แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบูรณาการความรู้สู่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : -
ประสบการณ์ : สอนในรายวิชามากกว่า 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเคมีและอณูชีววิทยา
หัวหน้าโครงการ
นายสุภวัฒน์ โสวรรณี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
ประสบการณ์ : รับผิดชอบโครงการและประสานการดำเนินงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงบประมาณและโครงการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวโฉมสอางค์ ไชยยงค์ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สังคมศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคการเกษตรของประเทศไทยประสบปัญหาหลายประการ ได้แก่ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ เป็นต้น โดยสาเหตุประการหนึ่งมาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา ตลอดจนยังขาดปัจจัยการผลิตที่จำเป็น ดังนั้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับฐานราก ซึ่งครอบคลุมทั้งกระบวนการตั้งแต่กิจกรรมด้านการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการตลาด จะส่งผลให้ชุมชนพัฒนาอย่างมั่นคงแข็งแรงต่อไป การวางแผนพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาในชุมชน ไม่ได้เป็นการพัฒนาและแก้ไขปัญหาภายในองค์กรปกครองท้องถิ่นเท่านั้น ควรคำนึงถึงการบูรณาการการพัฒนากับหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายในและภายนอกพื้นที่ด้วย ทั้งนี้การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เป็นลักษณะเชิงบูรณาการดังกล่าวจะต้องอาศัยองค์ความรู้จากนักวิชาการหลายหลายสาขา จากหน่วยงานต่างๆ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในหลากหลายสาขา ภารกิจหลักคือ สอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเนื่องจากในปัจจุบันการวิจัยและบริการวิชาการมีทิศทางดำเนินการโดยต้องมีผลกระทบและเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมด้วย ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นโครงการบูรณาการความรู้สาขาต่างๆ จากอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำไปให้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้ประชาชนมีอาชีพ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของประชาชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืนซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาชุมชนตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และจะส่งผลต่อความผาสุกของประชาชนและความเจริญของชุมชนและประเทศชาติสืบไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักวิชาการได้ใช้องค์ความรู้เชิงบูรณาการในการพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อให้ประชาชน เกษตรกร ในพื้นที่เป้าหมาย ได้พัฒนาทักษะความรู้ในการพัฒนาอาชีพอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
3.เพื่อให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ได้รับผลผลิตทางการเกษตรตรงตามความต้องการและปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. คณาจารย์และนักวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2. เกษตรกร ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชน กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาของประชาชนนั้น ควรเริ่มจากการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก่อน ซึ่งทำได้ 2 แนวทางคือ 1. ลดรายจ่าย 2. เพิ่มรายได้ โดยการทำงานต้องมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน คือ เกษตรกรจะต้องยืนบนลำแข้งของตัวเอง ชาวบ้านต้องช่วยตัวเอง โดยมหาวิทยาลัยอุบลฯ เข้าไปให้ความรู้และช่วยสนับสนุนดูแลแก้ปัญหาโดยนำวิธีการทำงานมาปรับแนวความคิดของชุมชน ทำให้ชาวบ้านเชื่อมั่น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ โดยมีสมติฐาน ดังนี้ ๑. ทำให้ชาวบ้านผลิตตรงกับตลาด ผลิตแล้วขาย ๒. เพิ่ม productivity ๓. ยกระดับมูลค่า เน้นเกษตรปลอดภัย ๔. ทำให้เกิดความยั่งยืน ๕. ประชาชนเป้าหมายรวมกลุ่มให้เข้มแข็ง แข่งขันได้ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ๑. การทำแผนผัง (production map) ผลผลิตทางการเกษตรที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ ซึ่งต้องวิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ - พืชและสัตว์ ที่สามารถผลิตได้ในระยะเวลา 7 15 30 45 60 90 120 วัน มีอะไรบ้าง - พืชหรือสัตว์นั้น สามารถปลูกหรือเลี้ยงร่วมกันได้หรือไม่ สามารถใช้อาหารร่วมกันได้หรือไม่ - ถ้าต้องผลิตอาหารเอง สามารถหาวัตถุดิบในท้องถิ่นได้หรือไม่ มีวิธีการผลิตอย่างไร - การแก้ปัญหา / ป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น - สามารถผลิตยา/จุลินทรีย์ รักษาโรคพืช/สัตว์ ได้หรือไม่ - การเก็บเกี่ยว เก็บรักษา - พื้นที่ในการการตัดแต่ง ทำความสะอาด การบรรจุ หีบห่อ ผลผลิตก่อนนำออกสู่ตลาด - การตลาดและระบบโลจิสติกส์จากแหล่งผลิตมาสู่ตลาด ๒. การสำรวจข้อมูลพื้นที่ ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่เดิมที่มหาวิทยาลัยเคยทำงานมาก่อนแล้ว เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ของการทำงานว่าจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งต้องวิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ - สภาพพื้นที่ น้ำ ดิน ป่า อากาศ ของพื้นที่นั้นๆ เป็นอย่างไร - ประชาชนดูความคิด /ทัศนคติ/พฤติกรรมของชาวบ้าน - ชาวบ้านปลูกอะไร หรือมีการเลี้ยงสัตว์อะไรอยู่แล้ว 1. การวิเคราะห์ศักยภาพทางธุรกิจในปัจจุบันและความเป็นไปได้ในการพัฒนา 2. โครงการการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำมันงา 3. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากจิ้งหรีด 4. โครงการพัฒนาแนวทางการ certification การปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง 5. โครงการฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัย 6. โครงการฝึกอบรมการเลี้ยงจิ้งหรีด 7. แปลงสาธิตการผลิตผักปลอดภัย ปี 2560

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2559
2560
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายได้รับความรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ และเกิดอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้เสริมให้เกษตรกร 2. อาจารย์และนักวิชาการได้ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในการพัฒนาชุมชนเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและของประเทศ 3. ผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้รับผลผลิตการเกษตรที่ปลอดภัยจากชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 132,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 120,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 120,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 20 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
120,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 911,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 60,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 60,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 วัน x จำนวน 1 วัน x วันละ 5,000.00 บาท
=
60,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 105,000.00 บาท )
1) จำนวน 30 มื้อ x มื้อละ 35.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
105,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 150,000.00 บาท )
1) จำนวน 15 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
150,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 21,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 12 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 495,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คน x จำนวน 11 เดือน x เดือนละ 15,000.00 บาท
=
495,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 80,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการ
=
80,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 956,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 236,400.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 50,000 บาท
=
50,000 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
1 x 20,000 บาท
=
20,000 บาท
3) ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์โครงการ
1 x 20,000 บาท
=
20,000 บาท
4) ค่าวัสดุฝุกอบรม
1 x 41,400 บาท
=
41,400 บาท
5) ค่าวัสดุสำนักงานการเกษตร
1 x 80,000 บาท
=
80,000 บาท
6) ค่าหมึกพิมพ์
1 x 25,000 บาท
=
25,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 720,000.00 บาท )
1) การวิเคราะห์ศักยภาพทางธุรกิจในปัจจุบันและความเป็นไปได้ในการพัฒนา
=
150,000.00 บาท
2) โครงการการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากน้ำมันงา
=
100,000.00 บาท
3) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากจิ้งหรีด
=
100,000.00 บาท
4) โครงการพัฒนาแนวทางการ certification การปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง
=
20,000.00 บาท
5) โครงการฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัย
=
100,000.00 บาท
6) โครงการฝึกอบรมการเลี้ยงจิ้งหรีด
=
100,000.00 บาท
7) แปลงสาธิตการผลิตผักปลอดภัย ปี 2560
=
150,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 2,000,000.00 บาท