45,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 90,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 56,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 56,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 7 คน x ครั้งละ 2,000.00 บาท
=
56,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 14,400.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 1,200 บาท/คัน/วัน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 130,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 10,500.00 บาท )
1) เอกสารประกอบการอบรม
400 x 20 บาท
=
8,000 บาท
2) อุปกรณ์การทำแบบจำลอง (Mass Model)
5 x 500 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 21,000.00 บาท )
1) โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
300 x 40 บาท
=
12,000 บาท
2) โบชัวร์ประชาสัมพันธ์การอบรม
300 x 30 บาท
=
9,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) หมึกปริ้น สีดำ
5 x 1,200 บาท
=
6,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำมัน
4 x 2,000 บาท
=
8,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 85,000.00 บาท )
1) วัสดุในการก่อสร้าง และซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ปรับปรุงในเป้นอาทรสถาปัตยกรรม
=
85,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 354,100.00 บาท