แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ศึกษาพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ “เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง” ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านภูดานกอย ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ (ปีที่3)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
ยังไม่ได้เพิ่มมาตรการ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนตามแนวพระราชดำริฯ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ณัชพล สามารถ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ส่งเสริมการเกษตร
ประสบการณ์ : งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม ที่ปรึกษาด้านการเกษตรผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ การมีส่วนร่วม(เกษตร)ติดตามประเมินผล
หัวหน้าโครงการ
นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตร์
ประสบการณ์ : "1) วิทยากรขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี 2554-2555 2) วิทยากรคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ปี 2544-2545 3) คณะกรรมการการเลือกตั้ง เขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 4) ที่ปรึกษาสภาข้าราชการพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ปี 2549-ปัจจุบัน 5) การวิจัยและพัฒนาการรับรองขบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : สถานภาพ ผู้ร่วมวิจัย 2549 6) วิจัยเรื่อง การเตรียมความพร้อมการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล กรณีศึกษาอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับทุนอุดหนุนโครงการพลเมืองส่งเสริมธรรมาภิบาล ภายใต้การสนับสนุนของโครงการสะพานและองค์กรระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 : สถานภาพ หัวหน้าโครงการ "
ความเชี่ยวชาญ : ทำการสอนในระดับปริญญาตรี วิชาหลักกฎหมายปกครองท้องถิ่น วิชากฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ วิชากฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน วิชากฎหมายผังเมืองและการควบคุมอาคาร และวิชาปัญหาการละเมิดสิทธิและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เดิมบ้านภูดานกอยไม่มีโรงเรียนในหมู่บ้าน เด็กนักเรียนจึงต้องทางไปเรียนที่บ้านหินเกิ้ง เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึงการสัญจรไปมายากลำบาก ผู้ปกครองเกรงว่าบุตรหลานจะได้รับอันตรายจากการเดินทาง ชาวบ้านจึงได้ขอความอนุเคราะห์ไปยังกองกำกับการตำรวจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 เพื่อขอจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอยขึ้น โรงเรียนตำรวจตระเวนขายแดนบ้านภูดานกอย จะเปิดสอน ป.1-ป.6 เป็นโรงเรียนในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยการศึกษาของเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบท ต้องเดินทางไกลไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ก่อสร้างไปได้ 30 % โดยความร่วมมือของข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน สนับสนุนบริจาคเงินวัสดุก่อสร้าง และแรงงานจากราษฎรในหมู่บ้าน และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญสนับสนุนเครื่องจักรในการปรับพื้นที่ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จ ให้สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ในเดือนพฤษภาคม 2558 แต่ยังขาดแคลนงบประมาณและอุปกรณ์ก่อสร้างอีกมาก ปัจจุบันมีชั้นเรียนประถมปีที่ 1-5 (ปีการศึกษา2560)ครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอนจำนวน ๘ นาย มีผู้อำนวยการคือร้อยตำรวจโทสุธาสินี เสริมสุข สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับกิจกรรมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการช่วยเหลือโรงเรียนประถมและมัธยมในท้องถิ่นเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคแห่งหนึ่ง มีคณะวิชาค่อนข้างครบถ้วนเหมาะสมที่จะทำงานพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่น ควรไปสำรวจโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สอบถามบุคลากรภายในว่าต้องการอะไรมีหลายอย่างที่ทำได้ เช่น การศึกษา ช่วยพัฒนาครู จัดการอบรม งานเกษตร ในโรงเรียนที่ทำอยู่แล้วขาดแคลนเรื่องอะไร เช่น ดิน น้ำ พันธุ์พืช เทคนิคการขยายพันธุ์พืช งานแปรรูปพืชผลการเกษตรเมื่อทำแล้วค่อยขยายผลสู่ท้องถิ่นต่อไป จากแนวทางพระราชทานข้อเสนอแนะประกอบกับความต้องการของศูนย์การเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านภูดานกอย จังหวัดอำนาจเจริญ จึงนำมาสู่การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองของโรงเรียน ผลผลิตที่ได้นำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเมื่อมีความเพียงพอระดับหนึ่งจึงแบ่งปันและขยายกิจกรรมสู่ชุมชน ในรูปแบบของการสร้างผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนโดยชุมชนมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์
