แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนปีที่ 5
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาววิศนีย์ บุญหมั่่น คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การพยาบาลสาธารณสุข
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การให้ความรัก ความเข้าใจ และการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เด็กก่อนวัยเรียน อายุระหว่าง 1- 5 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญ เพราะเป็นวัยแห่งการพัฒนาความเป็นบุคคลในด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนมีความสำคัญ เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยแห่งการเรียนรู้และพัฒนาการในทุกด้าน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆของเด็ก ทางคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น โดยจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 บูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแขม และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแมด สังกัดเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ตามปัญหาและความต้องการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานการณ์จริง ซึ่งจากการประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ในปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ร่วมโครงการมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.46±0.53) ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า ค่าเฉลี่ยการนำความรู้และประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรมไปประยุกต์ใช้และการได้รับความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กอยู่ในระดับมาก ด้านการประเมินความสำเร็จของโครงการ พบว่าสามารถนำความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนไปฝึกปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก (4.38±0.52) นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาในการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงและเสนอให้มีการดำเนินการจัดโครงการอย่างต่อเนื่องในทุกปี กิจกรรมในการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย การประเมินการเจริญเติบโต ประเมินภาวะโภชนาการ การตรวจสุขภาพเด็ก และกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีพันธกิจในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน จึงได้จัดโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนปีที่ 5 โดยบูรณาการในการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัย
2.เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในสถานการณ์จริง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 60 คน เด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแขม จำนวน 35 คน เด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแมด จำนวน 50 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 15 คน นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 78 คน อาจารย์และบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 12 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
250 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. วางแผนในการดำเนินงาน 2. ดำเนินการตามกิจกรรม 3. สรุปและประเมินผล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขั้นวางแผนงาน (P) 1.1 ประชุมคณะกรรมการและขออนุมัติโครงการ 1.2 วางแผนเตรียมการดำเนินการ 1.3 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง --- --- --- 0.00
2.ขั้นดำเนินการ (D) ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้ 2.1 ประเมินการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการ ประเมินพัฒนาการ และตรวจสุขภาพเด็ก 2.2 จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี --- --- --- 82,000.00
3.ขั้นสรุปและประเมินผล (C) 3.1 ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบสอบถาม 3.2 ประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ 3.3 สรุปผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครง --- --- --- 3,000.00
4.ขั้นปรับปรุงตามผลการประเมิน (A) 4.1 ประชุมคณะกรรมการ วางแผนนำผลการประเมินไปปรับปรุง --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เด็กที่ศูนย์เด็กเล็กได้รับการประเมินการเจริญเติบโต ประเมินภาวะโภชนาการตรวจสุขภาพและได้รับความรู้จากการให้สุขศึกษาในเรื่องการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1
หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 67,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 25,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 155 คน
=
9,300.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
7,800.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 145 คน
=
8,700.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 21,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 155 คน
=
7,750.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 130 คน
=
6,500.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 145 คน
=
7,250.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 20,400.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ป้ายผ้าไวนิล)
=
1,000.00 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่ม
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายวิดิทัศน์
=
3,000.00 บาท
4) ป้ายประจำซุ้มนิทรรศการแบบ roll up 1,300 บาท x 8 อัน
=
10,400.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาเช่ารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2,000 บาท x 2 คัน
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 17,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 3,000 บาท
=
3,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 14,300.00 บาท )
1) ค่าวัสดุจัดโครงการ
=
14,300.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 85,000.00 บาท