แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมครูประวัติศาสตร์ครั้งที่ 6 โบราณคดี-ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดินเเดนอีสานใต้
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและประเทศ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางวรรณพรรธน์ เฟรนซ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : โบราณคดี
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : โบราณคดีสมัยประวัติศาสต์ เเละ ประวัติศาสตร์ศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หัวหน้าโครงการ
นางสาวอภินันท์ สงเคราะห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประสบการณ์ : อาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : ประวัติศาสตร์กัมพูชา
ผู้ร่วมโครงการ
นายอนันท์ธนา เมธานนท์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
นายมิตต ทรัพย์ผุด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ประวัติศาสตร์
ประสบการณ์ : (1) วิทยากรอบรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) การวิจัยทางด้านระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ะวันตกคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 (3) การวิจัยประวัติศาสตร์สังคมเมืองภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสมัยอาณานิคม
ความเชี่ยวชาญ : (1) ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 (2) ประวัติศาสตร์สังคมเมืองภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางบริบทสังคมโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อันส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ทางด้านสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่จะต้องก้าวให้ทันเหตุการณ์ กอปรกับกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มีการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 ประวัติศาสตร์ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย ประกอบกับ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ การศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันนั้น มิได้มุ่งเน้นเเต่เพียงการศึกษาหลักฐานจากเอกสารทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว หากเเต่ได้รับการบูรณาการกับสาขาวิชาอื่นๆด้วย เช่น โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ เเละ มนุษยวิทยา เป็นต้น ทำให้การเรียนการสอนประวัติศาสตร์มีความสมบูรณ์รอบด้าน เเละ ยังทำให้ผู้เรียนสามารถตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนมากยิ่งขึ้นด้วย เพื่อให้ครูผู้สอนสังคมศึกษาหรือครูผู้สอนประวัติศาสตร์ได้ทราบถึงสถานการณ์และมีการพัฒนาการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านโบราณคดี เเละ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถนำประสบการณกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วในเขตพื้นที่อีสานใต้ ซึ่งมีพัฒนาการทางสังคมเเละวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ หลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงภารกิจของครูในระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่อีสานใต้ ที่จักได้มีโอกาสสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน และสร้างองค์ความรู้ในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อให้สามารถดำเนินตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการข้างต้น กอปรกับเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประเด็นเนื้อหาอันจักส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นเข้าใจบริบทสังคมไทยและสังคมโลกอย่างเท่าทัน ดังนั้น หลักสูตรสาขาประวัติศาสตร์จึงจัดโครงการการอบรมครูประวัติศาสตร์หรือครูผู้สอนสังคมศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้แก่คณาจารย์ในหลักสูตรและสถาบันการศึกษาอื่นๆที่เข้าร่วมโครงการได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกัน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ครูผู้สอนสังคมศึกษาหรือประวัติศาสตร์เข้าใจถึงสารัตถะของหลักสูตรแกนกลางที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ในปี 2551
2.เพื่อให้ครูผู้สอนสังคมศึกษาหรือประวัติศาสตร์เข้าใจถึงการพัฒนาศักยภาพการค้นคว้าวิจัย การจัดการเรียนการสอน เเละ บูรณาการกับศาสตร์อื่นๆในสาขามนุษยวิทยา เช่น โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ เเละ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
3.เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ทางด้านสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่อีสานใต้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู อาจารย์ผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระวิชาประวัติศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครพนม และคณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. วางแผนงาน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. จัดการอบรม/นิทรรศการ 4. สรุปและรายงานผลการดำเนินการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมคณาจารย์ในหลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อวางแผนงาน/แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน --- --- --- 0.00
2.กรรมการประชาสัมพันธ์โครงการ/จัดส่งเอกสารประกอบการอบรมไปยังโรงเรียนในเครือข่าย/เตรียมการจัดนิทรรศการ/จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม/ประสานงานกับวิทยากรจา --- --- --- 10,000.00
3.จัดการอบรม -บรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก และคณาจารย์ในหลักสูตร -แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมอบรม - เรียนรู้/ --- --- --- 114,800.00
4.รายงานผลการดำเนินงาน --- --- --- 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
9.00-12.00 บรรยายพิเศษและบรรยายเกี่ยวกับโบราณคดี เเละ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่อีสานใต้ วิทยากรภายนอกเเละภายใน
1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
13.00-16.00 ชมนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดี เเละ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสานใต้ วิทยากรภายใน เเละ นักศึกษา
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561
9.00-17.00 กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมเเละวิทยากร วิทยากรภายในเเละภายนอก
3 มิถุนายน พ.ศ. 2561
9.00-16.00 ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในเส้นทางวัฒนธรรมอีสานใต้ วิทยากรภายใน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : สามารถนำความรู้เกี่ยวกับโบราณคดี เเละ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นเเหล่งท่องเที่ยว ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของชุมชน
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการและครู อาจารย์ในพื้นที่ให้บริการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเเวดล้อมเเละโบราณสถาน ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในการดูเเลรักษามรดกวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม
ด้านอื่นๆ : สร้างเสริมการบูรณาการระหว่างการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี เเละ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1. มีการสร้างเครือข่ายในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ในหลักสูตร คณาจารย์มหาวิทยาลัยในเครือข่ายและอาจารย์โรงเรียนเครือข่ายในอีสานใต้ 2. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีประสบการณ์ในการเก็บข้อมูลภาคสนาม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1434 330 แหล่งประวัติศาสตร์เเละศิลปะในลุ่มน้ำโขง 1434 221 โบราณคดีอีสานใต้ 1432 213 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
หลักสูตร ประวัติศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มคอ.3 เเละ มคอ.5 ของรายวิชาที่ร่วมบูรณาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด มคอ.3 เเละ มคอ.5 ของรายวิชาที่ร่วมบูรณาการ เเละ การรายงานผลของการเข้าร่วมกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การจัดนิทรรศการเเสดวงผลงานของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการจัดอบรม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 27,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 19,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 1,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 800.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 17,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
3,000.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 91,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 18,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 2,500.00 บาท
=
10,000.00 บาท
2) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 200.00 บาท
=
800.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
2,400.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 10 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 39,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
24,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าจัดพิมพ์เอกสารประกอบการอบรม 100 ชุด ชุดละ 100 บาท
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 9,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
100 x 50 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์
2 x 500 บาท
=
1,000 บาท
2) ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์
100 x 30 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 127,800.00 บาท