แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ชยาพร แก่นสาร์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
ประสบการณ์ : 1. พัฒนาโปรแกรมให้กับระบบงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ม.อุบลราชธานี 2. อาจารย์สอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิชา การเขียนโปรแกรมภาษาจาวา ระบบฐานข้อมูล และการเขียนโปรแกรมบนมือถือและอุปกรณ์พกพา 3. เป็นวิทยากรบรรยายด้าน Database System และ Mobile Programming ให้กับ สกอ.,และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่ายม.อุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : 1. Database System, DBMS: Oracle 2. Mobile Programming 3. Web Programming
หัวหน้าโครงการ
นายณัฏฐ์ ดิษเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ประสบการณ์ : โครงการศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา : ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (พฤษภาคม 2555 – เมษายน 2560) โครงข่ายประสาทเทียมสำหรับรูปแบบพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (ปีงบประมาณ 2558: ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ตามผู้เรียน ทุนวิจัยหน้าใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มกราคม 2554 – ธันวาคม 2554)
ความเชี่ยวชาญ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ประสบการณ์ : - อาจารย์ผู้ดำเนินโครงการเพาะพันธ์ปัญญา - การดำเนินงานวิจัย และงานสอนทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
ความเชี่ยวชาญ : - การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) - เทคโนโลยีการเขียนโปรแกรม (Programming)
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในการศึกษาปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งมีการนำเอานวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมเพื่อช่วยผู้สอนนำเสนอเนื้อหาหรือบทเรียนเพื่อสื่อสารและนำเสนอในรูปแบบรูปภาพ เสียงหรือภาพเคลื่อนไหวในมิติต่างๆ ที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้าใจและสนใจเรียนมากขึ้น แต่ในการสร้างรูปแบบหรือการผลิตสื่อการสอนให้น่าสนใจ มีการนำเสนอบทเรียนที่ชัดเจน และเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสื่อหรือโปรแกรมนั้น ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผู้สอน เพราะแม้ว่าปัจจุบันจะมีโปรแกรมสำเร็จรูป หรือเว็บไซต์ให้บริการข้อมูลมากมาย แต่โปรแกรมหรือสื่อต่างๆ ข้างต้นก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานหรือนำเสนอข้อมูลอยู่เช่น สื่อหรือ CD การสอนที่เน้นการบรรยายหรือนำเสนอข้อมูลเพียงอย่างเดียว หรือการดูบทเรียนแบบวีดีโอภาพเคลื่อนไหว ซึ่งพบว่ายังขาดความน่าสนใจเนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว ขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสื่อและผู้เรียนได้ กอปรกับการแพร่หลายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนอุปกรณ์พกพา และแนวคิดเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ Smart Classroom นั้น ก็ยิ่งทำให้รูปแบบการใช้งานสื่อหรือโปรแกรมเพื่อจัดการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้นจึงได้นำเสนอโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู เพื่อให้ครูผู้สอนรู้ทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสอนสมัยใหม่ ให้สามารถพัฒนาและจัดการสื่อการสอนเอง รวมถึงประยุกต์ใช้สื่อการสอนด้วยโปรแกรมต่างๆ ให้หลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้บทเรียนหรือสื่อการสอนที่ถูกสร้างนั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจ ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้โครงการนี้ ยังมุ่งเน้นให้เกิดชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โรงเรียน และกลุ่มครูผู้สอนในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในยุคดิจิตอลนี้อีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์ของครูผู้สอน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันได้
2.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนระหว่างมหาวิทยาลัย และโรงเรียนให้มีมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษา จากโรงเรียนเครือข่ายพันธมิตรและโรงเรียน ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หรืออาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ในช่วงเดือน ธันวาคม 2560– พฤษภาคม 2561

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขออนุมัติยืมเงินทดรองจ่ายจากหน่วยงาน และแต่งตั้งกรรมการดำเนินโครงการ -- --- --- --- 20,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์โครงการ --- --- --- 25,000.00
3.ประสานงานการจัดโครงการ และจัดทำเอกสารการอบรม --- -- --- --- 15,000.00
4.จัดอบรมเชิงปฎิบัติการตามวัน-เวลาที่กำหนด --- -- -- --- 30,000.00
5.สรุป ประเมินผลและจัดทำเอกสารดำเนินงาน และรายงาน --- --- -- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 30 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 151 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
27 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-09.00 ลงทะเบียนและพิธีเปิดการอบรม หัวหน้าภาค หรือหัวหน้าโครงการ
27 มีนาคม พ.ศ. 2561
09.00-17.00 การจัดการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผศ.ชยาพร แก่นสาร์ และคณะ
28 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.30 การสร้างและจัดการสื่อการสอนบนอุปกรณ์พกพา (1) ผศ.ชยาพร แก่นสาร์ และคณะ
29 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.30 การสร้างและจัดการสื่อการสอนบนอุปกรณ์พกพา (2) ผศ.ชยาพร แก่นสาร์ และคณะ
30 มีนาคม พ.ศ. 2561
08.30-16.30 การประยุกต์ใช้งานโปรแกรมเพื่อสร้าง Smart Classroom ผศ.ชยาพร แก่นสาร์ และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ลดงบประมาณการจัดซื้อสื่อการสอนได้ เพราะโครงการนี้ จะช่วยพัฒนาทักษะของครูในการสร้างหรือจัดการสื่อการสอนได้
ด้านสังคม : เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โรงเรียนและกลุ่มครูผู้สอน
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
75
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 35,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 30,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 500.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 5,500.00 บาท )
1) ผู้ช่วยวิทยากรจำนวน 5 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 220.00 บาท/ชม.
=
5,500.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 43,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 19,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
19,200.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์
=
1,000.00 บาท
2) ค่าจัดทำเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าอบรม
=
1,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทําเว็บไซต์และการลงทะเบียนเพื่อใช้สําหรับ การอบรม
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 21,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจัดทําเอกสารและซีดีประกอบการอบรม
50 x 80 บาท
=
4,000 บาท
2) ค่าวัสดุสํานักงาน
1 x 4,000 บาท
=
4,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าไวนิล แผ่นผ้าประชาสัมพันธ์โครงการอบรม
3 x 1,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 10,300.00 บาท )
1) Flash Drive 16GB
4 x 250 บาท
=
1,000 บาท
2) ค่าหมึกพิมพ์สี
1 x 1,500 บาท
=
1,500 บาท
3) Tablet สำหรับใช้ในการอบรมและทดสอบระบบ
1 x 7,800 บาท
=
7,800 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท