แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บริการตรวจเชื้อเลปโตสไปร่า เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจารุวรรณ์ วงบุตดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สรีรวิทยา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนไทยในปัจจุบัน และพบว่ามีโรคติดต่อหลายโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คน ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดนก และโรคเลปโตสไปโรสิส เป็นต้น โดยเฉพาะโรคเลปโตสไปโรสิส ที่ไม่มีการระบาดมาหลายปี และกลับมาระบาดอีกครั้งประมาณปี 2537 เป็นต้นมา จนถึงปี 2542 โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ (กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2542) จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในบริเวณพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลมีน้ำไหลผ่านตลอดปี และหนองน้ำธรรมชาติล้อมรอบบริเวณที่อยู่อาศัย และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาทางด้านสาธารณสุข ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีได้ประสบปัญหามาโดยตลอด คือ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือที่เรียกว่า “โรคฉี่หนู” พบมากในช่วงฤดูทำนา และพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ในปัจจุบันข้อมูลจากการรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำปี 2553 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การกระจายของโรคเลปโตสไปโรสิสจำแนกรายภาคในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549 – 2553) พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยสูงสุดทุกปี ภาคใต้มีแนวโน้มสูงขึ้นติดต่อกันทุกปี ในปี พ.ศ. 2550 ภาคเหนือ และภาคกลาง มีอัตราป่วยลดลง จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2554 จัดหวัดอุบลราชธานี มีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส 47 คน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 1 ราย และในปี 2555 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2555) จากรายงานสถานการณ์โรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ของกลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 15 ราย เป็นเพศชายทั้ง 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.83 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งจะเห็นว่ายังมีรายงานผู้ป่วยอยู่และมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราการป่วยที่อาจจะมีสูงขึ้นและป้องกันการตายจากการป่วย จึงควรหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค และหากลวิธีและแนวทางในการป้องกันการระบาดของโรคในอนาคต เนื่องจากโรคเลปโตสไปโรสิสเป็นปัญหาโรคติดต่อที่สำคัญ ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องและซ้ำซาก และมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชน แม้ว่าจะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ และสามารถรักษาได้ก็ตาม ดังนั้นการบริการตรวจเชื้อเลปโตสไปร่า เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิส จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส นอกจากนี้ยังช่วยให้หน่วยงานทางราชการด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อบริการตรวจเชื้อเลปโตสไปร่า
2.เพื่อรณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 การสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส 1.1.1 สร้างแบบสอบถาม โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่านประเมินความตรง (validity) ของเครื่องมือ 1.1.2 สำรวจการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส 1.2 ตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่าจากหนูบ้านและหนูนาในเขตพื้นที่ศึกษา 1.3 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส 1.4 จัดทำฐานข้อมูลเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิส 1.5 สรุปผลและนำเสนอในงานประชุมวิชาการ หรือตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รวบรวมข้อมูล - --- --- --- 0.00
2.สร้างแบบสอบถาม -- -- --- --- 2,000.00
3.สำรวจการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส --- - -- --- 5,000.00
4.ตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่าในหนูบ้านและหนูนา -- --- --- 23,000.00
5.รณรงค์ให้ความรู้และการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส --- -- -- --- 28,000.00
6.วิเคราะห์ข้อมูล --- --- - --- 5,000.00
7.จัดทำสื่อโรคเลปโตสไปโรสิสออนไลน์ --- --- --- - 15,000.00
8.สรุปผลและจัดทำรายงาน --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1. ทราบถึงการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิสของประชาชน 2. ผลที่ได้สามารถขยายในพื้นที่ต่างๆ และผลงานวิจัยต่อไปได้
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 78,650.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
10,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 11,250.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
11,250.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 51,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสำรวจข้อมูลความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส
=
3,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศกาล
=
4,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาตรวจเชื้อเลปโตสไปร่า
=
25,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อออนไลน์
=
15,000.00 บาท
6) ค่าถ่ายเอกสารและจัดทำรูปเล่ม
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 11,180.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
5 x 1,000 บาท
=
5,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์
1 x 1,500 บาท
=
1,500 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
4 x 750 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 1,680.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง
60 x 28 บาท
=
1,680 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 102,430.00 บาท