แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การบริการวิชาการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางจีริสุดา คำสีเขียว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เภสัชกรรม
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจัดเป็นโรคเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยพบว่าความชุกของผู้ป่วยเบาหวานในทุกกลุ่มอายุ ทั่วโลกเป็น 2.8% ในปี 2000 และเป็น 4.4% ในปี 2030 หรือคิดเป็น 171 ล้านคน ในปี 2000 และเพิ่มขึ้นเป็น 366 ล้านคน ในปี 2030 และพบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วโลกเป็น 26.4% ในปี 2000 (95% CI 26.0-26.8%) โดยมีจำนวน 972 ล้านคน ในประเทศพัฒนาแล้วและ 333 ล้านคน ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการประมาณการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่จะเพิ่มเป็น 29.2% (95% CI 28.8-29.7%) หรือเป็น 1.56 พันล้านคนทั่วโลก ในปี 2025 จากข้อมูลจำนวนและอัตราป่วย-ตายจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของสถิติของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2540-2549 พบว่าอัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นจาก 148.7 เป็น 586.82 ในโรคเบาหวาน และเพิ่มขึ้นจาก 158.0 เป็น 659.57 ในโรคความดันโลหิตสูง และอัตราตายต่อประชากร 100,000 คน ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นจาก 7.5 เป็น 12.0 ในโรคเบาหวาน และเพิ่มขึ้นจาก 3.4 เป็น 3.8 ในโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ พบว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รวดเร็ว ประกอบกับภาวะโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือการตาย ส่งผลกระทบทำให้เกิดความสูญเสียในด้านคุณภาพชีวิต สังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการป้องกัน, การตรวจวินิจฉัย, การรักษาและการควบคุมโรคเป็นอันดับแรก จากข้อมูลในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา พบว่ามีประชากรที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ มากกว่าร้อยละ 50 ที่ได้รับการดูแลรักษาต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการดูแลต่ำกว่ามาตรฐานนั้น ได้แก่ ความไม่สอดรับของระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันต่อการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดแนวคิดต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่จำเป็น 6 องค์ประกอบ คือ (1) ทรัพยากรและนโยบายของชุมชน (2) หน่วยงานบริการสุขภาพในพื้นที่ (3) การสนับสนุนการดูแลตนเอง (4) การออกแบบระบบการให้บริการ ที่ประกอบด้วย การค้นหาและการคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนด (5) ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ และ (6) ระบบข้อมูลทางคลินิก เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐานการรักษา จากเหตุผลข้างต้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความพร้อมทั้งทางด้านแหล่งข้อมูลและบุคลากรที่จะให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร่วมกับ รพ.สต.ในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้เคยดำเนินงานโครงการนำร่องมาแล้วในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งโครงการได้รับการสนุนงบประมาณจากงบบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังนี้ จะเป็นการบริบาลเภสัชกรรมด้วยการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ จะเป็นการเปิดบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดในการรักษาด้วยยา และพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยใน รพ.สต. ซึ่งจะสามารถเป็นแหล่งดูงานของโรงพยาบาลอื่น และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ด้วยการออกเยี่ยมบ้าน
2.เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิชาชีพระหว่างคณะเภสัชศาสตร์และแหล่งฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านชุมชนของนักศึกษา (รพ.สต.)
3.เพื่อพัฒนาทักษะการให้บริบาลเภสัชกรรมของนักศึกษาเภสัชศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ รพ.สต.ในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ รพ.สต.เมืองศรีไค, รพ.สต.บัววัด - ผู้ให้บริการ ได้แก่ คณาจารย์ และนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ช่วงที่ 1 ประสานงาน ประสานขอข้อมูลกับ รพ.สต.เมืองศรีไค, รพ.สต.บัววัด 1. รายชื่อผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าเกณฑ์การออกเยี่ยมบ้าน 2. เตรียมข้อมูลผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว เตรียมแผนที่บ้านผู้ป่วย 3. ประสาน อสม.นัดหมายผู้ป่วยก่อนลงเยี่ยมบ้าน ช่วงที่ 2 ให้การบริบาลเภสัชกรรมด้วยการออกเยี่ยมบ้าน 1. ค้นหาปัญหาด้านยาพร้อมหาแนวทางแก้ปัญหา 2. การให้ความรู้และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยด้านโรค, ยา และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม 3. การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาและการทบทวนการใช้ยา 4. การทบทวนวันนัด (next visit) ช่วงที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน 1. สรุปผลการดำเนินงาน 2. จัดทำรายงายการศึกษา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงาน และ ดำเนินงาน -- --- --- 50,000.00
2.วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน --- - --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 273 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
26 ตุลาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 กิจกรรมเภสัชกรเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 1 คณาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13.00-16.00 กิจกรรมเภสัชกรเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 2 คณาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13.00-16.00 กิจกรรมเภสัชกรเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 3 คณาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
13.00-16.00 การอภิปรายทักษะการสื่อสารในการเยี่ยมบ้าน - นักศึกษานำเสนอวิดิโอการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คณาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
1 ธันวาคม พ.ศ. 2560
13.00-16.00 นำเสนอกรณีศึกษาในรูปแบบ SOAP note แก่เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่ คณาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้านยาจากคณาจารย์และเภสัชกรที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยา 2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหน่วยงานด้านสาธารณสุข มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาการระหว่างบุคลากรสาธารณสุข และเกิดความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และงานวิจัย 3. ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทเภสัชกรเชิงรุกในงานบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เภสัชกรรมชุมชน
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน กำหนดให้มีชั่วโมงสอนที่เกี่ยวข้อง ทั้งชั่วโมงบรรยายและชั่วโมงปฏิบัติการ (เรียนรู้แบบกรณีศึกษาในชุมชน; การออกเยี่ยมบ้าน)
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด กำหนดให้มีชั่วโมงนักศึกษาออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในโครงการร่วมกับอาจารย์
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ กำหนดให้นักศึกษาส่งรายงานกรณีศึกษาที่ใช้จริงในการแก้ปัญหาผู้ป่วยเฉพาะรายในรูปแบบ SOAP note

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 26,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 24,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 200.00 บาท x จำนวน 12 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทน อสม.ในการประสานชุมชนจำนวน 10 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 20,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน
=
2,000.00 บาท
2) ค่าจ้างวิเคราะห์ข้อมูล
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 27,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,500.00 บาท )
1) วัสดุสำนักงาน
1 x 3,500 บาท
=
3,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 3,500 บาท
=
3,500 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุการแพทย์ที่ใช้ในโครงการ
=
20,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 73,000.00 บาท