แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาการบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และพัฒนาโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับ
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2555 - 2557 ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556-2557
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
หัวหน้าโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
นายอารี บุตรสอน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : - คณะกรรมการตัดสินงานวิจัย - วิทยากร R2R
ความเชี่ยวชาญ : - การจัดการสาธารณสุขชุมชน และอนามัยชุมชน - การวิจัยด้านสาธารณสุข และระบาดวิทยา
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.กิตติ เหลาสุภาพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : รับราชการ ตำหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติงานในภาครัฐและชุมชนกว่า 25 ปี
ความเชี่ยวชาญ : สาธารณสุขชุมชน วิทยาการระบาด พฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางพัจนภา ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
ประสบการณ์ : ร่วมโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เปิดโลกการเรียนรู้ สู่ร่างอาจารย์ใหญ่ งบประมาณ 2556 ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมปีงบประมาณ 2555-2557 หัวหน้าโครงการวิจัยทางด้านโภชนการชุมชน ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ปี 2555
ความเชี่ยวชาญ : -อาหารและโภชนาการชุมชน -พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
เหรัญญิก
ดร.ปวีณา ลิมปิทีปราการ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร นักวิชาการสุขาภิบาล 6 ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการมูลฝอยอันตราย การหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ในครัวเรือน การจัดการขยะนาโนเทคโนโลยี
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ปัญหาทางด้านสุขภาพของมนุษย์เป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขปัญหาหนึ่ง จากการรายงานสถิติของอัตราผู้ป่วยใน 10 อันดับแรกของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2558 พบว่า อัตราป่วยอันดับหนึ่งคือ ระบบต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึ่ม ส่วนโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงอยู่ในลำดับที่ 7 และ 8 ตามลำดับ และยังพบว่าอัตราตาย 10 อันดับแรกของปี 2557 คือ โรคมะเร็งอันดับหนึ่ง และโรคเบาหวานอยู่ในลำดับที่ 8 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, 2559) ซึ่งจะพบว่าโรคที่กล่าวมาข้างบนเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชนไม่ดี เช่น เรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การจัดการกับระบบความเครียดของตนเอง สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งหากประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง อาจจะส่งผลให้การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่รุนแรงมากกว่าเดิม และสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นโรคยังเป็นการป้องกันการเกิดโรคได้อีกด้วย จากการศึกษาข้อมูลสถานะสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิรินธร เป็นอำเภอที่ติดเขตชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และห่างไกลจากเขตเมือง และจากการศึกษาอัตราการป่วยของผู้ป่วยนอก 10 อันดับแรกของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิรินธร รายงานในปีก 2553 พบว่า โรคระบบต่อมไร้ท่อโภชนาการ และเมตาบอลิซึม อยู่ในลำดับที่ 3 มีอัตราป่วย 27,871.59 ต่อแสนประชากร และพบว่าอัตราการป่วยของผู้ป่วยใน 10 อันดับแรก พบว่าโรคโรคระบบต่อมไร้ท่อโภชนาการ และเมตาบอลิซึม อยู่ในลำดับที่ 1 โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อยู่ในลำดับที่ 6 และ 7 ตามลำดับ (โรงพยาบาลสิรินธร, 2558) ซึ่งโรคดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเอง ดังนั้นหากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม ก็มีจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรค และช่วยชะลอโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้นได้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ประชาชน ป้องกันการเกิดโรค เพื่อเป็นการให้บริการความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ยังเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยฯ จึงเสนอโครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และประยุกต์ความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำความรู้ที่ได้แก้ไขพฤติกรรมที่นำไปสู่การป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้กับประชาชนได้สามารถควบคุมเรื้อไม่ให้มีอาการเพิ่มมากขึ้น สามารถทำงานและดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพในกลุ่มต่างๆของชุมชนบ้านเวินบึก 2.เพื่อจัดเวทีประชาคมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาและผลกระทบทางด้านสุขภาพ ตลอดจนหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน 3.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้กับประชาชนในเรื่อง การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การดูแลสภาพสิ่งแวดล้อม และการดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ในการป้องกันโรคเรื้อรัง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาสุขภาพในชุมชน 3.ดำเนินการสำรวจสภาวะสุขภาพในกลุ่มต่างๆของชุมชนบ้าน 4.ดำเนินกิจกรรมหรือโครงการเพื่อไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน 5.ประเมินผลกิจกรรม 6.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -- --- --- --- 5,000.00
2.ดำเนินการวินิจฉัยชุมชน และทำประชาคมร่วมกับชุมชน -- --- --- --- 25,000.00
3.จัดกิจกรรมและโครงการย่อย เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพร่วมกับชุมชน -- --- --- --- 100,000.00
4.ประเมินผลการจัดกิจกรรม -- --- --- --- 25,000.00
5.จัดรายงานผลการดำเนินงานโครงการ -- --- --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน ค้นหาปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์
21 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 12.00 น. บรรยาย เรื่อง การดูแลสุขภาพ ให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3อ อ.พัจนภา วงษาพรหม
21 ธันวาคม พ.ศ. 2560
13.00 - 16.30 น. บรรยาย เรื่อง หลักการของการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย อ.ดร.อารี บุตรสอน
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
08.30 - 16.30 น. บรรยาย เรื่อง การปวดเมื่อยร่างกาย - สาเหตุของการเกิดอาการปวดเมื่อย - วิธีลดอาการปวดเมื่อย - การปร อ.จีราพร ทิพย์พิลา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดูแลผู้ป่วย ในชุมชน
ด้านสังคม : -เกิดเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ -มีเครือข่ายในการทำงานร่วมกับชุมชน ทั้งระดับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : -การรักษาและปรับปรุง สภาพแวดล้อมในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ของประชาชน
ด้านอื่นๆ : -การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานกับชุมชน และเป็นการทำงานเชิงรุกในการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นเหตุที่จะทำให้การลดต้นทุนในการรักษาพยาบาลลดลง อีกทางหนึ่ง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1902401
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน -
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 100 ของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวน 4 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 22,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 69,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
25,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 7,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 5,200.00 บาท )
1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
5 x 600 บาท
=
3,000 บาท
2) ค่าวัสดุ (กระดาษ A 4 `กระดาษ 100 ปอนด์ กระดาษพรูฟ ปากกา ดินสอ สมุด สี ปากปาเมจิก กาว สกอตเทป)
1 x 2,200 บาท
=
2,200 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 2,400.00 บาท )
1) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
3 x 800 บาท
=
2,400 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท