แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการการใช้กลยุทธ์ทางการเงินและความรู้ทางการบัญชีสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มุ่งสู่การเป็นประเทศไทย4.0
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวมนัสดา ชัยสวนียากรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาขาการบัญชีบริหาร(Managerial Accounting)
ประสบการณ์ : การบัญชีภาษีอากร/การบัญชีภาคธุรกิจผลิต/การบัญชีธุรกิจบริการ/การบัญชีกิจการซื้อมาขายไป/การวางระบบบัญชี/การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express/Autoflight/Easy Acc
ความเชี่ยวชาญ : การบัญชีภาษีอากร/การบัญชีภาคธุรกิจผลิต/การบัญชีธุรกิจบริการ/การบัญชีกิจการซื้อมาขายไป/การวางระบบบัญชี/การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Express/Autoflight/Easy Acc
หัวหน้าโครงการ
นางสาวกุลภา โภคสวัสดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : 1. ผู้เชี่ยวชาญการจัดทำแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร พ.ศ. 2559-2563 2. วิทยากรโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำทบทวนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดมุกดาหาร 2557-2559
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารเชิงกลยุทธ์ วิจัยด้านการบริหาร และการตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปวีณา ทองบุญยัง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : วิทยากรการอบรมการเขียนแผนธุรกิจ และด้านงานวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : ด้านบริหารธุรกิจ
ผู้ร่วมโครงการ
นายสัจวัฒก์ วรโยธา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจ (การภาษีอากร)
ประสบการณ์ : วางระบบบัญชี /บัญชีบริหาร/ภาษีอากร/ควบคุมและตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : วางระบบบัญชี /บัญชีบริหาร/ภาษีอากร/ควบคุมและตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวสุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : นักวิจัยการตลาด นักบริหารคุณภาพ
ความเชี่ยวชาญ : วิจัยการตลาด บริหารคุณภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววิลาสินี แสงคำพระ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายมงคล กิตติวุฒิไกร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : - บัญชีภาครัฐ (โรงพยาบาล)
ความเชี่ยวชาญ : - บัญชีการเงิน - บัญชีบริหาร
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านโมเดลเศรษฐกิจจาก Thailand 1.0 ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ Thailand 2.0 ที่เน้นภาคอุตสาหกรรมเบา และก้าวไปสู่ Thailand 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกำลังติดอยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) โดยไม่สามารถก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (High Income Country) ดังนั้น โมเดลเศรษฐกิจของประเทศไทยขั้นต่อไปหรือที่เรียกว่า Thailand 4.0 จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านสู่ Value-Based Economy โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงจำเป็นต้องค้นหากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตรูปแบบใหม่ (New Engines of Growth) เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21“ภายใต้ Thailand 4.0 ประเทศไทยกำลังมุ่งไปสู่การสร้างรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องพร้อมปรับแนวคิดและทัศนคติ (Mindset) ค้นหาแนวคิดใหม่ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมผู้ประกอบการให้พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น(นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ :การเสวนา DEFINING 4.0 วันที่ 27 มิถุนายน 2559) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อันเป็นการรวมกลุ่มที่สำคัญของประชาชนในการสร้างอาชีพ ผลิตภัณฑ์และบริการในแต่ละชุมชน ก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้ทันต่อการแข่งขัน เสริมสร้างความรู้ทางด้านการบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยการปรับแนวคิด รูปแบบและวิธีการบริหารจัดการ ตลอดจนการนำความรู้ทางการบัญชีและการเงินมาใช้เพื่อการเพิ่มผลกำไรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และนำใช้เทคโนโลยีและพัฒนาสู่ระบบดิจิทัล ประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการขาย จะสามารถเพิ่มศักยภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนให้พร้อมสู่การแข่งขัน มีความมั่งคั่งและยั่งยืน มีความแข็งแกร่งในการดำเนินงาน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน ก็จะส่งผลในภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทย ให้สามารถก้าวไปสู่เศรษฐกิจ 4.0 จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น หน่วยจัดการเรียนการสอนจังหวัดมุกดาหาร อันเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเสนอโครงการดังกล่าว ตามพันธกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย คือ " การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน " อันจะเป็นการบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขีดความสามารถของวิสาหกิจกชุมชน อันจะส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจระดับจังหวัด ให้สามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของประเทศไทยในภาพรวม

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการและศักยภาพด้านการเงินและการบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้งด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด การวางแผนกลยุทธ์ทางการเงินและบัญชี การนำความรู้ด้านบัญชีและการเงิน การบริหารต้นทุนและวางแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0
2.เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากวิสาหกิจชุมชน โดยใช้ความรู้ด้านการบัญชีและการเงิน เพื่อความเข้มแข็งทางการเงินและความยั่งยืนของสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
3.เพื่อการบูรณาการและเชื่อมโยงความรู้และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย จากทฤษฎีสู่การประยุกต์จริงในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
สมาชิกจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมุกดาหารและใกล้เคียง(โดยเลือกจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารและผลิิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร/วิสาหกิจชุมชนทอผ้าดั้งเดิม/วิสาหกิจชุมชนจักสานไม้ไผ่/วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวและโฮมสเตย์ )
