แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ "ลดต้นทุน มุ่งสู่กำไรที่มากขึ้น" ของกลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายมงคล กิตติวุฒิไกร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : - บัญชีภาครัฐ (โรงพยาบาล)
ความเชี่ยวชาญ : - บัญชีการเงิน - บัญชีบริหาร
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านผ้าไหมไทยและผลิตภัณฑ์ผ้าที่ย้อมจากวัสดุธรรมชาติมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานในชนบท ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทย เป็นเอกลักษณ์ไทยที่ได้รับการกล่าวขวัญมานานแล้วในด้านความงดงามของสีสัน และลวดลาย รวมถึงฝีมือการทอผ้าของคนไทยที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมและฝ้ายของไทยนั้น ต่างได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีขั้นตอนการผลิตที่ใช้แรงงานคนไทยเป็นหลัก ซึ่งเหมาะสมกับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีแรงงานเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ อุตสาหกรรมการผลิตไหมไทยและผ้าฝ้ายสามารถสร้างงานให้กับชาวบ้านและเป็นการเพิ่มรายได้ให้แรงงานในชนบทด้วย โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายสามารถสร้างรายได้ให้แรงงานในชนบทด้วย ผ้าหมักโคลน อำเภอหนองสูง เป็นภูมิปัญญาของชนเผ่าภูไท อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ตั้งแต่โบราณกาลและยังคงสืบทอดเทคนิคการทำผ้าหมักโคลนมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเอกลักษณ์ผ้าทอมือเส้นใยธรรมชาติของบ้านหนองสูงเป็นที่รู้จักกันทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย ซึ่งชาวบ้านหนองสูงถือเป็นต้นกำเนิดของการผลิตผ้าหมักโคลน ซึ่งมีการผลิตอยู่หลายชุมชน และหนึ่งในนั้นเป็นผู้ผลิตจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าดังเดิม ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้าไหมหมักโคลน โดยให้กลมกลืนกับรูปแบบดั้งเดิม ของชาวภูไท เมืองหนองสูง ภายใต้เครื่องหมายการค้า “แก่นเข-เพกา” สำหรับที่มาของผ้าหมักโคลน สมัยก่อนชาวบ้านไปหาปลาในหนองน้ำแล้วใช้แหเพื่อดักจับปลา แต่หลักใหม่แหมีสีขาวทำให้ปลาว่ายหนีไปหมดชาวบ้านจึงนำไปแช่ในโคลนเพื่อให้แหมีสำดำคล้ำ หลังจากนั้นชาวบ้านจึงได้ลองนำเทคนิคดังกล่าวไปใช้กับการทำผ้าทอ โดยนำผ้าไปหมักในโคลนเช่นเกียวกันกับแหและนำไปย้อมต่อด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งพบว่าผ้าที่ผ่านการหมักด้วยโคลนจะได้สีสันที่แปลกไปจากผ้าที่ไม่ได้หมักโคลน ซึ่งเมื่อนำไปย้อมสีก็จะได้ผ้าที่มีสีสดมากขึ้น เพราะโคลนช่วยจับสีทำให้สีเข้มขึ้น และมีติดทนนาน สำหรับโคลนที่ใช้ในการหมักนี้จะใช้โคลนที่หนองน้ำ บ้านหนองสูง ซึ่งเป็นดินโคลนที่มีอายุประมาณ 300-400 ปี ซึ่งโคลนในท้องถิ่นอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ควรใช้โคลนดินเหนียว และเนื้อโคลนต้องละเอียดไม่มีเม็ดดินเม็ดทรายปะปน ส่วนขั้นตอนการทำผ้าหมักโคลนไม่ยุ่งยาก เพียงมีหลายขั้นตอนต้องใช้ความอดทนในการทำ จากเทคนิควิธีการผลิตผ้าฝ้ายหมักโคลนทำให้มีผ้าฝ้ายมีสีที่ติดทนนาน มีความสวยงาน และเนื้อของผ้ามีความนุ่มมากขึ้น จะสังเกตได้ว่าจากการที่วิสาหกิจชุมชน หรือการชาวบ้าน ชุมชนอำเภอหนองสูง ได้ไปออกนิทรรศกาลแสดงสินค้าพื้นเมือง จะพบว่าราคาของผ้าฝ้ายหมักโคลนมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากต้นทุนที่สูงจากกรรมวิธีการผลิต หรือวัตถุดิบที่ใช้ เช่นโคลนที่ใช้ในการหมักเป็นโคลนที่มีอายุประมาณ 300-400 ปี ซึ่งถ้ามีการผลิตอย่างต่อเนื่องโคลนที่ใช้ในการหมักเป็นวัตถุดิบที่สำคัญต้องใช้อาจมีปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นต้องมีวิธีการที่สร้างโคลนใหม่มาทดแทนเก่า การไม่ได้คิดค่าแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนผลิตภัณฑ์ของผู้ลิต การจำแนกต้นทุนผิดประเภท การตั้งราคาขายจากสินค้าที่คล้ายคลึงกันโดยไม่สัมพันธ์กับต้นทุน การไม่ได้วิเคราะห์จุดคุ้มทุน รวมทั้งการวิเคราะห์สะภาพการดำเนินงานหลังการขาย เป็นต้น ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการจึงเห็นปัญหาดังกล่าวจึงสนใจที่จะจัดโครงการ “ลดต้นทุน มุ่งสู่กำไรมากขึ้น” ของกลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อให้ชุมชนได้ทราบถึงต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่แท้จริง และสามารถวางแผนการดำเนินงานให้มีกำไรมากขึ้น

