แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2561
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ The 1st International Conference on Natural Medicine: From Local Wisdom to International Research โครงการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติครั้งที่ 1: จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้กับประชาชนในทุกช่วงวัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวพรทิพย์ ไววุฒิ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Pharmaceutical Sciences
ประสบการณ์ : สอน 10 ปี -โครงการวิจัย -บริการวิชาการ -ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเคมี
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีคู่มากับคนไทยตั้งแต่ดั้งเดิม เพื่อใช้ดูแลรักษาตนเอง โดยจากการสังเกต ทดลองใช้ เก็บสะสม ประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเอง จากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นรากฐานการดูแลสุขภาพด้วย ตนเองที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ การนวด ตลอดจนการใช้ พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ เพื่อช่วยด้านจิตใจของประชาชน ในการรักษาแบบแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพร เป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมาช้านาน และได้ถูกพัฒนา และสั่งสมเป็น ประสบการณ์สืบทอดต่อเนื่องกันมาจนกลายเป็นแนวคิดและทฤษฏีของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย จนถึงปัจจุบันทั่วโลกนิยมใช้สมุนไพรในดูแลสุขภาพมากขึ้นในแง่ป้องกันการเจ็บป่วย และองค์การอนามัยโลกได้มีการแนะนําให้ใช้การแพทย์ แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือกทั้งสองแผนคู่ขนานกันไปในการรักษาทางการแพทย์ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ทั่ว โลกได้ส่งเสริมให้มีการแพทย์ดั้งเดิมของแต่ละประเทศที่มีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐ นอกจากนี้ยาสมุนไพรแผนโบราณเป็นการแพทย์ที่ไม่แพง จึงเหมาะสำหรับเป็นทางเลือกของประชาชน ในพัฒนาสมุนไพรในการรักษาโรคโดยเน้น ยาที่ได้รับจากธรรมชาติไม่ว่าจากพืช สัตว์ หรือองค์ประกอบอื่นจากธรรมชาติ หรือ Natural Medicine ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผ่านงานวิจัยหลายสาขา จากหลายประเทศ ทำให้ได้รับการพัฒนาเป็นยาสมุนไพรที่มีการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในการแพทย์ด้าน Natural Medicine ในปัจจุบันอาจมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาคของโลก ดังนั้นในการประชุมวิชาการ โครงการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติครั้งที่ 1: จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ (The 1st International Conference on Natural Medicine: From Local Wisdom to International Research) โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นด้านงานวิจัยของนักวิจัยที่ศึกษาด้าน Natural Medicine ที่ครอบคลุมสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. Biochemistry 2. Bioinformatics 3. Pharmacognosy 4. Neurosciences 5. Pathophysiology 6. Natural Drug Discovery 7. Natural Products Chemistry 8. Pharmacology and Toxicology 9. Cosmetic Sciences and Technology 10. Clinical and Administrative Pharmacy 11. Complementary and Alternative Medicines โดยงานประชุมวิชาการในครั้งนี้มีคณะกรรมการดำเนินงาน คือ สำนักงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ Institute of Natural Medicine, University of Toyama โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การบรรยายพิเศษ (keynote speaker) 2. การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker) 3 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation) 4. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (poster presentation) 5. การตีพิมพ์ผลงานในรายงานสืบเนื่องทางวิชาการ (Proceedings)

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และแลกเปลี่ยนความรู้ของอาจารย์ นักวิจัย และ ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั้งจากในและต่างประเทศ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมเตรียมการ 2. การประกาศประชาสัมพันธ์ 3. การการลงทะเบียนและส่งบทความ 4. การทำรูปเล่ม proceedings 5. การจัดประชมวิชาการโดยมีกิจกรรมดังนี้ 5.1 การบรรยายพิเศษ (keynote speaker) 5.2 การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker) 5.3 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation) 5.4 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (poster presentation) 5.5 การตีพิมพ์ผลงานในรายงานสืบเนื่องทางวิชาการ (Proceedings)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2560
2561
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.ประชุมเตรียมการและประชาสัมพันธ์ --- --- --- 50,000.00
2.2.การลงทะเบียนและส่งบทความ --- --- --- 5,000.00
3.การทำรูปเล่ม proceedings --- --- --- 100,000.00
4. การจัดประชมวิชาการโดยมีกิจกรรมดังนี้ 1 การบรรยายพิเศษ (keynote speaker) 2 การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker) 3 การนำเสนอผลงานว --- --- --- 2,245,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลา 7 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
5 สิงหาคม พ.ศ. 2560
9.00 -16.00 น. จัดประชุมวิชาการ คณะกรรมการดำเนินงาน
6 สิงหาคม พ.ศ. 2560
9.00 -16.00 น. จัดประชุมวิชการการ คณะกรรมการดำเนินงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้เป็นแหล่งยาสมุนไพร -มีการแปรรูปพืชสมนไพรมากขึ้น
ด้านสังคม : -เกิดเครือข่ายทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ -มีการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยถ่านทอดต่อในองค์ความรู้ที่เป็นสากลมากขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -เพิ่มโอกาสเรียนรู้แก่นักเรียนนักศึกษามากขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-คุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สารนิพนธ์
หลักสูตร เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีอย่างน้อย 1 รายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาอย่างน้อย 10 คนเข้าร่วมโครงการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาอย่างน้อย 10 คนเข้าร่วมโครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 858,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 100,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 80,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 2,000.00 บาท x จำนวน 20 คน
=
80,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,000.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 208,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 112,500.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
112,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 96,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
96,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 550,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 3,000.00 บาท/ชม.
=
450,000.00 บาท
2) ค่าตอบแทนนศ.ช่วยงานจำนวน 20 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
100,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 1,308,750.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 620,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 200,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 ครั้ง x จำนวน 20 คน x ครั้งละ 1,000.00 บาท
=
200,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 300,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 50 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
300,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 120,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 50 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
120,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 195,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
75,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
120,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 168,750.00 บาท )
1) จำนวน 15 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
56,250.00 บาท
2) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
112,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 100,000.00 บาท )
- จำนวน 10 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
100,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 125,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 คน x จำนวน 5 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
125,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 100,000.00 บาท )
1) ค่าเช่าสถานที่ ค่าเช่าบอร์ด
=
100,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 232,750.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 วัสดุสำนักงาน ( รวม 50,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
1 x 50,000 บาท
=
50,000 บาท

หัวข้อ 3.2 วัสดุประชาสัมพันธ์ ( รวม 50,000.00 บาท )
1) โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
100 x 500 บาท
=
50,000 บาท

หัวข้อ 3.3 วัสดุคอมพิวเตอร์ ( รวม 50,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
1 x 50,000 บาท
=
50,000 บาท

หัวข้อ 3.4 วัสดุเชื้อเพลิง ( รวม 50,000.00 บาท )
1) วัสดุเชื้อเพลิง
1 x 50,000 บาท
=
50,000 บาท

หัวข้อ 3.5 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 32,750.00 บาท )
1) ค่าวัสดุอื่นๆ
=
32,750.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าครุภัณฑ์ ( รวม 0.00 บาท )


งบประมาณทั้งสิ้น 2,400,000.00 บาท