แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวภูษณิศา มีนาเขตร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : ปฏิบัติงานพยาบาล 9 ปี , อาจารย์สอนสาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การส่งเสริมสุขภาพ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวสิริทรัพย์ สีหะวงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลครอบครัว
ประสบการณ์ : -พยาบาลวิชาชีพ -งานวิจัยในเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
ความเชี่ยวชาญ : -การพยาบาลครอบครัว
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ล้วนส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม อันมีสาเหตุจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมรวมไปถึงการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการประเมินปัญหาสุขภาพและการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) โดยกำหนดเป้าหมายไว้ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2559) คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอและพัฒนาเป็นตำบลจัดการสุขภาพไปจนถึงการพัฒนาให้เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนในชุมชน ดังนั้นหากจะผลักดันส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีภาวะสุขภาพที่ดีเพื่อบรรลุสู่การเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในกระบวนการสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ปัญหา การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมไปถึงการประเมินผลโครงการหรือแผนงาน โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะในการทำงานในชุมชนโดยใช้กระบวนการพยาบาลซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สำคัญในชุมชน โดยใช้กระบวนการสำรวจชุมชน การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยใช้กระบวนการประชาคม การจัดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลชุมชน นอกจากนี้ผลจากการจัดกิจกรรมในการฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ในปีการศึกษา 2559 ในพื้นที่อำเภอนาเยียพบว่าประชาชนในพื้นที่ตำบลนาเยียมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมรวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพให้กับชุมชนได้อย่างแท้จริง และทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเยียได้มีความประสงค์ให้มีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพร่วมกับทางคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อเป็นการพัฒนาสมรรถนะการทำงานในชุมชนให้กับนักศึกษารวมทั้งเป็นการให้บริการด้านสุขภาพให้กับประชาชนอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนร่วมกับนักศึกษา
2.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับบริการทางการพยาบาลในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
3.เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการพยาบาลชุมชนโดยใช้กระบวนการพยาบาลชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนในเขตพื้นที่แหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 186 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
186 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ ก.ค. 2560 2. ประชุมร่วมกับ รพ.สต.เพื่อวางแผนการจัดโครงการ ก.ค. 2560 3. วางแผนการบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ก.ค. 2560 4. สำรวจพื้นที่โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น และการใช้แบบสอบถามปัญหาสุขภาพ (KAP survey) ส.ค.– ก.ย. 2560 5. จัดประชาคมเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพในชุมชน ก.ย. – ต.ค. 2560 6. จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนตามลำดับของสำคัญของปัญหาร่วมกับชุมชน ต.ค.–ธ.ค. 2560 7. สรุปประเมินผลโครงการ ม.ค. 2561 8. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ ม.ค. – ก.พ. 2561

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขั้นเตรียมการ - เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ - แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินการ - ทำเรื่องขออนุมัติเงินทดรองจ่าย - ประชุมร่วมกับ รพ.สต. -- --- --- --- 0.00
2.ขั้นดำเนินการ -สำรวจพื้นที่และสำรวจ ปัญหาสุขภาพในชุมชน -ประชาคมปัญหาสุขภาพ -จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน --- --- --- 70,000.00
3.ขั้นสรุปและรายงาน - สรุปประเมินผลโครงการ --- -- --- --- 3,550.00
4.ขั้นนำข้อสรุปมาปรับปรุง - จัดทำข้อสรุปผลการประเมินโครงการและประชุมคณะกรรมการทำงาน - รายงานผลการจัดโครงการต่อคณะกรรมการบริการวิชาการ --- - --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 รวมเวลา 151 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
08.30-12.00 น. กิจกรรมประชาคมเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน
17 มกราคม พ.ศ. 2561
08.00-14.00 น. กิจกรรมเพื่อแก้ไขสุขภาพในชุมชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบข้อมูลและปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนและได้รับการแก้ไขปัญหาสุขภาพตามลำดับความสำคัญ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการพยาบาลชุมชนได้ นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในบทบาทของพยาบาลชุมชนในงานอนามัยชุมชนโดยใช้กระบวนการพยาบาล ชุมชนในสถานการณ์จริง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
149
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ฝึกปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2
หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมร้อยละ 100
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 53,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 11,100.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 95 คน
=
5,700.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 90 คน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 37,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 90 คน
=
18,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 95 คน
=
19,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,700.00 บาท )
1) จ้างเหมาทำป้ายให้ความรู้ ขนาด 90x120 ซม. x 500 บาท x 3 อัน
=
1,500.00 บาท
2) จ้างเหมาทำป้ายประชาสัพันธ์ ขนาด 4x3 ม x 100 บาท
=
1,200.00 บาท
3) ค่าจ้างเข้าเล่มสรุปโครงการ จำนวน 6 เล่ม
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,750.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 19,750.00 บาท )
1) กระดาษ A4
5 x 100 บาท
=
500 บาท
2) หมึกเครื่องปริ้น
1 x 2,400 บาท
=
2,400 บาท
3) ปากกาลูกลื่น (4 แพค x 200 บาท)
4 x 200 บาท
=
800 บาท
4) วัสดุจัดโครงการ
1 x 13,000 บาท
=
13,000 บาท
5) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 x 1 บาท
=
3,000 บาท
6) แผ่นซีดี
5 x 10 บาท
=
50 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 73,550.00 บาท