วัตถุประสงค์
1.กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถรู้และเข้าใจระบบต้นทุน
2.กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถวิเคราะห์ จำแนก คำนวณต้นทุนได้
3.กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถลดต้นทุนผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มกำไรให้กับชุมชนได้
4.กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถวางแผน วิเคราะห์ และประเมินผลผลการดำเนินงานได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ศึกษาเอกสารวิจัย ตำรา ที่เกี่ยวข้อง 2. ติดต่อประสานงานกับตัวแทนกลุ่มภูมิปัญญาภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร 3. ประชุมทีมเพื่อซักซ้อมความพร้อมก่อนการลงพื้นที่ 4. ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล 5. นำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดทำเอกสารคู่มือต้นทุนผลิตภัณฑ์ 6. ประชุมทีมเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนลงพื้นที่ 7. ติดต่อประสานตัวแทนกลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร 8. ลงพื้นที่พร้อมให้ความรู้การคำนวณต้นทุน ภาคปฏิบัติ(การสำรวจ) 9. การประชุมระหว่างผู้ดำเนินโครงการและชาวบ้านเพื่อถอดบทเรียน 10. ติดตามผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.ศึกษาเอกสารวิจัย ตำรา ที่เกี่ยวข้อง - --- --- --- 0.00
2.ติดต่อประสานงานกับตัวแทนกลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร -- --- --- --- 0.00
3.ประชุมทีมเพื่อซักซ้อมความพร้อมก่อนการลงพื้นที่ -- --- --- --- 0.00
4.ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล --- -- --- --- 3,150.00
5.นำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดทำเอกสารคู่มือต้นทุนผลิตภัณฑ์ --- -- --- --- 0.00
6.ประชุมทีมเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนลงพื้นที่ --- -- --- --- 21,000.00
7.ติดต่อประสานงานกับตัวแทนกลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร --- -- --- --- 3,150.00
8.ลงพื้นที่พร้อมให้ความรู้การคำนวณต้นทุน ภาคปฏิบัติ(การสำรวจ) --- --- -- --- 47,700.00
9.การประชุมระหว่างผู้ดำเนินโครงการและชาวบ้านเพื่อถอดบทเรียน --- --- - --- 0.00
10.ติดตามผลการดำเนินงาน --- --- - --- 0.00
11.จัดทำสรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
13.00-15.00 น Work Shop การคิดต้นทุนผลิตภัณพ์ของกลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท และการหาแนวทางในการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ วิทยากรประจำฐาน 4 ท่าน + นักศึกษาช่วยงาน
10 เมษายน พ.ศ. 2561
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน นักศึกษาช่วยงาน
10 เมษายน พ.ศ. 2561
15.00-16.00 น. Work Shop การถอดต้นทุนผลิตภัณฑ์ วิทยากรประจำฐาน 4 ท่าน + นักศึกษาช่วยงาน
10 เมษายน พ.ศ. 2561
13.00-15.00 น. บรรยายความรู้เกี่ยวกับต้นทุน นายสัจวัฒก์ วรโยธา
10 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
10 เมษายน พ.ศ. 2561
11.00 - 12.00 น. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจการผลิต นางสาววิลาสินี แสงคำพระ
10 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00-11.00 น. บรรยายความรู้เกี่ยวกับการบัญชี นางสาวมนัสดา ชัยสวนียากรณ์
11 เมษายน พ.ศ. 2561
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน นักศึกษาช่วยงาน
11 เมษายน พ.ศ. 2561