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
(1) การประชุมเตรียมความพร้อมก่อนการจัดกิจกรรม (2) การประชาสัมพันธ์โครงการ (3) การรวบรวมข้อมูลโครงการและคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการ (4) การจัดกิจกรรมการอบรม (5) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ (6) การสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การประชุมเตรียมความพร้อมผู้ร่วมโครงการและทีมงาน -- --- --- --- 5,000.00
2.การสำรวจและรวบรวมข้อมูลโครงการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง -- --- --- --- 2,000.00
3.การประชาสัมพันธ์โครงการและคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการ -- --- --- --- 5,000.00
4.การประชุมเตรียมงานก่อนเริ่มดำเนินโครงการ -- --- --- --- 0.00
5.การจัดกิจกรรมการอบรม --- -- --- --- 66,000.00
6.การลงไปติดตามผลหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการการ เพื่อการกำดับดูแลที่มีประสิทธิภาพว่าหลังจัดกิจกรรม กลุ่มวิสาหกิจมีการดำเนินงานตามที่ได้อบรมไปหรือไม่ ตลอดจ --- -- --- --- 5,000.00
7.การสรุปผลการดำเนินงานโครงการและการสร้างฐานข้อมูลผลการดำเนินงานของโครงการเพื่อการเผยแพร่ --- -- --- --- 2,000.00
8.จัดทำและส่งเล่มสรุปผลการดำเนินงานโครงการในระบบบริหารจัดการโครงการของมหาวิทยาลัย --- --- -- --- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561 - 21 มกราคม พ.ศ. 2561 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
20 มกราคม พ.ศ. 2561
09.00-10.00 การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนรองรับการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 คณะวิทยากรรับเชิญจากพาณิชยจังหวัด/พัฒนาชุมชน จำนวน 2 ท่าน
20 มกราคม พ.ศ. 2561
10.00-12.00 การวิเคราะห์ SWOT และ Five Forces Model ของวิสาหกิจชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุลภา โภคสวัสดิ์(บรรยาย)/นางสาวสุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์(ประจำกลุ่ม)
20 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00-15.00 การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อการเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ นางสาวปวีณา ทองบุญยัง
20 มกราคม พ.ศ. 2561
14.30-16.30 การบริหารความเสี่ยง การออกแบบระบบบัญชีที่ดี การวางแผนและการควบคุมภายใน เพื่อก้าวสู่เป้าหมายของวิสาหก นายสัจวัฒก์ วรโยธา
21 มกราคม พ.ศ. 2561
10.30-12.00 การใช้ศาสตร์ทางด้านบัญชีและการเงิน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับวิสาหกิจชุมชน /วิสาหกิจชุมชนตั นางสาวมนัสดา ชัยสวนียากรณ์
21 มกราคม พ.ศ. 2561
13.00-15.00 การจัดทำงบประมาณล่วงหน้า เพื่อการวางแผนกำไรและบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ นายมงคล กิตติวุฒิไกร
21 มกราคม พ.ศ. 2561
15.00-17.00 การถอดบทเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อการวางแผนดำเนินงานสำหรับวิสหากิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ(ถอดบทเรียนหัวข้ นางสาววิลาสินี แสงคำพระ
21 มกราคม พ.ศ. 2561
09.00-10.30 ความรู้ด้านบัญชีและการเงิน เพื่อการเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ นางสาวมนัสดา ชัยสวนียากรณ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : (1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับความรู้ด้านการบริหารจัดการ/การบัญชีและการเงิน/การวางแผนการตลาดที่ดีและการได้รับการพัฒนาช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้า (2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนทางในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
ด้านสังคม : เกิดความเชื่อมโยงความรู้สู่การประยุกต์ใช้จริง ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน อันเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย เกิดความสัมพันธ์ทีดีระหว่างชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : การพัฒนาทักษะและความรู้ของนักศึกษาผู้เป็นผู้ช่วยวิทยากรภาคปฏิบัติให้ทักษะความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าแสดงออก และมีโอกาสให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงความรู้จากการศึกษาในมหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติงานจริง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1075บาท/คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การบัญชีขั้นต้น(1707101)
หลักสูตร บัญช
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำเนื้อหาของการจัดอบรมเข้าสอดแทรกในหัวข้อ " ความรู้พื้นฐานในการจัดทำบัญชี"
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาให้เป็นผู้ช่วยวิทยากรภาคปฏิบัติ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มอบหมายให้สรุปปัญหา แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 13,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
4,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานจำนวน 5 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 57,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 9,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 400.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
4,500.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
14,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 120.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 2,500 บาท/คัน/วัน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,100.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 8,600.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน(ประกอบด้วย ปากกา กระดาษ สมุด ดินสอ แฟ้ม ฟิวเจอร์บอร์ด และอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ ในการจัดทำโครงการ)
1 x 2,200 บาท
=
2,200 บาท
2) ค่าถ่ายสำเนาเอกสารประกอบการอบรม
80 x 80 บาท
=
6,400 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 1,300.00 บาท )
1) ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์
1 x 1,300 บาท
=
1,300 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 2,200.00 บาท )
1) ค่าหมึกเครื่องคอมพิวเตอร์
1 x 2,200 บาท
=
2,200 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 86,000.00 บาท