1.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตามโครงการอาหารกลางวันในพระราชดำริ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียน ครูและ/หรือผู้ปกครองนักเรียน ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูดานกอย ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
. สนับสนุนปัจจัยทางการเกษตร เพื่อสร้างแปลงเรียนรู้และกิจกรรมในชั้นเรียน 2. กิจกรรมจิตอาสาและภาคีเครือข่าย งานวันเด็กแห่งชาติ ฯ 3. ฝึกอบรม นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน เพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตเกษตรและปฏิบัติจริงในแปลงเกษตร 3.1 ภาคทฤษฎี บรรยายในห้องโดยใช้สื่อช่วยสอน 3.2 ภาคปฏิบัติ สาธิตวิธีและสาธิตผลและให้ปฏิบัติในแปลงเรียนรู้ของศูนย์การเรียนฯ 4.ติดตามผล/สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ฝึกอบรม ฯ เทคโนโลยีการเลี้ยงจิ้งหรีด --- --- --- 40,000.00
2.กิจกรรมจิตอาสาและภาคีเครือข่าย วันเด็กแห่งชาติ --- -- --- --- 30,000.00
3.ปฏิบัติการเลี้ยงจิ้งหรีด(การทำกรงเลี้ยงจิ้งหรีด การให้น้ำ การให้อาหารแต่ละช่วงวัย ) -- --- --- --- 30,000.00
4.ติดตามผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ --- -- -- -- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 302 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน/พิธีการเปิดอบรม นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
09.00-12.00 น. บรรยายเทคโนโลยีการเลี้ยงจิ้งหรีด ผศ.ณัชพล สามารถ
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13.00-16.00 น. ปฏิบัติการเลี้ยงจิ้งหรีด(การทำกรงเลี้ยงจิ้งหรีด เทคนิคการให้น้ำ อาหารแต่ละช่วงวัย ) ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ วิทยากรรับเชิญ
6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้
6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
09.00-12.00 น. การแปรรูปและการเพิ่มมูลค่าจิ้งหรีด ผศ.ณัชพล สามารถ จิรศักดิ์ บางท่าไม้และวิทยากรรับเชิญ
6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00น. แบ่งกลุ่มการถนอมจิ้งหรีด การแปรรูปด้วยการทอด อบและผงจิ้งหรีดพร้อมบริโภค ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้และวิทยากรรับเชิญ
12 มกราคม พ.ศ. 2561
6.00-18.00น จิตอาสาและภาคีเครือข่าย ฯ (กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2561) ผศ.ณัชพล สามารถ นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ศูนย์การเรียนฯ สามารถนำผลผลิตจากการฝึกอบรมฯใช้ในโครงการอาหารกลางและแบ่งจำหน่ายในร้านค้าของศูนย์การเรียนฯ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน สามารถนำองค์ความรู้จากศูนย์การเรียนฯไปปฏิบัติจริงปรับเปลี่ยนการผลิตพืชเชิงเดี่ยวสู่การผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายและปลอดภัย ทางสังคม
ด้านสังคม : ได้องค์ความรู้ทางการเกษตร สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความรู้และอุดมการณ์ด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกิจกรรมจิตอาสา
ด้านสิ่งแวดล้อม : สร้างการผลิตที่หลากหลายเพิ่มขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1200

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1200472
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 2,400.00 บาท )
1) ค่าเดินทางไปราชการ จำนวน 2 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 240.00 บาท/ชม.
=
2,400.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 30,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 12,500.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
12,500.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จ้างเหมาออกแบบและจัดพิมพ์ไวนิล
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 73,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 73,300.00 บาท )
1) เหมาจ่ายรายหัว 100 ราย
=
73,300.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 120,000.00 บาท