09.00-12.00 น. การบรรยายระบบต้นทุน การคำนวณต้นทุน การวิเคราะห์กำไร และจุดคุ้มทุน นายมงคล กิตติวุฒิไกร
11 เมษายน พ.ศ. 2561
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
11 เมษายน พ.ศ. 2561
15.00-16.00 น. ถอดบทเรียน นายมงคล กิตติวุฒิไกร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร มีกำไรจากการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น - กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถลดต้นทุนสินค้าได้และสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น - กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถวางแผนการดำเนินงาน วิเคราะห์กำไร และจุดคุ้มทุน ก่อนการจำหน่ายสินค้า - กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถขยายการจำหน่ายสินค้าไปยังกลุ่มลูกค้ารายใหม่ได้เพิ่มขึ้น
ด้านสังคม : กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร มีการคำนวณต้นทุนสินค้าที่เป็นระบบ สามารถจัดการและวางแผนได้ - กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร สามารถประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนกับสินค้าใหม่ - กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าภูไท อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร มีความรู้และสามารถถ่ายถอดความรู้เรื่องระบบต้นทุนให้กับสมาชิกใหม่ หรือชุมชนอื่นๆ บริเวณใกล้เคียงได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
85
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1500บาท/คน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การบัญชีบริหาร(1707 320)
หลักสูตร บัญชีบัณฑิตและบริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำเนิื้อหาในโครงการมาบูรณาการกับการเรียนการสอนในหัวข้อ " การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์" สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนตาม มคอ.3
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นำนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาดังกล่าว เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม(ภาคปฏิบัติ) ในการลงพื้นที่และการจัดกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มอบหมายให้นักศึกษาสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานจำนวน 10 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 45,380.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 15,680.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 ครั้ง x จำนวน 4 คน x ครั้งละ 200.00 บาท
=
8,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 7,680.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
7,680.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,200.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,600 บาท/คัน/วัน
=
3,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 15,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการคำนวณต้นทุน (50 เล่ม * 150 บาท)
=
7,500.00 บาท
2) ค่าเช่าสถานที่จัดอบรม (2 วัน * วันละ 1,000)
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร (50 ชุด * ชุดละ 30 บาท)
=
1,500.00 บาท
4) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด (ค่าโทรศัพท์ ค่าสาธารณูปโภค)
=
1,500.00 บาท
5) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ในการฝึกอบรม (2 วัน * วันละ 1,500 บาท)
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 5,020.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงานประกอบการบรรยายอบรม(ปากกา/สมุด/กระดาษ/ดินสอ/อุปกรณ์ประกอบโครงการ)
50 x 50 บาท
=
2,500 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 2,520.00 บาท )
1) ค่าป้ายไวนิล
1 x 2,520 บาท
=
2,520 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 75,000.00 บาท